กฝผ. เตรียมงบเพื่อพัฒนาโรงไฟฟ้าหลักขนาด 5,400 เมกะวัตต์ เพื่อรองรับเทคโนโลยีใหม่
กฝผ.เตรียมงบเพื่อพัฒนาโรงไฟฟ้าหลัก ขนาดกำลังการผลิต 5400 เมกะวัตต์เพื่อให้รองรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น และพัฒนาการเป็นศูนย์กลางซื้อขายไฟฟ้าตามร่างแผน PDP2018 เป็นการลงทุนระยะยาวซึ่งใช้เงินลงทุนรวม 6 แสนล้านบาท แม้ปัจจุบันจะผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติแล้ว แต่ยังอยู่ระหว่างรอคณะรัฐมนตรีอนุมัติต่อไป
นายวิบูลย์ ฤกษ์ศิระทัย ผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า ภายใต้แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยฉบับใหม่ ปี 2561-2580 หรือ (PDP2018) กฟผ.จะต้องใช้เงินลงทุน รวม 6 แสนล้านบาทประกอบด้วยการสร้างโรงไฟฟ้าหลักเพื่อความมั่นคงในระยะ 10 ปีแรกของแผนกำลังผลิตประมาณ 5,400 เมกะวัตต์ ใช้เงินลงทุนประมาณ 3 แสนล้านบาท และระบบส่งอีก 3 แสนล้านบาท โดยแผนลงทุนของกฟผ.อยู่ระหว่างการเตรียมเสนอ ครม. เห็นชอบต่อไปหลังจากที่แผนดีพีพีได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ไปแล้วนั้น
“แผนการกู้เงินจะเน้นภายในประเทศเป็นหลักและจะต้องดำเนินการก่อนภายในระยะเวลา 5 ปี เพื่อใช้ก่อสร้างในการนำโรงไฟฟ้าทยอยเข้าแผน ขณะเดียวกันก็จะมองหานวัตกรรมาทางการเงินใหม่ๆ เข้ามา เช่น ตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน (IF) เพิ่มเติมจากปัจจุบันที่มีอยู่ 1 กอง เป็นต้น”
นายวิบูลย์กล่าวตามแผนพีดีพีฉบับใหม่จะมีแผงโซลาร์เซลล์บนทุ่นลอยน้ำขนาดใหญ่ หรือ โซลาร์ฟาร์มลอยน้ำในเขื่อนหลักทั้ง 9 แห่งหากดำเนินการทั้งหมดจะสามารถผลิตได้ถึง 10,000 เมกะวัตต์ แต่จะเข้าระบบในช่วง 10 ปี หลังของแผน แต่โครงการผลิตไฟฟ้าที่ติดตั้งบนหลังคา หรือ โซลาร์รูปท๊อปภาคประชาชนที่มีสัดส่วน 10,000 เมกะวัตต์ก็แยกออกจากโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำ
สำหรับโรงไฟฟ้าหลักของ กฟผ.จำนวน 5,400 เมกะวัตต์ จำนวน 8 โรง เช่น โรงไฟฟ้าน้ำพอง ขนาด 650 เมกะวัตต์ จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบในปี 2568, โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ขนาด 600 เมกะวัตต์ จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบปี 2569, โรงไฟฟ้าพระนครใต้ 700 เมกะวัตต์ จ่ายไฟฟ้าปี 2569 เป็นต้น จะเป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงก๊าซฯเป็นหลักมีเพียงแม่เมาะที่จะเป็นถ่านหินลิกไนต์เท่านั้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าตามแผนพีดีพีฉบับใหม่กฟผ.จะมีสัดส่วนกำลังผลิตไฟเฉลี่ยตลอดแผนเหลือ 24% จาก 35% แต่โรงไฟฟ้าหลักที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการก็จะมีสัดส่วนการผลิตเฉลี่ย 31% ใน 10 ปีแรกถือเป็นสัดส่วนที่เหลือ ขณะเดียวกันนั้น สัดส่วนดังกล่าวก็อาจเปลี่ยนแปลงได้เสมอเนื่องจากพีดีพีจะต้องมีการปรับให้เหมาะสมกับสถานการณ์ทุก 5 ปี
นอกจากนี้ ตามแผนพีดีพี กฟผ.ยังถูกให้มีบทบาทในการดำเนินโครงการผลิตโซลาร์เซลล์บนทุ่นลอยน้ำขนาดใหญ่ (โซลาร์ฟาร์มลอยน้ำ) ในเขื่อนหลัก 9 แห่ง กำลังผลิตเบื้องต้น 2,725 เมกะวัตต์ ซึ่งการศึกษาหากดำเนินการเต็มที่สามารถผลิตได้ถึง 10,000 เมกะวัตต์ แต่ทั้งหมดจะเข้าระบบในช่วง 10 ปีหลังของแผน อย่างไรก็ตามสัดส่วนโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำจะแยกออกจากโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ติดตั้งบนหลังคาที่อยู่อาศัย (โซลาร์ภาคประชาชน) ที่มีสัดส่วน 10,000 เมกะวัตต์ในแผนดีพีพีใหม่ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าพีดีพีฉบับใหม่จะไม่มีการบรรจุโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ และเทพาไว้ แต่ยังไม่ได้หมายถึงจะยกเลิก เพราะการจะมีหรือไม่ต้องรอผลสรุปจากคณะกรรมการกำกับการศึกษาการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) และหากมีก็ควรจะจัดตั้งในพื้นที่ใด
กฝผ.จะต้องเปลี่ยนแปลงเพื่อให้รองรับกับความต้องการของภูมิภาคและแบ่งออกเป็น
1.การดูแลความมั่นคงของระบบไฟฟ้ารายภูมิภาค โดยการปรับปรุงและพัฒนาโรงไฟฟ้าใหม่จะเป็นโรงไฟฟ้าที่มีความยืดหยุ่น (Flexible Power Plant) ปรับการทำงานของเครื่องให้รวดเร็วและอัตโนมัติมากขึ้น
2.การพัฒนาระบบส่งไฟฟ้าเพื่อเชื่อมโยงระบบไฟฟ้าไทยกับประเทศเพื่อนบ้านรองรับการเป็นศูนย์กลางซื้อขายไฟฟ้า (Grid Connection) กำลังอยู่ระหว่างศึกษาเพิ่มเติมในด้านต่างๆ รวมทั้งกฎระเบียบอีกด้วย
3.การเตรียมการรองรับพลังงานหมุนเวียน (Grid Modernization) กฝผ.ได้พัฒนาระบบกักเก็บพลังงาน (BESS) ที่สถานีไฟฟ้าแรงสูง 2 แห่งคือ สถานีไฟฟ้าแรงสูงบำเหน็จณรงค์ และ สถานีไฟฟ้าแรงสูงชัยบาดาล
Credit :https://mgronline.com/business/detail/9620000016962 และ https://mgronline.com/business/detail/9620000016962