การบำรุงรักษาแผงโซล่าเซลล์และบำรุงรักษาระบบควบคุม
โซล่าเซลล์ หรือ เซลล์แสงอาทิตย์ และที่หลายๆคนรู้จักในชื่อ เซลล์โฟโตโวลตาอิก Photovoltaic cell เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย ในการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ทำจากสารกึ่งตัวนำชนิดพิเศษ ที่มีคุณสมบัติในการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า (Solar Cell) โดยพลังงานกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโซล่าเซลล์นั้น เป็นไฟฟ้ากระแสตรง หรือ (DC) ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์เป็นไฟฟ้าที่เราได้ใช้งานกัน
โซล่าเซลล์ ปัจจุบันกำลังเป็นที่สนใจได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเนื่องจาก การติดตั้งโซล่าเซลล์นั้นมีส่วนช่วยในการประหยัดค่าไฟได้สูงสุดถึง 70 % และยังมีประโยคอื่นๆอีกมากมาย เช่น
การติดตั้งโซล่าเซลล์มีส่วนช่วยทำให้บ้านเย็นขึ้น โดยระบบโซลาร์เซลล์ช่วยให้อุณหภูมิของบ้านเย็นขึ้น เพราะ ปกติแล้วหลังคาบ้านจะช่วยสะท้อนแสงอาทิตย์และปกป้องบ้านจากความร้อน การมีแผงโซลาร์เซลล์จะเข้ามาช่วยสะท้อนแสงแดด เสมือนเป็นหลังคาอีกหนึ่งชั้นให้กับบ้าน ทำให้ลดการสะสมของความร้อนที่จะเข้าสู่ตัวบ้านให้เย็นลงได้ราว 3-5 องศาเซลเซียสเลยทีเดียว
โดยปกติแล้วอายุการใช้งานของตัวแผงโซล่าเซลล์นั้น จะมีอายุการใช้งานที่ค่อนข้างจะยาวนาน แต่อุปกรณ์ทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไม่ว่าจะเป็นระบบโซล่าเซลล์หรือระบบทั่วไป จะเกิดการเสียหายได้ง่ายถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาเท่าที่ควร ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนหรือซ่อมแซมอุปกรณ์เป็นจำนวนมาก ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงจากความเสียหายของระบบผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์และอุปกรณ์ การบำรุงดูแลรักษาระบบให้ทำงานปกติอยู่เสมอจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น นอกจากนี้ยังช่วยยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ต่างๆในระบบอีกด้วย
เมื่อเทียบค่าบำรุงรักษาของระบบโซล่าเซลล์กับระบบผลิตไฟฟ้าที่ใช้ในบ้านเรือนวิธีอื่นๆ เช่น เครื่องปั่นไฟโดยใช้น้ำมันดีเซล เป็นต้น ถือว่าค่าบำรุงรักษาระบบโซล่าเซลล์นี้มีราคาที่ถูกกว่ามาก โดยทั่วไปจะมีการตรวจสอบและบำรุงรักษาอุปกรณ์หลัก ๆ ของระบบโซล่าเซลล์ ได้แก่
การบำรุงรักษาแผงโซล่าเซลล์ (Solar Module)
การบำรุงรักษากริดไทอินเวอร์เตอร์ (Grid Connected Inverter)
การบำรุงรักษาตู้แผงไฟฟ้า (Distribution Board AC/DC, Main Distribution Board AC)
ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเป็นไฟฟ้ากระแสตรงและมีหน่วยเป็นวัตต์ มีการนำแผงเซลล์แสงอาทิตย์หลายๆ เซลล์มาต่อกันเป็นแถวหรือเป็นชุด เพื่อให้ได้พลังงานไฟฟ้าใช้งานตามที่ต้องการ โดยการต่อกันแบบอนุกรม จะเพิ่มแรงดันไฟฟ้า และการต่อกันแบบขนาน จะเพิ่มพลังงานไฟฟ้า หากสถานที่ตั้งทางภูมิศาสตร์แตกต่างกัน ก็จะมีผลให้ปริมาณของค่าเฉลี่ยพลังงานสูงสุดในหนึ่งวันไม่เท่ากันด้วย รวมถึงอุณหภูมิก็มีผลต่อการผลิตพลังงานไฟฟ้า หากอุณหภูมิสูงขึ้น การผลิตพลังงานไฟฟ้าก็จะลดลง
1. แผงโซลาร์เซลล์ (Solar Module)
1.1 ทำความสะอาดคราบสกปรกและฝุ่นที่เกาะบนแผงโซลาร์เซลล์ ด้วยน้ำสะอาดและเช็คคราบสกปรกออกบางครั้งคราบสกปรกจะเป็นพวกฝุ่นหรือมูลนกให้ใช้น้ำทำความสะอาดล้างและขัดด้วยฟองน้ำหรือผ้าสะอาด ห้ามใช้แปรงที่มีขนเป็นโลหะทำความสะอาดผิวของแผงโซลาร์เซลล์เพราะอาจทำให้ตัวแผงโซลาร์เซลล์เสียหายได้
1.2 ตรวจวัดกระแสไฟฟ้าและแรงดันไฟฟ้าของแผงโซลาร์เซลล์ว่าสามารถผลิตไฟฟ้าได้ตามปกติรึไม่หากมีการขัดข้องรีบดำเนินการแก้ไขทันทีโดยการติดต่อช่างหรือบริษัทที่ทำการติดตั้งให้
1.3 ตรวจสอบส่วนที่ยึดแผงโซลาร์เซลล์ โครงเหล็ก น๊อตและสกรูต่างๆให้แน่นหนาดีอยู่เสมอ หากหลุดหรือพังอาจส่งผลในระยะยาวภายหลังได้ เช่น แผงหลุดทั้งแผง หรือ อาจทำให้ต้องรื้อถอน ทำใหม่ทั้งหมดได้
1.4 ตรวจสอบดูสภาพแผงโซลาร์เซลล์ ว่ายังมีสภาพที่สมบูรณ์หรือไม่ เช่น รอยร้าว, รอยแตก และรอยฝ้าบริเวณผิว เป็นต้น ถ้ามีความเสียหายหรือมีประสิทธิภาพลดลง อาจจะต้องมีการซ่อมบำรุงหรือเปลี่ยนแผงโซลาร์เซลล์ ที่มีปัญหา
2. กริดไทอินเวอร์เตอร์ (Grid Connected Inverter)
กริดไทน์อินเวอร์เตอร์ เป็นอุปกรณ์แปลงสัญญาณไฟฟ้าที่ใช้ร่วมกับ ระบบโซล่าเซลล์ ซึ่งจะทำหน้าที่ แปลงไฟฟ้ากระแสตรง ที่ได้จากการผลิตกระแสไฟฟ้าโซล่าเซลล์ เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ ซึ่งก็คือไฟบ้านที่เราใช้กันปกติ โดยจะทำการซิงโครไนซ์กัน ระหว่างกระแสไฟฟ้าที่ได้จากระบบโซล่าเซลล์ กับระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้า เมื่อเราใช้พลังงานไฟฟ้า เราก็จะดึงพลังงานกระแสไฟที่เราผลิตได้มาใช้งาน
2.1 ทำความสะอาดคราบสกปรกและฝุ่นของอินเวอร์เตอร์ เพื่อให้อินเวอร์เตอร์มีอายุการทำงานที่นานขึ้น ดูเรียบร้อยอยู่เสมอ
2.2 ตรวจเช็คการทำงานของอินเวอร์เตอร์จากหน้าจอแสดงผลเพื่อที่เวลา อินเวอร์เตอร์เกิดมีปัญหาหรือขัดข้อง จะสามารถแจ้งให้ผู้ดูแลเข้ามาดูแลแก้ไขได้ในทันที
2.3 ตรวจเช็คกระแสไฟฟ้าและแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับที่ออกจากอินเวอร์เตอร์
3. ตู้แผงไฟฟ้า (Distribution Board AC/DC, Main Distribution Board AC)
ตู้ MDB (Main Distribution Board) หรือ ตู้สวิทช์บอร์ด (Switchboards) คือ ตู้ควบคุมระบบไฟฟ้าหลัก นิยมใช้ในอาคารที่มีขนาดกลาง และอาคารขนาดใหญ่ รวมไปถึงโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการใช้ไฟในปริมาณมาก โดยภายในตู้สวิทช์บอร์ด MDB จะประกอบไปด้วยแผงจ่ายไฟฟ้าขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นแผงแรกที่รับไฟฟ้าเข้ามาจากหม้อแปลงจำหน่ายไฟฟ้า จากนั้นจ่ายกระแสไฟฟ้าไปยังแผงย่อยส่วนต่าง ๆ ภายในอาคารนั้น ๆ
3.1 ทำความสะอาดคราบสกปรกและฝุ่นของตู้ไฟฟ้าเพื่อความสะอาดเรียบร้อย
3.2 ตรวจเช็คขั้วต่อและจุดเชื่อมของสายไฟจุดต่างๆว่ามีการคลายตัวของขั้วต่อหรือไม่ ถ้ามีควรขัน สกรูเชื่อมต่อกับสายไฟฟ้าให้แน่น
3.3 ตรวจเช็คการทำงานของ Circuit Breaker
3.4 ตรวจวัดค่าความต้านทานของสายกราวด์
จากข้อความข้างต้น ในการดูแลรักษาระบบควบคุมและแผงโซล่าเซลล์ จำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่ที่เชียวชาญเฉพาะด้านและใช้อุปกรณ์ที่รับมาตรฐาน เนื่องจากเป็นงานที่มีความเสี่ยงสูง และเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์ในขณะปฏิบัติงาน อุปกรณ์เซฟตี้ก็มีความจำเป็นอย่างมากเช่นกัน