ทำความรู้จักศูนย์เรียนรู้การเกษตรอทิตยาทร เกษตรกรสุรินทร์
สำหรับศูนย์เรียนรู้การเกษตรส่วนพระองค์ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ ดำเนินการก่อสร้าง สืบเนื่องจากพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณได้เสด็จเยี่ยมพสกนิกรชุมชนบ้านระไซร์ เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2558 ทรงทราบถึงปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการทำนาโดยอาศัยน้ำฝน จึงมีรายได้จากการทำนาเพียงอย่างเดียว หลังจากฤดูกาลทำงานแล้วพื้นที่จะถูกทิ้งไว้ว่างเปล่าเป็นเวลา 4-5 เดือนในทุกปีเพราะไม่มีน้ำ เนื่องจากน้ำเป็นปัจจัยสำคัญเพื่อการเกษตรกรรมและการดำรงชีวิตด้านการเกษตร การที่เกษตรกรทำนาเพียงอย่างเดียว และมีความเสี่ยงสูงต่อสภาพภูมิอากาศที่ไม่แน่นอน มีรายได้ไม่เพียงพอเลี้ยงครอบครัว มีความเป็นอยู่อย่างยากลำบาก จึงต้องอพยพแรงงานเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม ทิ้งให้ผู้สูงอายุและเด็กอยู่บ้าน เป็นเหตุให้เกิดปัญหาสังคมตามมา
ขอบคุณรูปภาพจาก : https://www.facebook.com/ศูนย์เรียนรู้การเกษตรอทิตยาทร
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ ประทานชื่อแก่โครงการพิเศษจ.สุรินทร์ ว่า “ซแรย์ อทิตยา” ซแรย์ ภาษาเขมรแปลว่า นา (นา อทิตยา)ทั้ง ซแรย์ อทิตยา และศูนย์เรียนรู้การเกษตรอทิตยาทรนั้นเป็นโครงการในพระดำริภายใต้การดูแลของ”โครงการเกษตรอทิตยาทร”
พร้อมกันนี้ ประทานสัญลักษณ์แก่โครงการเกษตรอทิตยาทร ซึ่งประกอบด้วยตัวอักษร อ สีม่วง เป็นสิ่งแทนพระองค์ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ ที่ทรงเป็นศูนย์รวมใจของเกษตรกร ล้อมรอบด้วยลายกนก ที่เล่นลวดลายให้เปรียบเสมือนพลังแห่งอาทิตย์ และรวงข้าวสีทองเป็นรูปหยดน้ำแสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาการเกษตรให้รุ่งเรือง หยดน้ำแสดงถึงความร่มเย็น อุดมสมบูรณ์เปรียบเสมือนน้ำพระทัยของพระองค์ที่หยดลงบนผืนดินนั้นให้เจริญงอกงาม
ขอบคุณรูปภาพจาก : https://www.facebook.com/ศูนย์เรียนรู้การเกษตรอทิตยาทร
มีเป้าหมายดำเนินการ คือ จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ด้านการเกษตรส่วนพระองค์ จำนวน 1 แห่งพื้นที่ 18 ไร่ โดยจะทำโครงสร้างพร้อมที่จะให้บริการความรู้ด้านการเกษตร มีองค์ประกอบ ได้แก่ การจัดการน้ำ การขุดสระและปรับพื้นที่ ขุดวางท่อส่งน้ำเข้าพื้นที่ และติดตั้งระบบส่งน้ำจากพลังแสงอาทิตย์ที่มีระบบส่งน้ำใช้ในกิจกรรมของศูนย์ สร้างศาลาการเรียนรู้ด้านการเกษตร 1 แห่ง สร้างที่ทำการชาวนา 1 แห่ง และสร้างคอกปศุสัตว์คอกเป็ด คอกไก่ 2 แห่ง ซึ่งศูนย์เรียนรู้ดังกล่าวสามารถให้บริการด้านการเกษตรแก่เกษตรกรได้ตลอดทั้งปี สำหรับแผนการดำเนินงานมีรายละเอียด ดังนี้
ฐานเรียนรู้ที่ 1 ที่ทำการชาวนา : สำนักงานเกษตรจังหวัดสุรินทร์ จำลองบ้านเศรษฐกิจพอเพียง มีการบริหารพื้นที่ใช้สอยให้มีประโยชน์สูงสุด โดยการปลูกพืชไว้บริโภคและใช้สอยในครัวเรือน การลดรายจ่าย และเพิ่มรายได้ของครอบครัว
ฐานเรียนรู้ที่ 2 ด้านจัดการดินและปุ๋ย : สถานีพัฒนาที่ดินสุรินทร์ ความรู้ด้านการปรับปรุงบำรุงดิน การอนุรักษ์ดิน การทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ การไถกลบตอซัง การใช้ปุ๋ยพืชสดหลังปลูกข้าว
ฐานเรียนรู้ที่ 3 การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว : ศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ จัดทำแปลงพันธุ์ข้าวหอมมะลิ (กข 15) ตามหลักวิชาการ
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ ทรงรับฟังการบรรยายเกี่ยวกับโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในฐานการเรียนรู้ เรื่อง ศัตรูของข้าว
ขอบคุณรูปภาพจาก : https://www.facebook.com/ศูนย์เรียนรู้การเกษตรอทิตยาทร
ฐานเรียนรู้ที่ 5 ด้านปศุสัตว์ : สำนักงานปศุสัตว์สุรินทร์ ความรู้การเลี้ยงไก่ไข่ การเลี้ยงเป็ดไข่แบบปล่อย
ฐานเรียนรู้ที่ 6 ด้านประมง : สำนักงานประมงจังหวัด และศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดสุรินทร์ ความรู้การเลี้ยงปลาในบ่อดินและการเลี้ยงปลาในนาข้าว
ฐานเรียนรู้ที่ 7 ด้านการจัดการน้ำ : สำนักงานเกษตรจังหวัดสุรินทร์ การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อเป็นกระแสไฟฟ้าสูบน้ำมาใช้ในการเกษตรในกิจกรรมต่าง ๆ
ฐานเรียนรู้ที่ 8 การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม : ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติ์ฯ สุรินทร์ ความรู้ด้านการปลูกหม่อนผลสด การทำน้ำจากผลหม่อน ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และขบวนการผลิตผ้าไหม
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ ทรงทดลองให้อาหารไหม โดยสนับสนุนให้เกษตรกรในพื้นที่เลี้ยงไหมพันธุ์พญาราม
ขอบคุณรูปภาพจาก : https://www.facebook.com/ศูนย์เรียนรู้การเกษตรอทิตยาทร
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.kku.ac.th/news/v.php?q=0010421&l=th
http://www.koratdaily.com/blog.php?id=4948