ทิศทางโซลาร์เซลล์ในอนาคตของประเทศไทย
ทุกวันนี้พลังงานทดแทนเป็นสิ่งที่ทั้งไทย และทั่วโลกต่างกำลังตามหาเพื่อมาทดแทนการใช้น้ำมันซึ่งมีราคาสูงขึ้น ซึ่งในขณะที่แผนกำหนดไว้ที่ 250 เมกะวัตต์ แต่ปัจจุบันยอดการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนรวมมีเพียง 50 เมกะวัตต์ โซลาร์เซลล์กำลังอยู่ในความสนใจ เพราะวัตถุดิบที่ใช้เพียงอย่างเดียวในการผลิต คือ แสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดและไม่มีมีวันหมดไป จากเหตุผลดังกล่าวจึงทำให้มีหลากหลายประเทศสนใจคิดค้นการพัฒนาวัตถุดิบเพื่อให้ได้ต้นทุนการติดตั้งในราคาที่ถูกลง และประเทศในยุโรปมีนโยบาย เป้าหมาย และมาตรการส่งเสริมที่ชัดเจนว่าภายในปี 2020 จะมีสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนในการผลิตไฟฟ้า 30% จากทั้งหมด ส่วนในญี่ปุ่นเองจากทุกประเทศทั่วโลก ญี่ปุ่นมีการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์มากที่สุดที่ 859 เมกะวัตต์ สามารถผลิตได้มากกว่า 400 เมกะวัตต์ต่อปี และได้กำหนดภายในปี 2050 จะมีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน 80% ญี่ปุ่นกำลังขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าและไม่สามารถใช้พลังงานจากนิวเคลียร์ได้ การใช้โซลาร์เซลล์จึงเป็นทางเลือกที่จำเป็น
NPD Solarbuzz ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยด้านพลังงานระดับโลกระบุว่า ประเทศผู้นำด้าน Solar PV ทั่วโลกมีการใช้เพิ่มขึ้น ซึ่งในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค ได้แก่ ญี่ปุ่น อินเดีย และไทย
สำหรับในประเทศไทย มีการใช้ไฟฟ้า 80% จากการนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่จะเกิดกับความมั่นคงทางด้านพลังงานของไทย และเนื่องจากความต้องการด้านพลังงานไฟฟ้าที่สูงขึ้น หน่วยงานภาครัฐจึงได้มีการสนับสนุนส่วนต่างที่รับซื้อไฟฟ้าที่ผลิตจากโซลาร์เซลล์หรือพลังงานแสงอาทิตย์ ที่เรียกกันว่า “adder” ในอัตราราคาที่สูงกว่าพลังงานชนิดอื่น ส่งผลให้เกิดการลงทุนเกี่ยวกับโซลาร์เซลล์เพิ่มมากขึ้น ดังเช่นบริษัท เค.จี. เอนเนอร์จี จำกัดได้มีการลงทุนเช่าหลังคาเพื่อติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป (Solar Rooftop) ภายใต้ชื่อโครงการโซลาร์รูฟท็อป 2558 ซึ่งมีบุคคลทั่วไปสมัครเข้าร่วมโครงการและติดตั้งมากกว่า 800 หลังคาเรือน รวมไปถึงโรงงานอุตสาหกรรม โรงแรม รีสอร์ท และโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ มีกำลังการผลิตรวมทั้งสิ้น 9 เมกะวัตต์ มาตรการภายในปี 2560 นี้มีแผนการติดตั้งและผลิตรวม 19 เมกะวัตต์ จะเห็นได้ว่าโซลาร์เซลล์ก็ได้รับการยอมรับและเข้ามามีบทบาทในสังคมไทย มีการขยายการผลิตมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งอีกไม่เกิน 10 ปีข้างหน้า หรือช่วงปี 2020 บ้านเรือนจะมีแผงโซลาร์เซลล์ไว้ผลิตไฟใช้เอง และบริษัทต่างๆให้ความสนใจในธุรกิจพลังงานได้หันมาลงทุนเพิ่มขึ้น อีกทั้งแผนพัฒนาระบบไฟฟ้าของไทยอีก 15 ปีนับจากนี้นับจากสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าในส่วนของพลังงานทดแทนจะเพิ่มขึ้น ดังนั้นอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์จะมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มในประเทศไทย
ขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.manager.co.th
http://www.oie.go.th