พลังงานทดแทนรองรับวิกฤตไฟฟ้า
ไฟฟ้านั้นถือเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตและสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเลยก็ว่าได้หากเกิดวิกฤตการณ์ไฟฟ้าขึ้นก็จะส่งผลกระทบอย่างกว้างขวาง ดังนั้นเราจึงจำเป็นที่จะต้องหาพลังงานทดแทนเข้ามาใช้แทนพลังงานรูปแบบเดิมเพื่อแก้ไขปัญหาอีก 20 ปี ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยที่เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าของไทยจะหมดลงซึ้งมีอัตตราการ ใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าในช่วง 11 เดือน ของปี 2016 นั้นพบว่า มีการใช้เชื้อเพลิงจากก๊าซ ธรรมชาติิ ร้อยละ 59.5 ซึ่งในจำนวนนั้นมาจากอ่าวไทยถึง 70% จึงจำเป็นต้องรีบแสวงหาแหล่งเชื้อเพลิงหลักอื่นๆมาทดแทนโดยเร็ว (กรมพลังงานทดแทน,2560)
สัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า มค.- พย.60
พลังงานทดแทนหรืออาจจะเรียกอีกอย่างว่าพลังงานทางเลือก หมายถึง พลังงานที่ใช้แทนน้ำมันเชื้อเพลิงซึ้งเป็นพลังงานหลักที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในปัจจุบัน สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ พลังงานทดแทนจากแหล่งที่ใช้แล้วหมดไป เช่น ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ นิวเคลียร์ หินน้ำมัน เป็นต้น และพลังงานทดแทนอีกประเภทหนึ่งคือพลังงานที่ใช้แล้วสามารถหมุนเวียนกับมาใช้ได้อีก เช่น แสงอาทิตย์ ลม ชีวมวล น้ำ เป็นต้น ซึ่งพลังงานหมุนเวียนเป็นแหล่งพลังงานที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นพลังงานที่สามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพลังงานได้ ทั้งยังช่วยลดปัญหามลพิษอีกด้วย (กรมพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน, 2556)
จากที่กล่าวมาข้างต้นนั้นก็พอที่จะทำให้เข้าใจได้ว่าพลังงานมีความสำคัญอย่างไร แต่ในปัจจุบันพลังงานทดแทนก็ถือว่าเป็นที่น่าสนใจของประชากร โดยเฉพาะในปี 2560ประเทศไทยมีสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนร้อยละ 16.22 ของการใช้พลังงานทั้งหมด ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2559 ที่มีสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนร้อยละ 13.8 ของการใช้พลังงานทั้งหมด และพลังงานทดแทนที่น่าจับตามองในตอนนี้ก็คงหนีไม่พ้น ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ติดตั้งบนหลังคา หรือ เรียกอีกอย่างว่า Solar PV Rooftop เป็นหนึ่งในพลังงานทดแทนที่มีประโยชน์คุ้มค่าและน่าลงทุน เพราะเป็นการใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติที่มีอยู่แล้ว มาผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าไว้ใช้เองในบ้าน อาคาร หรือ จำหน่ายคืนให้กับการไฟฟ้าได้ ถือว่าเป็นการสร้างรายได้อีกทางหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นการช่วยลดปัญหาวิกฤตการณ์ไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอีกด้วย ดังนั้นพลังงานทดแทนหรือพลังงานทางเลือก จึงเป็นพลังงานที่สามารถนำมาใช้ทดแทนพลังงานแบบเดิมได้อย่างไม่จำกัด ทั้งยังหาได้จากธรรมชาติและสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เพื่อช่วยลดปัญหาการขาดแคลนพลังงาน รวมทั้งลดมลพิษอีกด้วย
ประโยชน์ของพลังงานทดแทนคือ ใช้ทรัพยากรที่มีภายในประเทศและลดมลพิษ
ประเภทหลักของพลังงานทดแทน
พลังงานแสงอาทิตย์ คือ เซลล์แสงอาทิตย์หรือโซลาร์เซลล์ที่สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ถึง 460 วัตต์/ ตร.ม
พลังงานลม คือ ไฟฟ้าที่สามารถผลิตได้จากลมโดยหมุนกังหัน
พลังงานความร้อนใต้ดิน คือ ใช้พลังงานใต้พิภพสร้างไฟฟ้า
พลังงานจากน้ำ คือ การใช้น้ำในเขื่อนหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
พลังงานจากขยะ คือ นำขยะมาเป็นเชื้อเพลิงเผาไหม้ให้เกิดความร้อน และใช้ความร้อนผลิตกระแสไฟฟ้า
พลังงานจากชีวมวลและก๊าซชีวภาพ คือ เปลี่ยนสารชีวมวลจากพืชและสัตว์เป็นพลังงาน