
โซลาร์ฟาร์มลอยน้ำ (Floating Solar Farm) คืออะไร
พลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในหลายประเทศ เนื่องจากเป็นแหล่งพลังงานที่ยั่งยืนและไม่สร้างมลพิษ แต่ในบางพื้นที่ที่พื้นที่ดินมีจำกัด โซล่าเซลล์ลอยน้ำ หรือ “Floating Solar Farm” จึงกลายเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ โดยการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนผิวน้ำ ช่วยให้สามารถใช้พื้นที่น้ำที่มีอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในขณะเดียวกันก็ยังสามารถผลิตพลังงานสะอาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ บทความนี้จะชวนคุณไปรู้จักว่า Solar Floating คือ มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไรบ้าง
Floating Solar คืออะไร
โซลาร์ฟาร์มลอยน้ำ Solar Floating คือ การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนผิวน้ำ โดยใช้โครงสร้างลอยน้ำเพื่อรองรับแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ซึ่งช่วยให้สามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในพื้นที่ที่มีน้ำเป็นแหล่ง เช่น ทะเลสาบหรืออ่างเก็บน้ำ การติดตั้งแบบนี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พื้นที่ที่จำกัดบนพื้นดินและลดผลกระทบต่อระบบนิเวศในแหล่งน้ำ พร้อมทั้งช่วยให้สามารถผลิตพลังงานได้ในสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและสภาพอากาศต่าง ๆ ได้อย่างดีเยี่ยม
Floating Solar ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
- แผงเซลล์แสงอาทิตย์ (PV Module/Panel) : แปลงพลังงานแสงเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง (DC)
- อินเวอร์เตอร์ (Inverter) : แปลงพลังงานไฟฟ้ากระแสตรงเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับ (AC)
- อุปกรณ์ลอยตัว (Floating Structure) : โครงสร้างที่รองรับแผงโซลาร์เซลล์ให้ลอยอยู่บนผิวน้ำ
- ระบบทุ่นลอยน้ำ (Anchoring and Mooring System) : ระบบที่ยึดโครงสร้างให้คงที่ เช่น การยึดกับชายฝั่งหรือก้นแหล่งน้ำ
- สายเคเบิ้ล (Cables) : เชื่อมต่อระบบไฟฟ้าผ่านโครงข่ายต่างๆ
- ระบบ SCADA หรือ Monitoring : ระบบคอมพิวเตอร์ที่เก็บข้อมูลและควบคุมการทำงานของระบบ
- หม้อแปลงไฟฟ้า (Transformer) : แปลงกระแสไฟฟ้าและแรงดันให้เหมาะสมกับการใช้งาน
Floating Solar มีหลักการทำงานอย่างไร
หลักการทำงานของ Floating Solar นั้นพื้นฐานเหมือนกับระบบโซลาร์เซลล์บนดินทั่วไป โดยแผงเซลล์แสงอาทิตย์แปลงพลังงานแสงให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC) แล้วผ่านการแปลงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) โดยอินเวอร์เตอร์ ก่อนจะส่งไปใช้งานระบบไฟฟ้าภายในอาคารหรือกิจการต่าง ๆ แผงโซลาร์เซลล์เหล่านี้ถูกติดตั้งบนโครงสร้างที่ลอยอยู่บนผิวน้ำ เช่น ทุ่นลอยน้ำ ซึ่งช่วยให้สามารถติดตั้งได้ในพื้นที่ที่มีน้ำเป็นแหล่ง ไม่ว่าจะเป็นอ่างเก็บน้ำหรือทะเลสาบ
จุดเด่นของโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำ
การติดตั้งโซล่าเซลล์ลอยน้ำ (solar floating) ถือว่ามีประสิทธิภาพมากกว่าการติดตั้งแบบอื่น เหมาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลาง หรืออุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีพื้นที่จำกัด ใช้พื้นที่ว่างเปล่าให้เป็นประโยชน์และยังมีจุดเด่นที่น่าสนใจมากมาย ดังนี้
1. ความเย็นของน้ำจะส่งผลดีต่อการทำงานของแผงโซลาร์เซลล์นอกจากนี้แล้วแผงโซลาร์ยังบดบังแสงอาทิตย์ที่ตกกระทบผิวน้ำช่วยลดการเติบโตของสาหร่ายใต้น้ำ
2. ลดการระเหยของน้ำในอ่างเก็บน้ำ ด้วยโครงการขนาดใหญ่ขนาด ย่อมมีเสียงสะท้อนถึงความเป็นห่วงด้านระบบนิเวศบริเวณรอบ หากแต่การวางแผงโซลาร์เซลล์นั้นได้มีการเว้นระยะห่างไว้ เพื่อให้ระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในบริเวณอ่างเก็บน้ำ ดำเนินไปอย่างเป็นธรรมชาติ
3. ปัญหาสถานที่สร้างโรงไฟฟ้า คือ ไม่ต้องกังวลเรื่องพื้นที่บนพื้นดิน ซึ่งในปัจจุบันมีน้อยและราคาแพง สามารถสร้างจากบนเขื่อน หรือในแม่น้ำขนาดใหญ่ได้ และนอกจากนั้นยังสามารถทำการล้างแผงโดยใช้น้ำจากแหล่งน้ำนั้นได้ทันทีค่ะ
4. ภัยแล้ง คือ เมื่อโซลาร์เซลล์ลอยอยู่ในเขื่อนจะช่วยชะลอการระเหยของน้ำ ทำให้ลดปัญหาความแห้งแล้ง สามารถมีน้ำสำหรับใช้งานได้มากขึ้น
5. ไม่ต้องใช้ที่ดิน ต้นทุนใกล้เคียงกัน ไม่ต้องสูญเสียที่ดินโดยเปล่าประโยชน์
ข้อดีและข้อเสียของ Floating Solar
โซลาร์ฟาร์มลอยน้ำ (Floating Solar) ถือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจในการผลิตพลังงานสะอาดจากแสงอาทิตย์ แต่ก็มีข้อดีและข้อเสียที่ต้องพิจารณา การเลือกใช้ Floating Solar ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น งบประมาณ สภาพแวดล้อม และความสะดวกในการติดตั้งและบำรุงรักษา ดังนั้นการทำความเข้าใจทั้งข้อดีและข้อเสียจะช่วยให้ผู้ใช้งานตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น
ข้อดี
- ช่วยลดอุณหภูมิแผงโซลาร์เซลล์ เนื่องจากการสัมผัสกับน้ำช่วยลดความร้อน
- เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า เนื่องจากอุณหภูมิที่ต่ำช่วยให้แผงทำงานได้ดีกว่า
- ใช้พื้นที่ผิวน้ำที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์อื่น ๆ ได้ ทำให้ไม่เบียดเบียนพื้นที่ดิน
- ช่วยลดการระเหยของน้ำในแหล่งน้ำ
- ลดการเกิด Algae Blooms ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำเขียว และอาจทำให้น้ำเสียได้
ข้อเสีย
- ต้นทุนการติดตั้งสูงกว่าระบบโซลาร์เซลล์บนดิน
- การติดตั้งอาจใช้เวลานาน และมีความซับซ้อน
- ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาค่อนข้างสูง
- ไม่เหมาะสำหรับแหล่งน้ำที่มีความไม่เสถียร เช่น คลื่นลมแรงหรือมีการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำบ่อย
- อาจเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำหากไม่มีมาตรการดูแลที่ดี
Floating Solar เหมาะกับใครบ้าง
Floating Solar เหมาะกับผู้ที่มีพื้นที่ผิวน้ำที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ในรูปแบบอื่นได้ เช่น ทะเลสาบหรืออ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ต้องการลดผลกระทบต่อระบบนิเวศน์บนบกหรือใช้พื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังเหมาะกับองค์กรหรือโครงการที่มีงบประมาณสูงและสามารถรับมือกับค่าใช้จ่ายการติดตั้งและบำรุงรักษาได้
ตัวอย่างโครงการ Floating Solar
โครงการที่เขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานีมีโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิรินธร มีขนาดกำลังผลิต 45 เมกะวัตต์ ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 47,000 ตันต่อปี และลดการระเหยของน้ำได้ 460,000 ลูกบาศก์เมตรต่อปี
โครงการ Solar Farm Floating ของบริษัท Schimmer Metal Standard
มีกำลังผลิตไฟขนาด 2.2 เมกะวัตน์ จ.อยุธยา ลดค่าไฟฟ้าประมาณ 14,000,000 บาทต่อปี (จากการคำนวณค่าไฟฟ้า 4.5 บาท/หน่วย) ออกแบบการติดตั้งแผงในทิศทางและองศาที่เหมาะสมเพื่อการผลิตพลังงานสูงสุด บ่อน้ำมีการระบายความร้อนที่ดีช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า ลดการระเหยของน้ำได้ถึง 80% พร้อมช่วยปรับคุณภาพของน้ำให้ดีขึ้น

สรุป
Floating Solar หรือ โซลาร์ฟาร์มลอยน้ำ เป็นนวัตกรรมที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์ โดยใช้พื้นที่ผิวน้ำอย่างคุ้มค่า ข้อดีของระบบนี้คือการลดอุณหภูมิแผงและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า แต่ก็มีข้อเสียในเรื่องต้นทุนสูงและการติดตั้งที่ซับซ้อน ด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง Floating Solar จึงนับเป็นทางเลือกที่มีศักยภาพในการผลิตพลังงานสะอาดในอนาคต
สำหรับผู้ที่สนใจติดตั้งโซลาร์เซลล์ KG Solar พร้อมให้คำปรึกษาและบริการติดตั้งโซลาร์เซลล์แบบครบวงจร ด้วยทีมงานมืออาชีพที่มีประสบการณ์มากกว่า 10 ปี สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line Official : @kgsolar หรือโทร 095-947-9000