โซลาร์ช่วยผลักดันเกษตรกรได้อย่างไร
โซลาร์มีประโยชน์กว่าที่เราคิดเพราะปัจจุบันนอกจากการแผงโซลาร์ติดบนหลังคาเพื่อประหยัดไฟแล้ว มีเกษตกร “ชุมชนบ้านทุ่งยาว จ.เชียงใหม่ ประกอบอาชีพเลี้ยงปลานิล ยังนำพลังงานทดแทนมาช่วยในการเลี้ยงปลาสิ่งที่สำคัญคือการเติมออกซินเจนในน้ำเพื่อให้ปลามีอากาศเพียงพอและไม่เกิดภาวะ “ปลาน๊อกน้ำ” บางพื้นที่ใช้วิธีชาวบ้านคือ การปล่อยปลาตะเพียนเพื่อเป็นตัวชีวัดค่าออกซิเจนในน้ำ หากปลาตะเพียนขึ้นมาสูดอากาศบ่อย แสดงว่าค่าออกซิเจนในน้ำต่ำ หรือบางทีใช้การติดตั้งเครื่องเติมอากาศ แต่อุปสรรคคือแบกรับค่าไฟหากเปิดปัญหาไฟกระชากดับ ส่งผลให้ปลาน็อกตายยกบ่อซึ่งหากเกิดขึ้นสร้างความเสียหายเป็นอย่างมาก
จึงมีการทดลองวิจัยเลี้ยงปลาอัจฉริยะสีเขียว จากภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่วิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่งานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ให้การสนับสนุน ได้เลือกพลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์เพื่อจ่ายไฟให้กับเครื่องเติมออกซินเจนในบ่อ หากวันไหนแสงแดดไม่พอก็สามารถดึงไฟจากการไฟฟ้ามาใช้งานได้ตามปกติ ส่วนการวัดค่าออนซิเจนในบ่อ จะติดตั้งทุ่นเตือนอัจฉริยะลอยน้ำ ด้านบนติดตั้งแผงโซลาร์ไว้ เป็นทุ่นลอยน้ำที่สามารถเคลื่อนที่ได้ทั้งบ่อเพื่อเก็บตัวอย่างน้ำ และยังสามารถส่งข้อมูลไปยังสมาร์ทโฟนที่สามารติดตามสถาณการณ์ได้ตลอดเวลา หากมีการแจ้งเตือนว่าออกซิเจนต่ำ ก็สามารถสั่งเปิดเครื่องเติมออนซินเจนในบ่อปลาโดยผ่านสมาร์ทโฟนได้เลยทันที
การใช้พลังงานแสงอาทิตย์หรือโซลาร์เซลล์ในการเติมออกซิเจนน้ำแล้วสิ่งที่เพิ่มมูลค่าคือ เดิมจากการจ่ายค่าไฟต่อเดือนประมาณ 20,000 ลดลงเป็นเท่าตัวคือเฉลียจ่ายต่อเดือน 8,000 บาทและที่สำคัญไปกว่าการเลี้ยงปลาจากเดิมใช้ระยะเวลา 8-10 เดือนระยะเวลาก็ลดลงเหลือแค่ 6 เดือนซึ่งส่งผลดีให้กับเกษตรกรเป็นอย่างมากในการเลี้ยงปลานิล
นวัตกรรมการเกษตร
การเกษตรไทยยังสามารถก้าวไปได้อีกไกลแต่ว่ายังคงต้องอาศัยหนทางและการสนับสนุนที่ถูกต้อง การทำให้เกษตรกรสามารถดูแลตัวเองได้คือส่วนหนึ่งในการพัฒนา อีกทั้งที่ขาดไม่ได้คือนวัตกรรมการเกษตรที่สามารถตอบโจทย์ได้ทั้งเกษตรกรและผู้บริโภคในเวลาเดียวกัน
แน่นอนว่านวัตกรรมการเกษตรไม่ได้ครอบคลุมเฉพาะการปลูกพืชเท่านั้น ยังรวมไปถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิต รวมถึงการแปรรูปด้วย เช่น นวัตกรรมเครื่องกำจัดมอดในข้าว เครื่องอบข้าวลดความชื้น หรือนวัตกรรมแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรอื่นๆ
โดยเฉพาะในปัจจุบันที่สินค้าเกษตรเน้นการแปรรูปมากขึ้น เพื่อขยายตลาดและเพิ่มมูลค่าในการส่งออกไปยังประเทศต่างๆ และการแปรรูปจะเริ่มไม่ได้เลยหากไม่มีนวัตกรรมด้านพลังงานที่มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น
ชาวนาเพิ่มความรวดเร็วในการไถนาโดยเปลี่ยนจากการใช้กำลังสัตว์อย่างควายมาเป็นใช้เครื่องจักรอย่างรถไถ ชาวสวนใช้ยาฆ่าแมลงเพื่อป้องกันศัตรูพืช คนไทยคงได้เห็นภาพเหล่านั้นจนชินตา แน่นอนว่าบางอย่างส่งผลดีกับการเกษตรในภาพรวม แต่บางอย่างก็มีผลเสียในระยะยาว
ระบบโซล่าเซลล์ จึงเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่เริ่มมีการประยุกต์ใช้อย่างจริงจังในภาคครัวเรือนและภาคการเกษตร เนื่องจากต้นทุนที่เริ่มลดต่ำลงรวมถึงมีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
CR : https://www.thairath.co.th/news/local/1571206?fbclid=IwAR2L_wQlVCRiS3r3BI_eHeTMI_e4mvveGI1oprMHCiAoYmeAZEl1wuRv2i4