7 ประเภทแอร์สำหรับใช้ในบ้าน
แอร์ หรือเครื่องปรับอากาศ กลายเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ขาดไม่ได้สำหรับประเทศไทยที่ทุกบ้านต้องมี เพราะประเทศไทยมีอากาศร้อนจัดเกือบทั้งปี ดังนั้นการเลือกซื้อแอร์จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรคำนึงถึง ต้องเป็นฉลากเบอร์ 5 เพื่อเพิ่มการประหยัดค่าไฟ มีความเย็นที่เหมาะสม ขนาดเหมาะสมกับห้องที่ติด
แอร์บ้านที่เราติดตั้ง และใช้กันอยู่ทุกวันนี้จะแบ่งเป็นชนิดต่างๆ หลากหลายแล้วแต่การใช้งานและความชอบทางรูปทรง หรือดีไซน์ เป็นแอร์ขนาดเล็ก ซึ่งมีดังนี้
1.แบบติดผนัง (Wall Type)
ใช้กับห้องขนาดเล็กแอร์ติดผนังส่วนมาก มาพร้อมกับขนาดการทำความเย็น มีตั้งแต่ 9,000 BTU 12,000 BTU 18,000 BTU และ 24,000 BTU ซึ่งเป็นที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ซึ่งมีการออกแบบทั้งสีและรูปแบบหลากหลาย เพื่อให้เหมาะกับสไตล์การใช้งานของผู้ใช้ ไม่มีเสียงรบกวน
2.แบบตั้งแขวน (Ceiling type)
ราคาจะสูงกว่าแอร์ผนัง เพราะมีต้นทุนผลิตสูงกว่า และติดตั้งยากกว่า ข้อดีคือลมแรงกว่าแอร์ผนังเหมาะสำหรับห้องที่ไม่มีพื้นที่ผนัง สามารถตั้งพื้นได้สามารถกระจายความเย็นไปได้ทั่วถึงมากกว่าแอร์แบบติดผนัง และทำให้ห้องเย็นไวมากยิ่งขึ้น
3.แบบตู้ตั้งพื้น ( Package type)
มีลักษณะคล้ายตู้ มีกำลังลมที่แรง เหมาะกับบริเวณที่มีคนผ่านเข้าออกอยู่ตลอดเวลา เหมาะกับห้องที่มีขนาดใหญ่ เช่นห้องประชุม โชว์รูม ห้องอาหาร เป็นต้น
4.แบบฝังฝ้าเพดาน สี่ทิศทาง ( Cassette type)
เน้นความสวยงาม โดยการซ่อน หรือฝังอยู่ ใต้ฝ้าหรือเพดานห้อง มีความสวยงาม ทุกอย่างควบคุมจากจุดๆ เดียว ทำให้การแก้ไข และหาสาเหตุของปัญหาต่างๆ เป็นไปได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ที่โดดเด้รอีกอย่างคือไม่มีส่วนใดของแอร์โผล่ออกมาให้เห็นภายในอาคารเลย (ยกเว้นหน้ากากแอร์เท่านั้น) สามารถเลือกติดตั้งหน้ากากแอร์ ให้ลมออกได้หลากหลายเช่น ข้างกำแพง บนฝ้าเพดาน บนพื้น และมีหลายทิศทางให้เลือกซื้อ ทั้งแบบกลม หรือแบบเหลี่ยม 2/ 4/ 8 ทิศทาง เป็นต้น
5.แบบหน้าต่าง ( Window type)
รวมทั้ง คอนเดนซิ่ง ยูนิต และ แฟนคอยล์ ยูนิต อยู่ในเครื่องเดียว โดยปัจจุบันแทบจะไม่มีการนำมาใช้งานแล้ว เพราะเวลาติดตั้งต้องมีหน้าต่างที่ขนาดพอดีกับเครื่องปรับอากาศ
6.แอร์แบบเคลื่อนที่ ( Movable type)
ไม่ต้องทำการติดตั้ง และสามารถเข็นไปใช้ได้
7.แบบท่อลม (Duct type)
ใช้ท่อลมส่ง ความเย็น เข้าตามห้องต่างๆ แล้วแต่จะใช้กี่ห้องตามแบบที่ออกมา ข้อดีคือติดตั้งชุดเดียว ส่งลมเย็นไปๆด้ทุกห้อง ข้อเสียถ้าเครื่องปรับอากาศเสีย จะไม่เย็นทุกห้อง
แอร์แบบไหนประหยัดค่าไฟมากที่สุด
การซื้อแอร์ที่คำนึงถึงค่าไฟเป็นหลักนั้น ต้องทำอย่างไรบ้าง?
- ซื้อแอร์เฉพาะตัวที่ติดฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5
- เลือกตำแหน่งติดตั้งแอร์และคอมเพรสเซอร์ให้เหมาะสมในห้อง หลีกเลี่ยงการติดตั้งแอร์ในทิศตะวันตกที่มีแสงแดดส่องโดยตรง
- เลือกแอร์ให้มีความเหมาะสมกับขนาดห้อง
คนส่วนใหญ่มักเลือกซื้อแอร์ขนาดใหญ่เพื่อให้ห้องเย็นเร็วขึ้นซึ่งเป็นการตัดสินใจไม่ถูกต้อง เพราะการใช้แอร์ที่มี BTU สูงเกินความจำเป็นกับขนาดห้องจะทำให้คอมเพรสเซอร์ตัดบ่อย และทำให้ภายในห้องมีความชื้นสูงส่งผลให้ผู้ใช้งานรู้สึกไม่สบายตัว แต่หากเลือกแอร์ที่มี BTU ต่ำเกินไป การทำความเย็นจะช้า ไม่ได้ตามอุณหภูมิที่ตั้งไว้ รวมถึงคอมเพรสเซอร์ทำงานหนักจนเกินไป ทำให้แอร์เสียเร็วและค่าไฟแพงขึ้น - ควรเปิดแอร์ที่ 26 องศาและเปิดพัดลมไปด้วย
การเปิดพัดลมไปด้วยจะช่วยให้แอร์ไม่ทำงานหนักมากจนเกินไป และลดค่าไฟสูงสุด ถึง 10% - ล้างแอร์อย่างสม่ำเสมอช่วยยืดอายุการใช้งานของแอร์ได้
โดยปกติควรล้างที่ 6 เดือน ต่อ 1 ครั้ง