เสื้อแจ๊กเก็ตที่ถูกทอจากเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์
โครงการสุดมหัศจรรย์นี้ ได้แรงบันดาลใจมาจาก Marty McFly ตัวละครหลักในภาพยนตร์ Back To The Future โดยเริ่มต้นมาจากรองเท้าไนกี้ที่มีกลไกสามารถผูกเชือกเองได้อย่าง Nike Hyperadapt 1.0 นำมาสู่การพัฒนาเส้นใยที่เก็บพลังงานของดวงอาทิตย์ และสามารถนำมาทอเป็นเสื้อผ้า
โดยผลิตภัณฑ์หลักที่จะพัฒนาจะเป็นเสื้อแจ๊กเก็ต และเครื่องแต่งกายอื่นๆที่สามารถสวมใส่และเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ได้ มันอาจจะเป็นการปฏิวัติเทคโนโลยีครั้งสำคัญ ที่สามารถนำไปช่วยในด้านต่างๆอย่างเช่น ทางการทหาร ที่ต้องคอยแบกแบตเตอรีสำรองติดตัว ช่วงลาดตระเวนในพื้นที่ห่างไกล เดินทางระยะไกล ทำให้มีความสะดวกและสามารถเคลื่อนตัวได้อย่างคล่องแคล่วมากขึ้น รวมไปถึงเหล่าวัยรุ่นที่ติดสมาร์ทโฟนก็อาจจะไม่ต้องพกแบตเตอรีสำรองให้หนักกันอีกต่อไป
“ภาพยนต์เป็นแรงจูงใจ”
“ถ้าคุณสามารถพัฒนาเสื้อผ้าตัวเอง ให้ชาร์ตแบตได้ จากจินตนาการในโรงภาพยนตร์ นั่นถือว่าเป็นสิ่งดีดีทีเกิดขึ้น”
รองศาสตราจารย์โทมัส นักวิทยาศาสตร์สาขานาโนเทคโนโลยี ศูนย์วิจัยนาโนเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยฟลอริด้า กล่าวในงานเปิดตัวภาพยนตร์ในปี ค.ศ.1989
งานวิจัยชิ้นนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสื่อสารธรรมชาติ เมื่อพฤศจิกายนที่ผ่านมา
รองศาตราจารย์โทมัส ได้ทำการทดลองเสื้อพลังงานแสงอาทิตย์
รองศาสตรจารย์โทมัส ได้รับการยกย่องสำหรับการวิจัยต่างๆก่อนหน้านี้ โดยเมื่อปีที่ผ่านมา(2015) เขาได้รับรางวัลการวิจัยและพัฒนาสิ่งประดิษฐ์มากกว่า 100 รางวัล โดยรางวัลสิ่งประดิษฐ์ที่ดีที่สุดของโลกที่เขาได้รับ คือ การผลิตสายส่งเพื่อเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ โดยออกแบบให้เป็นแบบกึ่งโปร่งใส เพื่อนำไปติดที่หน้าต่าง ทำให้แสงที่ผ่านหน้าต่างไปเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ได้ ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนามาเป็นสู่โครงการเสื้อพลังงานแสงอาทิตย์เช่นเดียวกัน
“ความคิดนี้เข้ามาในสมองฉัน : เราผลิตอุปกรณ์เก็บพลังงาน และเราทำโซลาร์เซล์ในแลป ทำไมเราถึงไม่รวมสองอย่างนี้เข้าด้วยกัน” รองศาสตราจารย์โทมัส กล่าว
จินตนาการของเขาได้เปิดเทคโนโลยีสำหรับการสวมใส่ ทีมวิจัยได้พัฒนาเส้นใยในรูปแบบของเส้นริบบิ้นทองแดงที่มีความบาง ยืดหยุ่น และมีน้ำหนักเบา โดยเส้นนั้นมีเซลล์แสงอาทิตย์ด้านในหนึ่งชั้นและชั้นอื่นๆสำหรับเป็นที่เก็บพลังงาน
หลักฐานแนวคิดนี้แสดงให้เห็นว่า เส้นใยที่ถักทอเป็นแจ๊คเก็ตหรือชุดอื่นๆที่สวมใส่ สามารถผลิตและเก็บพลังงานสู่โทรศัพท์ อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ต้องพกติดตัว หรืออื่นๆ ซึ่งถือว่าเป็นความก้าวหน้าเอาชนะข้อบกพร่องหลักของพลังงานแสงอาทิตย์ที่ถูกผลิตจากกริดแล้วนำไปเก็บในแบตเตอรีที่จำกัดพื้นที่ในการใช้งาน
“การประยุกต์ใช้งานหลักในตอนนี้จะเป็นการใช้ทางการทหาร”
“เมื่อคุณคิดถึงทหารที่อยู่ในประเทศอิรัคหรืออัฟกันนิสถาน พวกเขาเดินกลางแดด และพวกเขาต้องพกแบกแบตเตอรีน้ำหนัก 30 ปอนด์ไว้บนร่างกาย มันคงเป็นเรื่องยากสำหรับทหารในสภาพแวดล้อมเหล่านี้ มันคงจะดีกว่าหากเสื้อผ้าของพวกเขาสามารถผลิตและเก็บพลังงานได้ในเวลาเดียวกัน”
“ในอนาคต สิ่งที่เราทำได้ คือการแสดงให้เห็นว่ามันทำได้ ซึ่งมันจะสามารถถูกนำไปใช้ประโยชน์ได้อีกมากมายในการใช้งานอื่นๆไม่เฉพาะทางการทหารเท่านั้น”
รองศาสตราจารย์โทมัสกล่าว
ขอบคุณข้อมูลจาก
http://solarthermalmagazine.com/