เปิดตัวโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์รวม 4 เทคโนโลยี
ในยุคสมัยนี้เป็นยุคของพลังงานสีเขียว ที่นับวันจะมีความสำคัญและเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่พลังงานจากฟอสซิลได้รับความนิยมลดลง คาดการณ์ว่าในอนาคตข้างหน้านั้นจะถูกแทนที่ด้วยพลังงานสีเขียว
พลังงานสีเขียวที่กล่าวมาข้างต้นนั้นมีหลากหลายประเภท ได้แก่ พลังงานลม พลังงานน้ำ พลังงานชีวมวล พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นต้น ซึ่งประเภทที่กำลังได้รับความนิยมในขณะนี้ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ เพราะเป็นพลังงานจากธรรมชาติ สามารถนำมาใช้ได้อย่างไม่มีวันหมด อีกทั้งยังสามารถพัฒนาต่อไปได้ดียิ่งขึ้นในอนาคต ซึ่งในประเทศไทยตอนนี้ได้มีการเปิดตัวโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทับสะแก ซึ่งโรงไฟฟ้านี้เป็นแหล่งวิจัยเซลล์แสงอาทิตย์ 4 ชนิดแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย เพื่อวิจัยและพัฒนาพลังงานทดแทนและการผลิตไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ที่นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนรองรับนโยบาย Energy 4.0 ของกระทรวงพลังงาน พร้อมเปิดศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. ทับสะแก ให้เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ด้านพลังงานแห่งใหม่ของภาคกลางตอนล่าง
Tapsakae Solar
รูปภาพหน้าโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทับสะแก
ขอบคุณรูปภาพจาก https://www.thairath.co.th/content/942643
โรงไฟฟ้าแห่งเดียวของไทยที่ติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ถึง 4 ชนิดในพื้นที่เดียวกัน มีขนาดกำลังผลิตรวม 5 เมกะวัตต์ โดยชนิดของเซลล์แสงอาทิตย์ที่ผลิตจากสารกึ่งตัวนำประเภทซิลิคอน 4 ชนิด เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้งานจริง ได้แก่
1.เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดผลึกซิลิคอน (Crystalline Silicon) กำลังการผลิต 1 เมกะวัตต์ โดยระบบติดตามดวงอาทิตย์แบบถ่วงน้ำหนักด้วยน้ำมาติดตั้งด้วย เพื่อให้แผงโซล่าร์เซลล์สามารถหมุนตามดวงอาทิตย์ได้โดยอัตโนมัติ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น
Solartracking
รูปภาพโซล่าร์แบบเคลื่อนที่ของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทับสะแก
ขอบคุณรูปภาพจาก https://www.thairath.co.th/content/942643
2.เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดอะมอร์ฟัสซิลิคอน (Amorphous Silicon) ขนาดกำลังผลิต 2 เมกะวัตต์ ไม่สามารถหมุนตามดวงอาทิตย์ได้
Amorphous panel
รูปภาพแผงแบบอะมอร์ฟัสที่ติดตั้งในโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทับสะแก
ขอบคุณรูปภาพจาก https://www.egat.co.th
3.เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดไมโครคริสตอลไลน์อะมอร์ฟัสซิลิคอน (Micro Crystalline Amorphous Silicon) ขนาดกำลังผลิต 1 เมกะวัตต์
4.เซลล์สารอาทิตย์ชนิดสารประกอบคอปเปอร์อินเดียมแกลเลียมไดเซเลไนต์ CI(GS)S (Copper Indium Gallium Di-Selenide) กำลังการผลิต 1 เมกะวัตต์
โดยแผงเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดที่ 2 – 4 ใช้การติดตั้งแบบคงที่ โดย กฟผ. จะทำการศึกษาวิจัยเปรียบเทียบประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าของเทคโนโลยีแต่ละชนิดว่ามีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ริมชายฝั่งทะเลที่มีภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยและฝนตกชุกตลอดทั้งปีหรือไม่ เพื่อพัฒนาต่อยอดเป็นต้นแบบที่เหมาะสมของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในพื้นที่ภาคใต้และพื้นที่ริมชายฝั่งทะเลทั่วประเทศต่อไป
พลังงานแสงอาทิตย์ทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ หรือเอกชนได้มีการให้ความสนใจในการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งยังให้การสนับสนุนโดยการจัดโครงการดีดีมาอย่างต่อเนื่อง หากท่านสนใจอยากขอรับคำปรึกษาทางด้านประหยัดพลังงาน สามารถขอรับคำปรึกษาได้ฟรี
ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก
https://www.thairath.co.th/content/942643
https://www.egat.co.th
https://www.matichon.co.th/news/559048