ทั่วโลกหันมาลงทุนอุตสาหกรรมโซลาร์ฟาร์ม
สาเหตุจากนักวิจัย “เวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรั่ม” จากรายงานว่าหลายประเทศมีเป้าหมายที่จะเป็นผู้ผลิตพร้อมทั้งส่งออกพลังงานทดแทนรายใหญ่ของโลก ประเทศซาอุดีอาระเบีย มีแผนจะลดการพึ่งพารายได้จากน้ำมันจึงโปรเจคเริ่มดำเนินการภายในปีนี้ 2019 และเสร็จสิ้นในปี 2030 เกี่ยวกับโซล่าร์ฟาร์มที่ใหญ่ที่สุดในโลกคาดว่าจะสูงถึง 200,000 เมกะวัตต์
ประเทศอินเดียมีโครงการเกี่ยวพลังงานแสงอาทิตย์ในหลายรัฐแต่เป็นเพียงโครงขนาดเล็ก แต่จะมีโครงการเปิดตัวโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ รัฐกรณาฏกะ ซึ่งล้มรัฐทมิฬนาฑู คาดว่ากำลังการผลิต 6,000 เมกะวัตต์
เพื่อนบ้านเรา มาเลเซียรัฐบาลเปิดประมูลภายใน ม.ค.โครงการโซลาร์ฟาร์มคาดว่าจะผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 958 เมกะวัตต์ ด้วยสภาวะโลกที่ร้อนเพิ่มขึ้นเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้ทั่วโลกหันมาทำโซลาร์ฟาร์ม เพราะบางประเทศที่ไม่สามารถทำได้แต่ด้วยระดับแสงอาทิตย์ที่เพิ่มสูงขึ้น เพียงพอต่อการทำโซลาร์ฟาร์ม ประเทศไทยมีแนวโน้มการเติมโตในด้านพลังงานทดแทนสูงขึ้นในปี 2018 ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เป็นสิ่งที่ใช้แล้วไม่หมดเราคอยติดตามจะมีโรงไฟฟ้า หรือ โซลาร์ฟาร์มเปิดตัวที่ไหนบ้างของประเทศไทย
และตลอดปี 2018 เกิดปรากฏการณ์คลื่นความร้อนบ่อยครั้ง ซึ่งมักจะมาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศจากปัญหา “ภาวะโลกร้อนขึ้น” นักวิจัยของ “เวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรั่ม” (WEF) ระบุว่า เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้ทั่วโลกหันหน้าสู่การลงทุนในอุตสาหกรรม “โซลาร์ฟาร์ม” อย่างจริงจังในปี 2019
มีรายงานระบุว่า ในหลาย ๆประเทศได้ให้ความสำคัญกับพลังงานทดแทนมากขึ้น โดยเฉพาะ “โซลาร์ฟาร์ม” ซึ่งถูกบรรจุอยู่ในวาระการพัฒนาระยะยาว ขณะที่บางประเทศตั้งเป้าเป็นผู้ผลิตและส่งออกเบอร์ใหญ่ของโลกอย่าง “ซาอุดีอาระเบีย” ที่เตรียมพัฒนา อภิโปรเจ็กต์โซลาร์ฟาร์มขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งจะเริ่มดำเนินการภายในปี 2019 และเสร็จสิ้นในปี 2030 คาดว่าจะมีกำลังการผลิตสูงสุดอยู่ที่ 200,000 เมกะวัตต์ มากกว่าดีมานด์ในประเทศถึง 3 เท่า แผนการนี้เป็นความพยายามที่จะลดการพึ่งพารายได้จากน้ำมัน และใช้ประโยชน์จากการเป็นประเทศที่รับพลังงานแสงอาทิตย์อย่างเต็มที่ประเทศที่หนึ่งในโลก
ขณะที่อีกหลายประเทศในเขตร้อน เช่น “อินเดีย” แม้ว่าจะนำร่องการผลิตไปแล้วในหลายรัฐเมื่อปี 2017 แต่ก็เป็นเพียงโครงการขนาดเล็ก โดยรัฐบาลเตรียมจะเปิดโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แห่งใหม่ขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ ครอบคลุมพื้นที่ 2,500 เอเคอร์ คาดว่าจะผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 648 เมกะวัตต์
สำหรับ “มาเลเซีย” น้องใหม่ในวงการโซลาร์เซลล์ที่รัฐบาลเตรียมจะเปิดประมูลโครงการโซลาร์ฟาร์ม 500 เมกะวัตต์ ภายในเดือนม.ค.นี้ และจะเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 958 เมกะวัตต์ในปี 2020 ภายใต้กรอบการใช้พลังงานทดแทนให้เป็น 20% ภายในปี 2020
Advertisement
ส่วนรัฐบาลของ “แอฟริกาใต้” และ “เบอร์มิวดา” ดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร ที่จะเริ่มผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์ฟาร์มภายในปีนี้เช่นกัน
นายฟินเลย์ คอลวิลเล ผู้เชี่ยวชาญด้านโซลาร์อินเทลลิเจนซ์ กล่าวด้วยว่า สภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นทั่วโลกมีนัยสำคัญ ก่อนหน้านี้ในบางประเทศไม่สามารถทำโซลาร์ฟาร์มได้ แต่ปัจจุบันระดับแสงอาทิตย์สูงขึ้นและเพียงพอที่จะลงทุนในธุรกิจนี้ ตัวอย่างที่เห็นชัด ๆ ก็คือ เวลลิงตัน เมืองหลวงของนิวซีแลนด์ที่มีเป้าหมายลงทุนโซลาร์ฟาร์ม กำลังการผลิตที่ 180 เมกะวัตต์ ขณะที่ อังกฤษ ประกาศโครงการนำร่องแล้วเพื่อต้องการทดแทนโรงไฟฟ้าถ่านหินและโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่จะทยอยปิดตัวในปีหน้า โดยตั้งเป้าใช้พลังงานทดแทนเป็น 15% ภายในปี 2020 จากปัจจุบัน 8% เท่านั้น
เครดิต http://https://www.prachachat.net/world-news/news-273058?fbclid=IwAR22rL5AkBWZLtGpvFgrU5rrc2B0nwAdgFOyW3rUu9Zk6CnYPOddskIXN_4และ https://www.prachachat.net/world-news/news-273058