26 กันยายน 2022by admin
ประเทศเยอรมันค่าไฟติดลบ
ในประเทศที่พัฒนาแล้วต่างก็เคยประสบปัญหาในการผลิตไฟฟ้าได้มากเกินกว่าความต้องการของผู้บริโภค จนจะต้องมีการว่าจ้างผู้ใช้ไฟฟ้า เพื่อให้มาช่วยกันใช้ไฟฟ้าที่ผลิตเกินออกมา และประเทศที่ประสบปัญหานี้บ่อยที่สุด ก็คือประเทศเยอรมัน เนื่องจากภายในประเทศเยอรมันนั้นมีการสงเสริมการลงทุนในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนกันอย่างเต็มที่
โดยลักษณะสำคัญของแหล่งพลังงานหมุนเวียนคือกำลังการผลิตไม่ได้ขึ้นอยู่กับความต้องการใช้ไฟฟ้า แต่จะอ้างอิงจากสภาพดินฟ้าอากาศซึ่งเป็นตัวแปรที่ควบคุมไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นจาก แสงแดด หรือจากลม เป็นต้น ในบางวันที่สภาพอากาศเอื้อเฝื้อต่อการผลิตไฟฟ้ามาก ก็อาจจะทำให้เกิดการผลิตไฟฟ้าออกมามากเกินความต้องการ ดังนั้นทางผู้ผลิตจึงจำเป็นที่จะต้องจ่ายเงินให้กับผู้บริโภคให้มาใช้ไฟฟ้าเพื่อที่จะได้นำพลังงานส่วนเกินเหล่านี้ออกจากระบบจ่ายไฟ
ในประเทศเยอรมนี เหตุการณ์ค่าไฟติดลบนั้นเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2550 ส่วนในปีที่ผ่านมา เยอรมนีเผชิญกับค่าไฟฟ้าติดลบกว่า 100 ครั้ง บางครั้งยาวนานถึง 32 ชั่วโมง โดยมีราคาต่ำที่สุดถึง -83.06 ยูโรต่อเมกะวัตต์ นั่นหมายความว่า หากใครซื้อไฟฟ้าในช่วงเวลาดังกล่าวจะได้เงินไป 83.06 ยูโรต่อไฟฟ้า 1 เมกะวัตต์นั่นเอง
หลายๆคนอาจเกิดความสงสัยขึ้นว่าหากต้องเสียเงินมากมายขนาดนี้ให้กับผู้บริโภค ทำไมจึงไม่หยุดทำการผลิตไฟฟ้าไปชั่วคราว ? นั่นก็เพราะว่าต้นทุนในการหยุดเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าแล้วกลับมาผลิตใหม่นั้นสูงกว่ามาก และยังต้องใช้เวลาเตรียมการในการหยุดและกลับมาเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าใหม่รวมๆกันแล้วจะต้องใช้เวลากว่า 16 ชั่วโมง
ซึ่งก็ได้มีการพยายามคิดหาทางจัดการกับปัญาหานี้ไว้มากมาย เช่น การพัฒนาแบตเตอรี่เพื่อเก็บสะสมพลังงานไฟฟ้าในช่วงที่การผลิตล้นเกินความต้องการ แล้วนำออกมาขายในช่วงที่ไฟฟ้ามีราคาแพง หรือการพลังงานส่วนเกินดังกล่าวมาสูบน้ำขึ้นสู่ที่สูง แล้วปล่อยออกมาปั่นกังหันผลิตไฟฟ้าในภายหลัง
Post Views: 4,596