ฝรั่งเศสเป็นประเทศที่จัดการด้านเศษอาหารได้ยั่งยืนที่สุดในโลก
ปัจจุบัน เรียกได้ว่าปัญหาขยะไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับคนไทยและคนทั่วโลก เนื่องจากมีการรณรงค์จากหน่วยงานต่างๆ มาเป็นระยะเวลานานเพื่อปลูกฝั่งจิตสำนึกการอนุรักษ์การใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าการปฏิบัติจริง ผ่านแนวคิด “3R” (Reduce Reuse Recycle) “ใช้น้อย ใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่” ที่เรียนกันมาตั้งแต่เด็กอย่างไรก็ตามประเทศไทยก็ยังคงมีปริมาณขยะเพิ่มขึ้นในทุกๆ ปี
Zero Waste ขยะเหลือศูนย์ เป็นแนวคิดที่หลายๆ ประเทศกำลังให้ความสนใจ รวมถึงในประเทศไทย ซึ่งหลากหลายบริษัทได้หันมาให้ความสำคัญโดยใส่แนวคิด Zero Waste เข้าไปในแผนกลยุทธ์การขับเคลื่อนธุรกิจ เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน อาทิ เอสซีจี อารียา พรอพเพอร์ตี้ และบีเอ็มดับเบิ้ลยู
ดังนั้น แนวคิด Zero Waste คือการหมุนเวียนทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้ขยะเหลือศูนย์หรือไม่มีขยะนั้นเอง หลักการของ Zero Waste อาจไม่แปลกใหม่มากนัก โดยยังคงยึดหลักการ 3R ข้างต้น แต่จะเพิ่ม 1A เข้ามา กลายเป็น “1A3R” ซึ่งประกอบด้วย Avoid หลีกเลี่ยงใช้สิ่งที่ก่อให้เกิดขยะ Reduce ใช้วัสดุที่ก่อให้เกิดขยะให้น้อยลง Reuse การนำกลับมาใช้ซ้ำ และ Recycle การนำกลับมาใช้ใหม่ ฟังดูเหมือนจะง่าย แต่ทำจริงๆ ไม่ง่ายเลย
และปัจจุบันประเทศเพื่อนบ้านที่ใช้แนวคิด Zero Waste มาจัดการเรื่องขยะในระดับประเทศ และประสบความสำเร็จ กลายเป็นต้นแบบของการกำจัดขยะและการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์ได้อย่างแท้จริง ตัวอย่างเช่น
“สวีเดน” ขยะหมดประเทศจนต้องนำเข้ากว่า 8 แสนตันต่อปี
สวีเดน ริเริ่มโครงการนำขยะกลับมาใช้ใหม่ แซงหน้าประเทศเพื่อนบ้านไปมาก ผ่านความร่วมมือของทั้งรัฐ เอกชน และประชาชน ความมุ่งมั่นตั้งใจของรัฐบาลสวีเดนในการบรรลุเป้าหมาย Zero Waste ภายในปี 2020 มีความชัดเจนในการออกกฎข้อบังคับในเรื่องการกำจัดขยะโดยห้ามเผา และจำกัดการปล่อยสารเคมีที่เป็นอันตราย การนำกลับมาใช้ใหม่แทนการฝั่งกลบเป็นต้น
“คามิคัทสึ” ต้นแบบเมืองบ้านปลอดขยะ Zero Waste
ประเทศญี่ปุ่น ถือเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงในเรื่องของความสะอาด แต่ญี่ปุ่นในอดีตเมื่อปี 1964 เคยเป็นเมืองที่ไร้ระเบียบมาก่อน ท้องฟ้าถูกปกคลุมด้วยควันสีดำจากโรงงาน และพื้นถนนที่เต็มไปด้วยขยะ ก่อนการแข่งขันโอลิมปิกเพียง 1 เดือน ได้มีแคมเปญแจกจ่ายถังขยะไปทั่วเมืองและนั่นคือจุดเปลี่ยนที่ทำให้ญี่ปุ่นกลายเป็นเมืองที่น่าอยู่ในปัจจุบัน
ปัญหาเรื่องเศษอาหารเป็นปัญหาที่ประสบกันทั่วโลก แต่ประเทศฝรั่งเศสจัดการทุกอย่างได้ดีโดยออกมาตราฐานเชิงรุกในการจัดการเกี่ยวกับเศษอาหารเพื่อส่งเสริมให้สุขภาพชีวิตที่ดี โดยนำการเกษตรเชิงนิเวศมาใช้คือ ปกป้อง ดิน น้ำ และสภาพอากาศ และส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ ไม่ปนเปื้อนสิ่งแวดล้อมด้วยสารเคมีหรือการดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อสร้างความสมดุลให้กับธรรมชาติและประชาชน
ฝรั่งเศสจึงมีการออกกฎหมายในปี 2016 ให้นำอาหารที่เหลือจากซูเปอร์มาเก็ตไปแจกจ่ายให้กับผู้อื่น หรือ ในองค์กรการกุศล และเป็นข้อเสนอในการต่อต้านเศษอาหารที่ตีพิมพ์ออกมาในปี 2015 ทุกปีฝรั่งเศสจะมีการสูญเสียอาหาร ประมาณ 67.2 กิโลกรัมต่อคน เปรียบเทียบกับ สหรัฐอเมริกา 95.1 กิโลกรัมต่อคน เบลเยี่ยม 87.1 กิโลกกรัม และในแคนาดา 78.2 กิโลกรัม ซึ่งดูจากยอดเฉลี่ยประเทศฝรั่งเศสก็มีการสูญเสียอาหารน้อยที่สุด
ฝรั่งเศสเชื่อว่าในปี 2025เกษตกรชาวฝรั่งเศสส่วนใหญ่จะร่วมกันเพื่อผลักดันแนวคิดและการปฏิบัติ ในการปลูกพีชหมุนเวียนเพิ่มมากขึ้นเพื่อปรับความสมบูรณ์ของดินลดการพึ่งพาปุ๋ยเคมีได้ในอนาคต การอยู่แนวหน้านั้นไม่ได้มาสภาพแวดล้อมและสังคม แต่ได้คะแนนมากจากการทำการเกษตรที่ดีต่อสุขภาพและยั่งยืนอีกด้วย
CR:https://www.weforum.org/agenda/2018/11/france-is-most-food-sustainable-country-u-s-and-u-k-faltering?fbclid=IwAR0-wtDfSfbQMa51bxE4xTxsH9lj2fynxhjyI8edywIrnL4xWtO9POHuQ44