อินเดียมีกำลังการผลิตแผงโซลาร์เซลล์ที่ถูกที่สุดในโลก
สำนักงานพลังงานทดแทนระหว่างประเทศ (IRENA) ได้สำรวจว่า ไฟฟ้าทั่วโลกมีราคาที่ลดลง และ ในขณะนี้อินเดียได้มีการผลิตไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์ที่ถูกที่สุดในโลก
เมื่อเทียบเป็นรายปี ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งโซลาร์เซลล์ขนาดใหญ่ในอินเดียลดลง 27% ในปี 2018 เนื่องจากมีการนำเข้าแผงโซลาร์เซลล์ราคาถูกจากประเทศจีนซึ่งเป็นประเทศที่มีที่ดินที่อุดมสมบูรณ์ และแรงงานราคาถูก
การสำรวจพบว่าว่าค่าใช้จ่ายเฉลี่ยจากการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ในอินเดีย มีราคาที่น้อยกว่าหนึ่งในสามของแคนาดาซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงที่สุด
ในการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์มีค่าใช้จ่ายมากกว่าครึ่งที่เกี่ยวข้องกับฮาร์ดแวร์ เช่น การติดตั้ง และค่าใช้จ่ายในส่วนที่เหลือเกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายเล็ก ๆ น้อยๆ เช่น การออกแบบระบบ และ การจัดหาเงินทุน
ในระหว่างปี 2010 ถึงปี 2018 ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ในอินเดียลดลง 80% ซึ่งเป็นการลดลงที่สูงที่สุดของโลก โดยมีการจัดตั้งโครงการผลิตแผงโซลาร์เซลล์จากพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ที่ค่าใช้จ่ายด้านบริการและค่าแรงที่ต่ำลง ทำให้การลงทุนลดลงอย่างมาก
เมื่อราคาแผงโซลาร์เซลล์ที่ลดลง ทำให้ความต้องการสูงขึ้น และขยายตัวทั่วโลกถึง 55% ของกำลังการผลิตไฟฟ้าที่ก่อให้เกิดพลังงานทดแทนใหม่ เมื่อปีที่แล้ว กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น 94 กิกะวัตต์ ส่วนใหญ่มาจากระบบออนไลน์จากประเทศในแถบเอเชีย
ประเทศจีนรับผิดชอบในการผลิตแผงโซลาร์เซลล์ 44 กิกะวัตต์ ซึ่งคิดเป็นเกือบ 5 เท่าของอินเดีย ตามมาติด ๆ และตลาดอื่น ๆ ที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และเยอรมนี
นอกจากการเพิ่มขึ้นของโซลาร์เซลล์แล้ว แหล่งพลังงานสะอาดอื่น ๆ เช่น ฟาร์มลม และไฟฟ้าพลังน้ำก็กำลังเติบโตเช่นกัน การผลิตพลังงานทดแทนในขณะนี้ คิดเป็นหนึ่งในสามของกำลังการผลิตไฟฟ้าทั่วโลก
Adnan Amin อดีตผู้อำนวยการของ IRENA กล่าวว่า ด้วยธุรกิจพลังงานหมุนเวียนที่น่าสนใจ ได้พัฒนาเป็นเทคโนโลยีทางเลือกสำหรับกำลังการผลิตพลังงานใหม่
“ การเติบโตที่แข็งแกร่งในปี 2018 ยังคงเป็นแนวโน้มที่โดดเด่นในช่วงห้าปีที่ผ่านมา ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องของพลังงานทดแทนในฐานะที่เป็นตัวขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงพลังงานของโลก”
เมื่อตลาดได้เปลี่ยนไปใช้แหล่งพลังงานสะอาดมากกว่าพลังงานหมุนเวียน ทำให้เชื้อเพลิงฟอสซิล และพลังงานนิวเคลียร์ได้ลดลงอย่างต่อเนื่องทั่วทั้งยุโรปอเมริกาเหนือ และโอเชียเนีย แต่ประเทศในเอเชียและตะวันออกกลางยังคงพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างมาก ซึ่งมาจากการผลิตน้ำมันและก๊าซที่เพิ่มขึ้น
รายงานของ IRENA พบว่า ต้นทุนด้านเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนที่ลดลงเป็นสิ่งสำคัญต่อการลดพลังงานในอนาคต โดยการผลิตฟาร์มโซลาร์และพลังงานลม ที่ถูกกว่าการบริหารโรงไฟฟ้าถ่านหิน
พลังงานลมและพลังงานจากโซลาร์เซลล์ได้มีราคาที่ถูกกว่าถ่านหินและน้ำมันอย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้สร้างแรงจูงใจกับประเทศที่พึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลเพื่อเปลี่ยนเป็นแหล่งพลังงานที่ยั่งยืนมากขึ้น
และหนึ่งในความสำเร็จของอินเดียที่พยายามผลักดันการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ นั้นก็คือ “สนามบินโกชิน” ที่เมืองโคชิ ทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย ที่กลายมาเป็นสนามบินแห่งแรกของโลก
ที่เปลี่ยนมาใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์อย่างสมบูรณ์ทั้งระบบ เมื่อปี 2015 โดยเป็นการติดตั้งแผงพลังงานโซลาร์เซลล์ขนาด 12 เมกะวัตต์ ประมาณ 46,150 แผ่น ลงบนพื้นที่กว่า 114 ไร่
โดยสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากถึง 50,000-60,000 ยูนิตต่อวัน เพียงพอต่อความต้องการใช้ในแต่ละวัน
CR : https://www.weforum.org/agenda/2019/06/india-is-now-producing-the-world-s-cheapest-solar-power/