บิลค่าไฟฟ้ารายเดือน 1 ใบ บอกอะไรเราบ้าง?
เคยสงสัยกันไหมว่า ข้อมูลบนบิลค่าไฟที่การไฟฟ้าฯ ส่งมาแจ้งเราทุกเดือนนั้นมีความอะไรบ้าง เพราะหน้าตาที่เราเห็นจะเป็นตารางพร้อมกันชี้แจ้งตัวเลขต่าง ๆ ซึ่งหลายคนอาจยังไม่เคยถึงรู้รายละเอียดดังกล่าว วันนี้ KG SOLAR จะมากางบิลค่าไฟให้ดูกันเลยว่าแต่ละส่วนคืออะไร ค่าไฟคิดยังไง หมายเลขมิเตอร์ไฟฟ้า ดูตรงไหนเพื่อป้องกันปัญหาค่าไฟขึ้นผิดปกติ ติดตามสาระสำคัญเกี่ยวกับบิลค่าไฟได้ในบทความนี้เลย
อัตราค่าไฟฟ้าสำหรับที่อยู่อาศัย คิดยังไง?
อัตราค่าไฟฟ้าสำหรับที่อยู่อาศัย จะใช้วิธีการคิดแบบ อัตราก้าวหน้า หรือยิ่งใช้ไฟฟ้ามาก ก็ยิ่งจ่ายแพงขึ้น โดยเฉพาะช่วงหน้าร้อนค่าไฟก็อาจขึ้นได้ จากเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทที่ต้องใช้ระบบทำความเย็นต้องทำงานหนักขึ้นซึ่งรายละเอียดการคิดค่าไฟตามอัตราก้าวหน้าอ้างอิงจากการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) คือ
- 35 หน่วยแรก เหมารวมทั้งสิ้นเป็นจำนวนเงิน 85.21 บาท
- 115 หน่วยต่อไป หน่วยละ 1.1236 บาท
- 250 หน่วยต่อไป หน่วยละ 2.1329 บาท
- ส่วนที่เกินกว่า 400 หน่วย หน่วยละ 2.4226 บาท
ถ้าบ้านไหนมีเครื่องใช้ไฟฟ้าเยอะ โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องใช้พลังงานสูง เช่น เครื่องปรับอากาศ, เครื่องฟอกอากาศ, เครื่องทำน้ำอุ่น, เครื่องซักผ้า และ เตารีด เมื่อสมาชิกในบ้านกลับมาใช้เวลาอยู่ในบ้านมากยิ่งขึ้นทำให้ค่าไฟแพงยิ่งขึ้นนั่นเอง
อัตราค่าไฟบ้านแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
1. อัตราค่าไฟฟ้าสำหรับบ้านที่ติดตั้งมิเตอร์ไม่เกิน 5 แอมป์
อัตราค่าไฟฟ้าสำหรับบ้านที่อยู่อาศัยที่ติดตั้งมิเตอร์ไม่เกิน 5 แอมป์ และมีการใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน
2. อัตราค่าไฟฟ้าสำหรับบ้านที่ติดตั้งมิเตอร์เกิน 5 แอมป์
อัตราค่าไฟฟ้าสำหรับบ้านที่อยู่อาศัยที่ติดตั้งมิเตอร์เกิน 5 แอมป์ และบ้านที่อยู่อาศัยที่ติดตั้งมิเตอร์ไม่เกิน 5 แอมป์ แต่มีการใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วยขึ้นไปต่อเดือน ติดต่อกัน 3 เดือนขึ้นไป
เราจะรู้ได้ยังไง ว่าบ้านเราใช้ไฟแบบไหน?
เราสามารถตรวจสอบประเภทอัตราไฟฟ้าได้ในส่วนของข้อมูลผู้ใช้ จากตัวเลข 3 หลักแรกในช่องประเภท (Type) เช่น
- 1115 คือ บ้านอยู่อาศัย ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน
- 1125 คือ ผู้ใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วยต่อเดือน
ไม่เพียงเท่านี้ บิลค่าไฟไม่ได้บอกแค่ค่าไฟที่ต้องชำระในแต่ละเดือนเท่านั้น แต่ยังมีรายละเอียดอื่นๆ บอกไว้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น
- ข้อมูลส่วนตัว
- ข้อมูลการไฟฟ้า
- ประวัติการใช้ไฟฟ้าย้อนหลัง
ไฟฟ้าประเภท 1125 เท่ากับกี่แอมป์
ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภท 1125 หรือผู้ที่ใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วยต่อเดือนจะเท่ากับ 15 แอมป์ โดยผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทนี้ การไฟฟ้าฯ จะแนะนำให้เปลี่ยนขนาดมิเตอร์จาก 5 แอมป์ เป็น 15 แอมป์เพื่อรองรับปริมาณการใช้ไฟได้อย่างเหมาะสม ส่วนผู้ใช้ไฟฟ้าประเภท 1114 และ 1115 ถือว่าไม่เกิน 150 หน่วย สามารถใช้มิเตอร์ขนาด 5 แอมป์ได้ตามปกติ
บิลค่าไฟฟ้ารายเดือนบอกอะไรเราบ้าง
เรามาดูกันว่ามีอะไรน่าสนใจบนบิลค่าไฟฟ้า 1 ใบ ที่เราได้รับในทุกๆเดือน บิลแสดงค่าไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) หรือ MEA แบ่งได้เป็น 4 ส่วน ก็คือ
1. ข้อมูลทั่วไป
ส่วนนี้จะเป็นข้อมูลของผู้ใช้ไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็น ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ รวมทั้งหมายเลขของผู้ใช้ไฟฟ้า วัน และเวลาอ่านหน่วยค่าไฟฟ้าประจำเดือน
หมายเลขมิเตอร์ไฟฟ้าดูตรงไหน
หมายเลขมิเตอร์ไฟฟ้าบนบิลค่าไฟจะอยู่ตรงจุดที่ระบุว่า รหัสเครื่องวัด (PEA No.) โดยเป็นเลขรหัส 10 หลัก ซึ่งจะต้องเป็นเลขชุดเดียวกับมิเตอร์ที่เสาไฟฟ้าหน้าบ้านของเรานั่นเอง
2. ค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บ
เป็นค่าไฟฟ้าที่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เพื่อให้เกิดความโปร่งใส และเป็นธรรมต่อผู้ใช้ไฟฟ้า ประกอบด้วย
ค่าพลังงานไฟฟ้า
ค่าพลังงานไฟฟ้า คือ ต้นทุน และค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ระบบส่ง และจำหน่ายไฟฟ้า รวมทั้งค่าเชื้อเพลิงการผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. ค่าซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน
ค่า Ft.
ค่า Ft คือ คำนวณจากต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงจากค่าไฟฟ้าฐาน คือค่าเชื้อเพลิงของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.), ค่าซื้อเชื้อเพลิงจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (IPP) รวมทั้งบริษัทลูกของ กฟผ., ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP), การซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศ และค่าใช้จ่ายตามนโยบายรัฐบาลที่คณะกรรมการ นโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) กำหนด (ตัวอย่างนโยบายก็เช่น ค่า Adder, กองทุนพัฒนาไฟฟ้า, การใช้น้ำมันปาล์มดิบมาผสมน้ำมันเตาในการผลิตไฟฟ้า เป็นต้น) ซึ่งตามปกติแล้วค่า Ft นี้จะมีการปรับทุก ๆ 4 เดือน
สำหรับใครที่สงสัยว่าค่า Ft คิดยังไง ให้อ้างอิงจากวิธีคิดของสำนักงานกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) คือ จำนวนพลังงานไฟฟ้า x ค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) = ค่า Ft ที่ต้องจ่ายนั่นเอง
ค่าบริการ
ค่าบริการ คือ ต้นทุนในการอ่าน และจดหน่วย การจัดทำและส่งบิลค่าไฟฟ้า ระบบชำระค่าไฟฟ้า
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% เรียกเก็บตามที่กฎหมายกำหนด
สรุปเกี่ยวกับรายละเอียดบนบิลค่าไฟฟ้ารายเดือน
บิลค่าไฟฟ้าเป็นหลักฐานสำคัญที่สามารถชี้แจงพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าของเราได้เป็นอย่างดี ซึ่งฝั่งผู้ใช้งานอย่างเราก็ควรจะต้องเรียนรู้ข้อมูลต่าง ๆ เอาไว้ เพื่อตรวจสอบและป้องกันปัญหาค่าไฟขึ้นผิดปกติ ทำให้หน่วยงานที่รับผิดชอบสามารถแก้ไขปัญหาที่เรากำลังเผชิญได้อย่างตรงจุด
สำหรับใครที่อยากใช้ไฟฟ้าแบบไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย KG SOLAR ขอนำเสนอวิธีการติดตั้งโซลาร์เซลล์ ซึ่งสามารถแก้ปัญหาค่าไฟแพงในระยะยาว เพราะอายุการใช้งานมากกว่า 25 ปี และสามารถลดค่าไฟฟ้าได้สูงถึงกว่าปีละ 70,000 บาท (ขึ้นอยู่กับขนาดกำลังการใช้งานไฟฟ้าของแต่ละบ้าน) ทำให้ทุกท่านสามารถหมดปัญหาจ่ายค่าไฟแพง ลดค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน ซึ่งระบบโซลาร์ยังสามารถผ่อนจ่ายได้อีกด้วย สนใจติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ โทร. 095-947-9000 หรือแอด Line @kg-solar