ลดความกังวลของคุณและความไม่แน่นอนของระบบ

แนวทางการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน

1. แผงโซล่าเซลล์ – ตรวจสอบสายไฟใต้แผงและทางเดินสายไฟ
2. โครงสร้างสำหรับติดตั้งแผงและหลังคาเดิม – ตรวจเช็คสภาพความมั่นคง แข็งแรงของโครงยึดแผ่นว่ามีการชำรุดหรือมีสนิมหรือไม่
3. Disconnects and String Combiner Boxes – ตรวจเช็คสภาพโดยรวมของกล่อง,สภาพจุดต่อสายและอุปกรณ์ต่างๆ
4. Array wiring (AC and DC) – ตรวจเช็คสภาพโดยรวมของสายไฟ ท่อร้อยสายไฟและกล่องต่อสายไฟ
5. Inverter Unit – ตรวจเช็คสภาพทางกายภาพของตู้ Inverter, สภาพครีบระบายความร้อนของ Inverter
6. Monitoring System – ตรวจเช็คสภาพและการทำงานของอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ

การดูแลบำรุงรักษา

4 ขั้นตอนง่ายๆ ในการดำเนินงาน

หากคุณสนใจในระบบโซลาร์รูฟท็อป หลังคาโซลาร์เซลล์ และการประหยัดพลังงาน หรืออยากทราบ ราคาแผงโซลาร์เซลล์สําหรับบ้าน เพียงคุณติดต่อเรา เราจะดำเนินการตามขั้นตอนทั้งหมดให้คุณเองตั้งแต่ การเข้าสำรวจความเหมาะสม ออกแบบข้อเสนอการลงทุน ติดตั้งระบบ จนถึงการบำรุงรักษา

ติดต่อเรา

รับคำปรึกษาเกี่ยวกับการลงทุนในระบบโซลาร์เซลล์และการประหยัดพลังงานจากทีมงานมืออาชีพ

ออกแบบข้อเสนอ

ออกแบบข้อเสนอการลงทุนในการประหยัดพลังงาน ด้วยมาตรฐาน ISO 50001

สำรวจจนถึงเริ่มใช้ระบบ

ดำเนินการแบบครบวงจรโดยทีมงานมืออาชีพ ภายใต้มาตรฐาน ISO 9001 ที่ทั่วโลกยอมรับ

ดูแลและบำรุงรักษาระบบ

ดูแลรักษาระบบเชิงป้องกัน เพื่อให้ระบบของคุณมีประสิทธิภาพสูงสุดตลอดอายุการใช้งาน

ผลงานระบบโซลาร์เซลล์

บ้านพักอาศัย

ข่าวสารและบทความ

อัปเดตเกี่ยวกับโซลาร์เซลล์

รู้จัก Rapid Shutdown ก่อนติดตั้งโซล่าเซลล์

สำหรับการติดตั้งโซล่าเซลล์นั้น โดยทั่วไปสิ่งที่คนจะคำนึ...

จุดเริ่มต้นโซล่าเซลล์จากผู้บริหาร KG SOLAR

มีแรงบันดาลใจอะไรถึงมาทำธุรกิจ KG SOLAR ตอนนั้น สักประม...

เปิด shop ให้บริการติดตั้งโซล่าเซลล์ เชียงใหม่

จังหวัดเชียงใหม่ถือ ได้ว่าเป็นเมืองที่น่าท่องเที่ยวและส...

คำถามที่พบบ่อย KG solar

แนวทางการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน

1.ระบบโซล่าเซลล์ทำงานอย่างไร?

อุปกรณ์ในระบบโซลาร์เซลล์ทั้งหมดสามารถอยู่นอกบ้านได้โดยอุปกรณ์มีดังต่อไปนี้ แผงโซลาร์เซลล์

(1) จะถูกติดตั้งอยู่บนชุดรางซัพพอร์ตที่ได้ยึดไว้บนหลังคาบ้าน

(2 ) เเผงนี้จะเปลี่ยนพลังงานเเสงอาทิตย์ ให้เป็นไฟฟ้า กระเเสตรงซึ่งจะถูกดัดเเปลงไปเป็นไฟฟ้ากระเเสสลับผ่านเครื่องอินเวอร์เตอร์

(3) ในกระบวนการนี้อุปกรณ์ป้องกัน

(4) ที่ติดตั้งอยู่ข้างๆ อินเวอร์เตอร์จะช่วยป้องกันทั้งระบบให้ปลอดภัย เเละไฟฟ้ากระเเส สลับที่ผลิตได้จะถูกส่ง

(i) เข้าไปในวงจรไฟฟ้าของบ้านหากติดตั้งโซลาร์เซลล์เพื่อประหยัดการใช้ไฟฟ้า

(ii) ออกไปยังสายส่งการไฟฟ้าฯ ผ่านมิเตอร์ ไฟฟ้าใหม่ หากติดตั้งโซลาร์เซลล์เพื่อขายไฟให้กับการไฟฟ้า

2.การติดตั้งจะทำให้หลังคาพังหรือเปล่า?

การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์และระบบโซลาร์เซลล์ไม่ใช่เรื่องยาก

i. สำหรับเมทัลชีทเเละกระเบื้องลอนคู่ การติดตั้งหลักๆมีเพียงเเค่การเปลี่ยนน็อตยึดหลังคาเดิมด้วย น็อตตัวใหม่ที่เเข็งเเรงเเละทนกว่า เเละขายึดรางของเราที่มีเเผ่นยาง กันรั่วอยู่ด้วย

ii. หากเป็นกระเบื้องซีเเพคโมเนียเราก็เพียงเเค่เปิดกระเบื้องตรงส่วนที่มีคานหลังคา เพื่อให้ตัวขาเราสามารถสอดเข้าไปยึดได้เมื่อเสร็จสิ้นก็วางกระเบื้องกลับที่เดิม

3.บ้านพักอาศัยจะติดตั้งได้กี่เเผง? เเละหลังคาจะถล่มได้หรือไม่?

ขนาดของแผงโซลาร์เซลล์อยู่ที่ประมาณ 1.65 ตรม.ต่อแผงเเละหนักเพียงเเค่ 1.8 กก./ตรม. รวมอุปกรณ์ยึดหลังคาเเล้วยังหนักไม่ถึง 12 กก./ตรม. ฉะนั้นหากคนยืนบนหลังคาได้ก็มั่นใจได้ว่าสามารถติดเเผงโซล่าเซลล์ได้ ทั้งนี้การติดตั้งระบบบโซลาร์เซลล์จะต้องได้รับการรับรองโครงสร้างจากวิศวกรโยธาระดับภาคีขึ้นไปก่อนติดตั้ง จึงสามารถมั่นใจได้ว่าการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์นั้นปลอดภัยสำหรับคุณอย่างแน่นอน

4.ติดตั้งโซล่าเซลล์แล้วจะประหยัดค่าไฟฟ้าได้เท่าไหร่ คืนทุนกี่ปี?

การติดตั้งระบบโซลาร์เพื่อใช้ไฟฟ้าเองสามารถคุ้มทุนได้ประมาณ 8 -10 ปี ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้ไฟสามารถขอรับคำปรึกษาเพิ่มเติม คลิก

6.จะเกิดอะไรขึ้นหากระบบโซลาร์เซลล์เกิดความเสียหายจากภัยธรรมชาติ?

หากคุณเป็นเจ้าของระบบเราแนะนำให้คุณซื้อประกันภัยสำหรับระบบโซลาร์เซลล์ของคุณ หากคุณเป็นลูกค้าเช่าหลังคาเรามีประกันคุ้มครอง 100% หากระบบโซล่าเกิดความเสียหายจากภัยธรรมชาติ เช่น ไฟไหม้ ลูกเห็บตก พายุพัดปลิว หรือ หากโดนโจรกรรม

 

7.หลังคาชนิดไหนก็ติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ได้?

สามารถติดตั้งระบบได้บนหลังคาทุกชนิด