สรุปวิธีคำนวณค่าไฟบ้านพักอาศัย พร้อมตัวอย่างแบบเข้าใจง่าย
หลายท่านคงสงสัยว่าค่าไฟแต่ละเดือนที่จ่ายนั้นถูกแพง หรือมีวิธีการคิดอย่างไร ถูกต้องตามจริงหรือไม่? เราลองมาดูตัวอย่างในการคำนวณค่าไฟบ้านพักอาศัยกันดูนะครับ ซึ่งในบทความนี้ KG SOLAR จะมาอธิบายให้ทุกคนเข้าใจกันว่า ต้องคำนวณอย่างไร มีปัจจัยอะไรบ้างที่เป็นตัวแปรสำคัญต่อการคำนวณค่าไฟฟ้า พร้อมแนะนำตัวอย่างการคำนวณที่ทุกคนสามารถนำไปเป็นแบบอย่างได้ ติดตามสาระสำคัญกันได้ในบทความนี้
ตัวแปรสำคัญที่ใช้คำนวณค่าไฟฟ้า
การคำนวณค่าไฟฟ้าในแต่ละเดือนนั้น จะประกอบไปด้วย 4 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่ จำนวนหน่วยไฟฟ้า, ค่าพลังงานไฟฟ้าฐาน, ค่าไฟฟ้าผันแปร (FT) และภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งแต่ละส่วนมีรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้
จำนวนหน่วยไฟฟ้า
จำนวนหน่วยไฟฟ้า หรือปริมาณการใช้ไฟฟ้าในแต่ละเดือน ถือเป็นปัจจัยหลักในการคำนวณค่าไฟ โดยจะถูกวัดผ่านมิเตอร์ไฟฟ้าที่ติดตั้งไว้ตามอาคารบ้านเรือน หรือสถานประกอบการต่าง ๆ มิเตอร์จะแสดงตัวเลขจำนวนหน่วยของการใช้ไฟฟ้าสะสม ซึ่งเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าจะเป็นผู้จดบันทึกตัวเลขดังกล่าวเพื่อนำไปคำนวณค่าไฟฟ้าในรอบถัดไป
การนับจำนวนหน่วยการใช้ไฟแต่ละรอบการคิดค่าไฟฟ้า จะนำเลขที่อ่านได้จากมิเตอร์ปัจจุบันมาลบออกด้วยเลขครั้งที่แล้ว ส่วนต่างที่ได้จะเป็นจำนวนหน่วยการใช้ไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจริงในรอบนั้น ๆ โดยค่ามาตรฐานของการใช้ไฟ 1 หน่วย เท่ากับพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ไป 1 กิโลวัตต์-ชั่วโมง (kWh) ซึ่งจำนวนหน่วยที่ใช้ไฟจะเป็นปัจจัยสำคัญในการคำนวณค่าไฟฟ้าถัดไป
ค่าพลังงานไฟฟ้าฐาน
ค่าพลังงานไฟฟ้าฐาน หรือที่เรียกว่า “ค่าไฟฐาน” คือ อัตราค่าไฟฟ้าคงที่จากผู้ใช้ไฟฟ้าทุกคนต้องจ่ายให้กับการไฟฟ้า โดยไม่ขึ้นกับปริมาณการใช้ไฟฟ้าในแต่ละเดือน อัตราค่าไฟฐานจะแตกต่างกันไปตามประเภทของผู้ใช้ไฟ เช่น บ้านอยู่อาศัย, กิจการขนาดเล็ก, กิจการขนาดกลาง เป็นต้น ซึ่งอัตราค่าไฟฐานจะถูกกำหนดโดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) โดยคำนวณค่าไฟฐานจากต้นทุนในการผลิตและจัดส่งกระแสไฟฟ้า สามารถดูรายละเอียดอัตราค่าไฟฐานได้ที่นี่
ค่าไฟฟ้าผันแปร หรือค่า FT
ค่าไฟฟ้าผันแปร หรือที่เรียกว่า “ค่า Ft.” (Fuel Adjustment Charge) คือ ส่วนหนึ่งของค่าไฟฟ้าที่คิดตามการลอยค่าต้นทุนของเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าในแต่ละเดือน เนื่องจากต้นทุนเชื้อเพลิงมีความผันผวนขึ้นลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นค่า Ft. จึงมีการปรับเปลี่ยนในทุก ๆ 4 เดือน ตามประกาศของสำนักงานคณะกรรมกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เพื่อให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง
การคำนวณค่าไฟในส่วนของค่า Ft. จะขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้ไฟฟ้าคูณกับอัตราค่า Ft. ต่อหน่วยที่ประกาศใช้ในช่วงเวลานั้น ๆ โดยหากอัตรา Ft. เป็นบวก จะทำให้จำนวนค่าไฟฟ้าที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้น แต่หากเป็นลบก็จะช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้
ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) 7% ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการคำนวณค่าไฟฟ้า ซึ่งจะถูกคิดจากยอดค่าไฟฟ้ารวมสุทธิ ได้แก่ ผลรวมของค่าไฟฟ้าฐาน, ค่าไฟฟ้าตามปริมาณการใช้งานจริง และค่าไฟ FT เข้าด้วยกัน ก่อนที่จะคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 7%
วิธีคิดคำนวณค่าไฟบ้านพักอาศัย
การคิดคำนวณค่าไฟบ้านพักอาศัย สามารถคิดได้ด้วยสูตรมาตรฐานดังนี้
(ค่าไฟฟ้าฐาน + ค่าไฟฟ้าแปรผัน Ft.) x ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% = ค่าไฟฟ้าสุทธิที่ต้องจ่าย
โดยสามารถแบ่งวิธีการคิดตามประเภทย่อยที่การไฟฟ้านครหลวงกำหนด ตามจำนวนหน่วยที่ใช้ต่อเดือน คือ
- ผู้ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน
- ผู้ที่ใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วยต่อเดือน
1. คำนวณค่าไฟบ้านพักอาศัยประเภท 1.1 (ผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน)
สมมุติบ้านพักอาศัยใช้ไฟฟ้า: 120 หน่วยต่อเดือน มีวิธีคิดค่าไฟดังนี้
ส่วนที่ 1: ค่าไฟฐาน | ||
15 หน่วยแรก (หน่วยที่ 1-15) | 15 x 2.3488 = 35.23 บาท | |
10 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 16-25) | 10 x 2.9882 = 29.88 บาท | |
10 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 26-35) | 10 x 3.2405 = 32.41 บาท | |
65 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 36-100) | 65 x 3.6237 = 235.54 บาท | |
20 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 101-150) | 20 x 3.7171 = 74.35 บาท | |
รวมค่าไฟ = 407.41 บาท ค่าบริการ = 8.19 บาท รวมค่าไฟฐาน = 415.60 บาท | ||
ส่วนที่ 2: ค่าไฟผันแปร (Ft) (คำนวณจาก -12.43 สตางค์ ต่อหน่วย) | ||
จำนวนพลังงานไฟฟ้า x ค่า Ft = -14.92 บาท | ||
ส่วนที่ 3: ค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% | ||
(ค่าไฟฟ้าฐาน + ค่าไฟผันแปร) x 7/100 = 28.05 บาท รวมเงินค่าไฟที่ต้องชำระ (ค่าพลังงานไฟฟ้า 120 หน่วย) = 428.73 บาท |
*ในกรณีที่บ้านพักอาศัยที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 50 หน่วยต่อเดือน และติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าขนาดไม่เกิน 5(15) แอมป์ จะได้รับการยกเว้นค่าไฟฟ้าในเดือนนั้นๆ
2. การคำนวณค่าไฟบ้านพักอาศัยประเภท 1.2 (ผู้ใช้ไฟฟ้าเกินกว่า 150 หน่วยต่อเดือน)
สมมุติบ้านพักอาศัยใช้ไฟฟ้า: 650 หน่วยต่อเดือน มีวิธีคิดค่าไฟดังนี้
ส่วนที่ 1: ค่าไฟฐาน | |
150 หน่วยแรก (หน่วยที่ 1-150) | 150 x 3.2484 = 487.26 บาท |
250 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 151-400) | 250 x 4.2218 = 1,055.45 บาท |
250 หน่วยต่อไป (เกินกว่า 400 หน่วยขึ้นไป) | 250 x 4.4217 = 1,105.43 บาท |
รวมค่าไฟ = 2,648.14 บาท ค่าบริการ = 38.22 บาท รวมค่าไฟฐาน = 2686.36 บาท | |
ส่วนที่ 2: ค่าไฟผันแปร (Ft) (คำนวณจาก -12.43 สตางค์ ต่อหน่วย) | |
จำนวนพลังงานไฟฟ้า x ค่า Ft = -80.79 บาท | |
ส่วนที่ 3: ค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% | |
(ค่าไฟฟ้าฐาน + ค่าไฟผันแปร) x 7/100 = 182.39 บาท รวมเงินค่าไฟที่ต้องชำระ (ค่าพลังงานไฟฟ้า 650 หน่วย) = 2,787.95 บาท |
สรุปเกี่ยวกับการคำนวณค่าไฟฟ้าบ้านพักอาศัย
มาถึงตรงนี้ ทุกคนคงพอเข้าใจวิธีการคิดคำนวณค่าไฟในแต่ละเดือนกันพอสมควร ซึ่งสรุปได้ว่าค่าไฟขึ้นอยู่กับจำนวนหน่วยพลังงานที่ใช้ ซึ่งคิดเป็นจำนวนเงินด้วยอัตราก้าวกระโดด ทำให้ยิ่งใช้ไฟหน่วยมากค่าไฟก็จะยิ่งแพงขึ้น สำหรับใครกำลังมองหาโซลูชันที่ช่วยลดค่าไฟฟ้าให้กับบ้านพักอาศัย ลองเปลี่ยนมาใช้หลังคาโซลาร์เซลล์ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ทดแทนดูนะครับ ซึ่งจะสามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายต่อเดือนของท่านได้มากพอสมควร และในปัจจุบันนี้ราคาก็พอเข้าถึงได้ รวมถึงมีการผ่อนจ่าย ช่วยอำนวยความสะดวกให้ทุกคนที่สนใจ สอบถามบริการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ โทร 095-947-9000 หรือแอด Line @kg-solar พร้อมให้คำปรึกษาทุกวันครับ