คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) คืออะไร ทำไมธุรกิจยุคใหม่ต้องให้ความสำคัญ
ในยุคปัจจุบันผู้คนเริ่มตื่นตัวกับภาวะโลกร้อน มากยิ่งขึ้น หลายหน่วยงานทั่วโลกเริ่มมีการรณรงค์และปรับนโยบายให้มีเป้าหมายในการเป็น Carbon Neutrality คือการดูดซับหรือชดเชยคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณเท่ากับการที่ได้ปล่อยออกไปสู่อากาศนั่นเอง
ภายภาคหน้าตลาดโลกคาร์บอนเครดิตมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะสามารถเป็นเกณฑ์ชี้วัดที่หลายประเทศนั้นจับต้องได้ หากธุรกิจของเรามีการปรับตัวได้รวดเร็วเป็น Low Carbon หรือ มีการซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิต ก็จะทำให้ผู้ประกอบการได้รับผลประโยชน์ไม่น้อยเลยทีเดียว
การสร้างคาร์บอนเครดิตหรือ Carbon Credit นั้นมีค่อนข้างหลากหลายประเภท และในยุคปัจจุบันพลังงานหมุนเวียนก็เป็นพลังงานทางเลือกที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์จากการติดตั้งโซลาร์เซลล์ ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดที่ไม่ก่อมลพิษและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังตอบโจทย์ได้ในเรื่องการประหยัดค่าใช้จ่ายที่มาจากไฟฟ้าไม่ว่าจะเป็นภาคครัวเรือนหรือภาคธุรกิจเองก็ตาม และสำคัญยิ่งกว่านั้นคือสามารถสร้างคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) ได้ เป็นสิ่งที่เรากำลังจะพูดถึงในลำดับถัดไปนั่นเอง
คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) คืออะไร?
คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) คือปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่สามารถลดหรือกักเก็บได้จากการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (จำนวนคาร์บอนฟุตพริ้นท์) ในแต่ละปี ซึ่งหากปล่อยคาร์บอนได้น้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ปริมาณคาร์บอนที่เหลืออยู่ก็จะถูกนำมาตีราคาและสามารถนำไปจำหน่ายในรูปแบบของคาร์บอนเครดิตให้กับองค์กรอื่น ๆ ที่มีความต้องการ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดเป็น “ตลาดคาร์บอนเครดิต”
ตลาดคาร์บอนเครดิต (Carbon Market) หรือตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิต
ตลาดคาร์บอนเครดิต หรือ ตลาดซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิต เกิดขึ้นจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกให้คำนิยามว่าเป็นสื่อกลางในการซื้อขาย แลกเปลี่ยน “คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit)” โดยใช้กลไกตลาดเพื่อเป็นแรงจูงใจให้มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดน้อยลงและไม่ก่อมลพิษ
ตลาดคาร์บอนเครดิตออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. ตลาดคาร์บอนเครดิตภาคบังคับ (Mandatory Carbon Market)
ตลาดคาร์บอนเครดิตภาคบังคับ (Mandatory Carbon Market) อุตสาหกรรมระดับประเทศหรือระหว่างประเทศ โดยรัฐบาลเป็นผู้กำหนดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งมีผลผูกพันทางกฎหมาย หากไม่สามารถปฏิบัติตามเป้าหมายที่ตั้งไว้จะถูกลงโทษ ส่วนผู้ที่สามารถปฏิบัติตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ก็จะได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับบัญญัติกฎหมาย
2. ตลาดคาร์บอนเครดิตภาคสมัครใจ (Voluntary Carbon Market)
ตลาดคาร์บอนเครดิตภาคสมัครใจ (Voluntary Carbon Market) สำหรับเอกชนหรือธุรกิจที่ต้องการลดก๊าซเรือนกระจกโดยสมัครใจ ซึ่งจะไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย ในประเทศไทยนั้นจะเป็นตลาดคาร์บอนเครดิตภาคสมัครใจ ซึ่งยังมีการแข่งขันที่ค่อนข้างน้อยจึงถือได้ว่าเป็นโอกาสดีสำหรับภาคธุรกิจที่จะเริ่มการจัดทำคาร์บอนเครดิตกันอย่างจริงจัง แน่นอนว่าหากผู้ประกอบการใดเริ่มจริงจังได้ก่อนก็จะได้รับประโยชน์อย่างมากในเรื่องของการ ซื้อ-ขาย คาร์บอนเครดิตในอนาคต
คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) ได้มาจากไหน
กิจกรรมที่สามารถเพิ่มคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) ได้นั้นมีค่อนข้างหลากหลาย ยกตัวอย่างที่สามารถเห็นภาพได้อย่างชัดเจนเลยคือ การติดตั้งโซลาร์เซลล์เพื่อเป็นการส่งเสริมพลังงานสะอาด, การปลูกป่า, การนำเทคโนโลยีลดการปล่อยคาร์บอนมาใช้งาน เป็นต้น
ความสำคัญของ (Carbon Credit) ในประเทศไทย
ในประเทศไทยเองนั้นให้ความสำคัญต่อคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) เสมอมา โดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 ที่ได้เข้าร่วมให้สัตยาบันในพิธีสารเกียวโต ในสนธิสัญญาการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ถัดมาจึงได้มีการจัดตั้งองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. (TGO) ขึ้นมาใน พ.ศ. 2550 เพื่อส่งเสริมเรื่องคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) ให้มีความสำคัญต่อสังคมไทยมากยิ่งขึ้น และล่าสุดในปี พ.ศ. 2564 ประเทศไทยได้ร่วมการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (COP26) ซึ่งมีเป้าหมายที่จะลดการปล่อยคาร์บอนให้เป็น 0 ภายในปี พ.ศ. 2593 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็น 0 ในปี พ.ศ. 2608
ปัจจุบันสถานการณ์ของประเทศที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากในปี 2023-2024 5 อันดับแรก คือ จีน, สหรัฐอเมริกา, อินเดีย, รัสเซีย และญี่ปุ่น ส่วนไทยล่าสุดอยู่อันดับที่ 16 เป็นจำนวน 440 ล้านตัน จึงทำให้ภาคส่วนต่าง ๆ ของไทย ต่างพยายามที่จะสร้างคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) ดียิ่งขึ้น
คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) จากการติดตั้งโซลาร์เซลล์
อย่างที่เราทราบกันดีว่าการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์นั้นไม่สร้างมลพิษหรือก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้เกิดคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) และนอกจากนี้ก็ยังช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าที่เป็นต้นทุนทางธุรกิจได้อีกด้วย
การติดตั้งโซลาร์เซลล์เพื่อเพิ่มคาร์บอนเครดิตจะถูกจัดอยู่ภายใต้โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction หรือ T-VER) ประเภท Renewable Energy โดยแบ่งขนาดโครงการตั้งแต่ไม่เกิน 5 เมกะวัตต์ และตั้งแต่ 15 เมกะวัตต์ ขึ้นไป
แต่ข้อควรระวังคือ โซลาร์เซลล์นั้นมีอายุการใช้งานค่อนข้างยาวนาน หากมีการเลือกติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่ไม่มีมาตรฐานรองรับก็จะส่งผลให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลังได้ เช่น จากที่เรามีการคาดการณ์ไว้ว่าแผงโซลาร์เซลล์จะสามารถผลิตไฟฟ้าได้ถึง 60% แต่เมื่อใช้งานจริงกลับกลายเป็นว่าผลิตได้เพียงแค่ 20% ทำให้ได้ค่าไฟฟ้าได้ไม่ถึงเป้าตามที่ได้มีการกำหนดไว้
หากจะติดตั้งโซลาร์เซลล์ควรเลือกติดกับบริษัทผู้นำในการให้บริการรับติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่มีมาตรฐานรองรับและบริการหลังการขายคอยติดตามการทำงานของระบบอย่างสม่ำเสมอ
ขั้นตอนการพิจารณาขึ้นทะเบียนเข้าร่วมโครงการ T-VER
มี 6 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้
- ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนโครงการ T-VER (ผู้พัฒนาโครงการ)
- รับคำขอ ตรวจสอบความครบถ้วนและความถูกต้องของคำขอ เอกสารและหลักฐาน (เจ้าหน้าที่ อบก.
- พิจารณากลั่นกรอง และทบทวนความถูกต้อง (คณะอนุกรรมการพิจารณาโครงการและกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก)
- พิจารณาขึ้นทะเบียนโครงการ T-VER (คณะกรรมการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก)
- แจ้งผลพิจารณาขึ้นทะเบียนโครงการ T-VER (เจ้าหน้าที่ อบก.)
- ออกหนังสือรับรอง (Certificate) การขึ้นทะเบียนโครงการ T-VER (เจ้าหน้าที่ อบก.)
ประโยชน์ของการติดตั้งโซลาร์เซลล์เพื่อสร้างคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit)
- ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน
- สร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กรและความน่าเชื่อถือ
- ลดค่าใช้จ่ายส่วนของไฟฟ้าได้อย่างยั่งยืนตั้งแต่เริ่มใช้งาน นานกว่า 25 ปี
- ซื้อขายคาร์บอนเครดิตเพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ
- เป็นการลงทุนที่คุ้มค่า สามารถคืนทุนได้ในเวลาเพียงไม่กี่ปีเท่านั้น
สรุปเกี่ยวกับคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit)
เป็นอย่างไรกันบ้างกับเรื่องราวของคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) ซึ่งหลาย ๆ คนอาจจะได้เห็นกันแล้วว่า มีความสำคัญต่อสังคมไทยและสังคมโลกอย่างไรบ้าง เพราะทุกคนล้วนพยายามหาทางที่จะให้ช่วยให้โลกมีสภาพแวดล้อมที่ดี มีอากาศที่สะอาดบริสุทธิ์ สำหรับใครที่อยากติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์เพื่อเข้าร่วมโครงการ T – VER สามารถปรึกษากับ KG SOLAR ก่อนได้ ซึ่งพวกเรามีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านระบบโซลาร์เซลล์มากกว่า 10 ปี รับชมผลงานการติดตั้งโซลาร์เซลล์ให้กับธุรกิจชั้นนำทั่วประเทศไทย โทร. 095-947-9000 หรือแอดไลน์ @kg-solar