สำรวจขั้นตอนติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ ให้คุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ
ในปัจจุบันการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์แบบรูฟท็อป ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเนื่องจากสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น การใช้งานกับโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ หรือโซล่าเซลล์ใช้ในบ้านพักอาศัย โดยทั่วไปแล้วขั้นตอนหรือวิธีการติดตั้งระบบไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์ จะมีขั้นตอนในการติดตั้งหลักๆอยู่ 3 ขั้นตอนใหญ่ๆ นั่นคือ
ขั้นตอนสำรวจก่อนการติดตั้งโซล่าเซลล์
ก่อนทำการติดตั้งโซล่าเซลล์ทุกครั้งจะมีการสำรวจบริเวณและพื้นที่ในการติดตั้งอย่างละเอียดเพื่อที่จะสามารถออกแบบระบบให้เหมาะสมกับพื้นที่ใช้งาน และเพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นหลังการติดตั้งได้
- สำรวจพื้นที่บนหลังคาเพื่อกำหนดจุดที่จะติดตั้งแผงโซล่าเซลล์
- สำรวจจุดติดตั้งอินเวอร์เตอร์ และตู้ไฟฟ้าของระบบ โซล่าเซลล์ พร้อมวัดขนานพื้นที่เพื่อการติดตั้งที่เหมาะสมมากที่สุด
- สำรวจจุดที่จะเดินท่อร้อยสายไฟ จากแผงโซล่าเซลล์ ไปยังห้องอินเวอร์เตอร์
- ตรวจสอบจุดเชื่อมต่อของระบบโซล่าเซลล์ กับระบบไฟฟ้าหลักของอาคาร
ขั้นตอนการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ (Solar Cell)
- การติดตั้งโครงสร้างที่รองรับแผงโซล่าเซลล์ (Mounting)
- การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ตามแบบที่ทำการออกแบบไว้
- การติดตั้งตู้ไฟฟ้าของระบบโซล่าเซลล์
- การติดตั้งเครื่องอินเวอร์เตอร์
- การติดตั้งท่อร้อยสายไฟและการเดินสายไฟจาก แผงโซล่าเซลล์ไปยังจุดติดตั้งตู้อินเวอร์เตอร์
- การเชื่อมต่อระบบโซล่าเซลล์เข้ากับระบบไฟฟ้าภายในอาคาร
ขั้นตอนการตรวจสอบหลังการติดตั้งโซล่าเซลล์เสร็จแล้ว
- ทดสอบเปิดระบบเพื่อดูความเรียบร้อยของระบบที่ทำการติดตั้งไป
- ตรวจสอบการความเรียบร้อยหลังติดตั้งแผงโซล่าเซลล์
Solar Mounting คืออะไร ?
Solar Mounting คือ กระบวนการที่สำคัญอย่างหนึ่งในการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ เพราะถ้าหากติดตั้งไม่ดี หรือ ไม่มีความเชี่ยวชาญมากพอก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาการรั่วซึ่มของหลังคาในระยะยาวได้ และ การแก้ปัญหาเรื่องเหล่านี้ค่อนข้างยาก และ ใช้เวลาค่อนข้างนาน
ที่สำคัญในการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ คือ อุปกรณ์จับยึดแผงโซล่าเซลล์ หรือ Solar Mounting โดยจะมีหลายรูปแบบตามลักษณะสำคัญของหลังคาที่จะติดตั้ง เช่น เมทัลชีท กระเบื้อง CPAC กระเบื้องแผ่นเรียบ และ กระเบื้องลอนคู่ ซึ่งตัวยึดหลังคาจะแตกต่างกันออกไป โดยวัสดุที่ทำอุปกรณ์จับยึดแผงโซล่าเซลล์ ที่ได้มาตราฐานควรจะใช้ อลูมิเนียม (โดยส่วนมากเป็น Aluminum 6005-T5 ) และ เหล็กชุบกันสนิม ( HDG : Hot dip galvanize ) เป็นส่วนสำคัญ เนื่องจากวัสดุเหล่านี้ไม่เป็นสนิมตลอดอายุการใช้งาน และ น้ำหนักเบาโดยจะไม่เพิ่มน้ำหนักให้กับโครงหลังคาเดิม แต่ยังคงรับน้ำหนักของแผ่นได้ โดยรายละเอียดแล้วอุปกรณ์หลักๆ จะมีดังนี้
ตัวยึดหลังคากับแผงโซล่าเซลล์
ตัวยึดหลังคามีหลายแบบ โดยขึ้นอยู่กับหลังคา เช่น tile roof hook ที่สำหรับยึดหลังคาที่ปูด้วยกระเบื้อง CPAC กระเบื้องแผ่นเรียบ หรือ L-Fleet ซึ่งใช้กับงานหลังคาอลูมิเนียม และ Tin roof champ เป็นอุปกรณ์ที่คล้ายคลิป ไปหนีบกับลอนของหลังคาเมทัล sheet
- Mid-Clamp คือตัวยึดระหว่างแผงโซล่าเซลล์แต่ละแผ่น โดยตัวยึดนี้จะมีความหนาขึ้นอยู่กับความหนาของแผ่น เช่น 35 mm. (Longi) 40mm. (Jinko)
- End-Clamp คือตัวยึดแผงโซล่าเซลล์ที่ทำหน้าที่ปิดหัวและท้ายของแต่ละแถวของแผงโซล่าเซลล์ โดยตัวยึดนี้จะมีความหนาขึ้นอยู่กับความหนาของแผ่น เช่น 35 mm. (Longi) 40mm. (Jinko)
- รางรับแผงโซล่าเซลล์ (Rail) ส่วนมากจะทำด้วยอะลูมิเนียม มีความยาว 2-4 เมตร และเป็นรางสองชั้นสำหรับยึดแผ่ง และ ตัวยึดหลังคา
- Ground Clip เป็นตัวแผ่นโลหะบางสำหรับจิกกับ Rail เพื่อให้โครงแผงโซล่าเซลล์กับ Rail เชื่อมถึงกัน โดยทั่วไปจะวางสอดเข้าไปตอนที่ยึด Mid-Clamp
- Earth Lug เป็นอุปกรณ์สำหรับยึดสายกราวด์ในแต่ละแถว ลงไปยังระบบกราวด์หลัก
- Connector ตัวยึดระหว่างรางเข้าด้วยกัน หากต้องการความยาวมากกว่า 2-4 เมตร
อุปกรณ์ปิดรอยรั่วหลังคา
ในการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์นั้นถือว่าเป็นการ ดัดแปลงหลังคา ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ติดตั้งเกิดความกังวลว่าหลังคาจะรั่วซึมหรือไม่ ซึ่งโดยปกติแล้ว อุปกรณ์จับยึดแผงโซล่าเซลล์ จะออกแบบมาเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว โดยทำระยะ gap ที่ติดตั้งจะเกิดน้อยที่สุดทำให้โอกาสการรั่วนั้นน้อยมาก แต่ก็มีผู้ติดตั้งหลายรายอาจจะเพิ่มความมั่นใจให้ลูกค้าโดยการเพิ่มอุปกรณ์ที่เรียกว่า sealant ซึ่งใช้ในงานซ่อมหลังคาบ้านทั่วไป โดยจะมีหลายประเภท
- สีกันซึม (Roof Seal) ส่วนมากจะทำด้วยอะคริลิก ยืดหยุ่นตัวสูง ยึดเกาะกับวัสดุได้หลากหลาย ผสมสารเคมีพิเศษ ช่วยสะท้อนรังสีความร้อน และ ปกปิดรอยแตกลายงาได้ดี โดยสีกันซึมเหมาะกับการยึดที่มีระยะ gap น้อย หรือมีการแตกร้าวของหลังคาซึ่งจะทำให้กักซึมได้ยาวนาน
- ซิลิโคนซีลแลนต์ (Sealant) เป็นลักษณะหลอด โดยทำจากอะคริลิก หรือ โพลียูรีเทน ยืดหยุ่นตัวสูง ยึดเกาะกับวัสดุได้หลากหลาย มีความต้านทานรังสียูวี UV โดยซิลิโคนซีลแลนท์เหมาะกับการยึดที่มีระยะ gap ที่ค่อนข้างมาก เช่น การปิดระยะ gap ของหลังคากระเบื่อง CPAC หรือ กระเบื้องแผ่นเรียบ
- แผ่นปิดรอยต่อหลังคา ทำด้วยกาวยางสังเคราะห์บิวท์ เป็นนวัตกรรมใหม่ที่ไม่ต้องรอให้แห้ง โดยสามารถใช้ได้ทั้ง gap น้อย และ มาก เพื่อป้องกันการรั่วซึมได้อย่างเด็ดขาด มีการเสริมแกนกลางด้วยตะแกรงอะลูมิเนียมสามารถดัดขึ้นรูปตามลอนหรือร่องได้ง่าย ยึดติดได้แนบแน่นกับผิวสัมผัส ทาสีทับได้ จึงสวยงามกลมกลืนกับผืนหลังคา มีอายุการใช้งานยาวนาน
สรุปเกี่ยวกับวิธีการติดตั้งแผงหลังคาโซล่าเซลล์ (Solar Cell) กับ KG SOLAR
มาถึงตรงนี้คงพอเห็นภาพกันแล้วว่า วิธีการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์มีขั้นตอนและกระบวนต่าง ๆ อย่างไร ซึ่ง KG SOLAR ให้ความสำคัญในทุกกระบวนการ เพื่อมอบประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าจากระบบโซล่าเซลล์อย่างสม่ำเสมอ อีกทั้งยังคำนึงเรื่องความปลอดภัยจากการใช้งาน โดย KG SOLAR ทำงานด้วยมาตรฐาน ISO:9001 ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลที่ทั่วโลกยอมรับในการออกแบบ ติดตั้ง บำรุงรักษา พร้อมดูแลระบบของคุณไปตลอด 25 ปี+ เราให้ความสำคัญในการบริการหลังการขายเป็นอันดับ 1 ผลงานการติดตั้งโซล่าเซลล์กว่า 1,500 โครงการ สอบถามรายละเอียดและแพ็กเกจติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ บ้าน อาคาร และโรงงาน สอบถามเพิ่มได้ทันที