ติดตั้งโซลาร์เซลล์เองทำได้จริงไหม? สิ่งที่ควรรู้ก่อนเริ่มลงมือ
ค่าไฟแพงเป็นปัญหาที่ทุกคนต้องเจอ การติดตั้งโซลาร์เซลล์จึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับคนที่อยากประหยัดค่าใช้จ่าย หากมีความรู้ด้านระบบไฟฟ้าการติดตั้งโซลาร์เซลล์เองก็อาจจะไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็ยังมีรายละเอียดจุกจิกที่ต้องใส่ใจอีกมากมายเพื่อให้ระบบสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ รวมถึงความปลอดภัยและการดูแลระบบหลังการติดตั้งเพื่อให้ใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง
บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักขั้นตอนการติดตั้งโซลาร์เซลล์เองแบบพื้นฐาน พร้อมคำแนะนำจาก KG SOLAR บริษัทติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ครบวงจรด้วยประสบการณ์ที่ยาวนานกว่า 36 ปี และระบบโซลาร์เซลล์ 10 กว่าปี ไม่ว่าคุณจะติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์เองหรือเลือกใช้บริการกับผู้เชี่ยวชาญ คุณก็มั่นใจได้เลยว่าจจะได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่แน่นอน
สิ่งที่ควรรู้ก่อนติดตั้งโซลาร์เซลล์ (Solar Cell) คืออะไร?
โซลาร์เซลล์ (Solar Cell) เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์เพื่อมาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า มีคุณสมบัติเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งพลังงานโซลาร์เซลล์เป็นพลังงานสะอาดและเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่มีวันหมด นอกจากจะเป็นพลังงานสะอาดแล้วก็ยังเป็นตัวช่วยสำคัญในเรื่องการประหยัดค่าใช้จ่ายที่มาจากค่าไฟฟ้าอีกด้วย
โซลาร์เซลล์แบ่งออกเป็น 3 ระบบ
ก่อนที่เราจะติดตั้งโซลาร์เซลล์เอง เราต้องทำความรู้จักก่อนว่าระบบโซลาร์เซลล์ที่เราอยากใช้นั้นมีหลายประเภทด้วยกัน ซึ่งทั้งนี้จะแบ่งระบบตามความเหมาะสมของการใช้งานไฟฟ้าภายในบ้านของเรา โดยจะแบ่งงออกเป็น 3 ระบบได้แก่ แบบ On-Grid, แบบ Off-Grid และแบบ Hybrid
โซลาร์เซลล์ระบบ On Grid
เหมาะกับบ้านที่มีการใช้ไฟฟ้าในช่วงกลางวันเยอะ โดยระบบ On Grid จะทำงานควบคู่ 2 ระบบ คือพลังงานไฟฟ้าที่มาจากการแปลงพลังงานแสงอาทิตย์ในช่วงเวลากลางวันที่มีแดด และเมื่อถึงช่วงเวลากลางคืนก็กลับมาใช้พลังงานไฟฟ้าที่มาจากการไฟฟ้า
ข้อดีของโซลาร์เซลล์ระบบ On Grid คือไม่ต้องสำรองแบตเตอรี่ สามารถผลิตไฟฟ้าจากแสงแดดและนำไปใช้ได้ทันทีผ่านตัวแปลงกระแสไฟฟ้า จึงค่อนข้างตอบโจทย์และเหมาะกับครัวเรือนที่มีการใช้ไฟฟ้าเยอะในช่วงเวลากลางวัน
โซลาร์เซลล์ระบบ Off Gird
เป็นระบบที่ไม่เชื่อมต่อกับการไฟฟ้า ไฟฟ้าที่ผลิตได้ในแต่ละครั้งจากโซลาร์เซลล์จะถูกนำไปเก็บไว้ในแบตเตอรี่และจะสามารถใช้งานได้ก็ต่อเมื่อเราได้เปิดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งปริมาณความจุของแบตเตอรี่ก็จะขึ้นอยู่กับปริมาณไฟฟ้าที่สถานที่แห่งนั้นต้องการไฟฟ้า
โซลาร์เซลล์ระบบ Hybrid
เป็นระบบที่ผสมผสานระหว่าง On Grid และ Off Grid เข้ามาอยู่ด้วยกัน ทำให้สามารถใช้ไฟฟ้าได้จากการไฟฟ้า และไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งระบบนี้จะมีการติดตั้งแบตเตอรี่เพื่อทำการสำรองไฟฟ้าที่ผลิตมาจากแผงโซลาร์เซลล์ในช่วงที่มีแสงแดดเพื่อเอาไว้ใช้ในเวลากลางคืน
ระบบนี้จะต้องติดตั้งแบตเตอรี่ที่มีคุณภาพและมาตรฐานที่น่าเชื่อถือและปลอดภัยต่อการใช้งาน ดังนั้นระบบนี้จึงมีต้นทุนค่อนข้างสูงกว่า 2 ระบบที่กล่าวไปช่วงต้น
ติดตั้งโซลาร์เซลล์ระบบออนกริด (On Grid) เบื้องต้นควรเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?
การติดตั้งโซลาร์เซลล์เองเราจะต้องมีความรูู้และเชี่ยวชาญในด้านระบบไฟฟ้ามากพอสมควร เพราะโซลาร์เซลล์จะต้องทำงานกับแรงดันไฟฟ้าสูง อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินหากปฎิบัติไ่ม่ถูกตามขั้นตอน เราจึงขอยกตัวอย่างการติดตั้งโซลาร์เซลล์ระบบออนกริด เพราะเป็นระบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบันและตอบโจทย์บ้านที่มีการใช้ไฟฟ้าเยอะในช่วงเวลากลางวัน
อุปกรณ์สำคัญของโซลาร์เซลล์ระบบออนกริด (On Gird)
- อินเวอร์เตอร์ (Inverter) ไม่ว่าจะเป็น Micro Inverter หรือแบบ String Inverter ทำหน้าที่แปลงกระแสไฟฟ้าจากแผงโซลาร์ (DC) เป็นไฟที่ใช้ในบ้าน (AC)
- แผงโซลาร์เซลล์ (Solar Panel) แนะนำให้เป็น Tier 1 เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทจำหน่ายแผงโซลาร์จะรับประกันการใช้งานได้อย่างยาวนาน และจำนวนแผงขึ้นอยู่กับ KWp ที่ต้องการติดตั้งและ พื้นที่ของหลังคาบ้าน
- อุปกรณ์จับยึดแผงโซล่าเซลล์ (Solar Mounting) ตำแหน่งวางแผงบนหลังคาจำเป็นต้องมีอุปกรณ์จับยึดแผงโซลาร์ที่มีความแข็งแรง และไม่เป็นอันตรายต่อโครงสร้างของหลังคาบ้าน
- สายไฟฟ้าและระบบเดินสาย (Wiring and Cabling) เชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบเพื่อส่งพลังงานไฟฟ้า
- ทั้งนี้ควรเลือกซื้ออุปกรณ์ที่มีมาตรฐานการผลิตและมีรับประกันการใช้งานเป็นหลัก
วิธีการติดตั้งโซลาร์เซลล์ระบบออนกริด (On Grid)
1. สำรวจพื้นที่และความแข็งแรงของโครงสร้างหลังคาบ้าน
- ก่อนติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์จำเป็นต้องสำรวจพื้นที่ที่จะติดตั้งว่าเพียงพอกับขนาดที่จะติดตั้งหรือไม่
- จุดที่จะติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ได้รับแสงแดดเต็มที่หรือไม่ เพื่อให้แผงสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
- ตรวจสอบความแข็งแรงของโครงสร้างในจุดที่จะติดตั้งว่ามีความแข็งแรงพอที่จะรองรับน้ำหนักได้ไหม
2. ขออนุญาตกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
หากต้องการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์เองแบบออนกริด (On Grid) จะต้องเชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้า จึงจำเป็นต้องขออนุญาตจากการไฟฟ้าในพื้นที่ที่อาศัยอยู่ ได้แก่ การไฟฟ้านครหลวง (MEA) สำหรับกรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรปราการ หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) สำหรับจังหวัดอื่น ๆ ในประเทศ
- ยื่นใบขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์ต่อหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่น
- แจ้งขอยกเว้นการรับใบอนุญาประกอบกิจการไฟฟ้าต่อสำนักงาน กกพ.
- ยื่นเรื่องขออนุญาตเชื่อมขนานกับระบบโครงข่ายไฟฟ้าต่อ กฟน. หรือ กฟพ.
- รับการตรวจสอบระบบโซลาร์เซลล์จากเจ้าหน้าที่การไฟฟ้า
3. ติดตั้งอุปกรณ์จับยึดแผงโซลาร์เซลล์เข้ากับหลังคา
- อุปกรณ์จับยึดแผงโซลาร์เซลล์มีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับชนิดของหลังคาบ้าน เช่น CPAC เมทัชชีต หรือแบบพื้นเรียบเลย ซึ่งควรใช้อุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน จะต้องทำการเปิดหลังคาเพื่อนำขาของ Mounting สอดเข้าไปใต้กระเบื้องและอาจจจะต้องมีการเจียรไนเล็กน้อยเพื่อให้เข้าเหลี่ยม
4. ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์
การติดตั้งโซลาร์เซลล์เองควรมีการวางแผนที่ดี ทั้งนี้ก็เพื่อให้สามารถผลิตพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้งานได้ยาวนาน ซึ่งขั้นตอนมีดังต่อไปนี้
- วิเคราะห์และออกแบบระบบโซลาร์เซลล์ เริ่มจากการประเมินพื้นที่ติดตั้ง ตรวจสอบขนาดพื้นที่บนหลังคาหรือจุดที่จะติดตั้ง
- วิเคราะห์ทิศทางและมุมแสงแดดตลอดทั้งวัน เพื่อให้แผงโซลาร์เซลล์ได้รับแสงแดดมากที่สุด
- คำนวณขนาดระบบโซลาร์เซลล์ว่าภายในบ้านของคุณมีความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้ามากแค่ไหน เพื่อเลือกรูปแบบและจำนวนแผงโซลาร์เซลล์ รวมถึงอินเวอร์เตอร์ (Inverter) ที่เหมาะสมด้วยเช่นกัน
- อุปกรณ์โครงยึดต้องมีความแข็งแรง สามารถรับน้ำหนักของแผงโซลาร์เซลล์และสภาพอากาศได้ดี
- ติดตั้งโครงยึดแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาหรือจุดที่กำหนด โครงยึดมุมมาตรฐานจะอยู่ที่ 10-30 องศา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งเพื่อให้แผงโซลาร์เซลล์สามารถรับแสงอาทิตย์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากที่สุด
- ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ ยึดแผงเข้ากับโครงสร้างที่เตรียมไว้ ใช้สกรูยึดแผงให้หนาแน่นป้องกันการเคลื่อนที่หรือหลุดหล่นจากสภาพอากาศและสาเหตุอื่น ๆ
- ทำการเชื่อมต่อสาย DC ตามแผนการติดตั้ง ต้องเดินสายอย่างถูกต้องและปลอดภัย สายไฟจะถูกนำไปเชื่อมต่อกับอินเวอร์เตอร์เพื่อแปลงพลังงาน
5. ติดตั้งอินเวอร์เตอร์ (Inverter) ทั้งแบบไมโครอินเวอร์เตอร์และสตริงอินเวอร์เตอร์
การติดตั้งไมโครอินเวอร์เตอร์และสตริงอินเวอร์เตอร์มีขั้นตอนที่ต่างกันตามประเภทอินเวอร์เตอร์ที่เลือกใช้
การติดตั้งไมโครอินเวอร์เตอร์ (Micro Inverter)
- ติดตั้งโครงยึดแผงโซล่าเซลล์
- ติดตั้งไมโครอินเวอร์เตอร์ที่แผงโซล่าเซลล์ ติดแต่ละตัวไว้ด้านหลังแต่ละแผง โดยึดเข้ากับโครงที่ติดไว้และต่อสายไฟจากไมโครอินเวอร์เตอร์เข้ากับแผงโซลาร์เซลล์แต่ละแผง
- เดินสายไฟ AC (กระแสสลับ) เชื่อมต่อสายไฟ AC จากไมโครอินเวอร์เตอร์แต่ละตัวเข้าสู่ระบบสายไฟกลางที่จะนำกระแสไฟฟ้ากลับไปยังตู้เบรกเกอร์หรือศูนย์จ่ายไฟฟ้า เดินสายไฟ AC ไปยังตู้ควบคุมหลักเพื่อเชื่อมต่อระบบไฟฟ้าของอาคาร
- ตรวจสอบระบบ การเชื่อมสายไฟของไมโครอินเวอร์เตอร์และแผงโซลาร์เซลล์ว่าถูกต้องหรือไม่ ทดสอบระบบเพื่อให้แน่ใจว่าทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
- ติดตั้งโครงยึดแผงโซล่าเซลล์
- ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนโครงยึดที่เตรียมไว้ และเชื่อมต่อแผงโซลาร์เซลล์แต่ละแผงเป็นสตริง
- เชื่อมต่อสายไฟ DC (กระแสตรง) จากแผงโซลาร์เซลล์ทั้งหมดในสตริงเข้าสู่สตริงอินเวอร์เตอร์
- ติดตั้งสตริงอินเวอร์เตอร์ควรติดตั้งในตำแหน่งที่เหมาะสม เช่น ภายในอาคาร หรือในที่ร่ม เป็นบริเวณที่ระบายอากาศได้ดี และเชื่อมต่อสายไฟ DC จากแผงโซลาร์เซลล์สู่สตริงอินเวอร์เตอร์
การบำรุงและดูแลรักษาระบบโซลาร์เซลล์หลังติดตั้ง
หลังจากที่ติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์เองเสร็จเป็นที่เรียบร้อย การบำรุงรักษาระบบโซลาร์เซลล์ถือเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันที่จะช่วยให้ระบบโซลร์เซลล์ของคุณทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และยืดอายุการใช้งานของแผงโซลาร์เซลล์ให้นานที่สุด
- ทำความสะอาดแผงโซลาร์เซลล์ เพราะอาจมีฝุ่น ใบไม้ สิ่งสกปรกเกาะแผงโซล่าร์เซลล์ ทำให้ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการผลิตพลังงานไฟฟ้า
- หมั่นตรวจสอบสายไฟและการเชื่อมไฟ โดยเฉพาะบริเวณที่มีความเสี่ยงต่อการหลวม เสียหาย เพื่อป้องกันปัญหาลดลดความเสี่ยงต่อชีวิตและทรัพย์สิน
- ตรวจสอบอินเวอร์เตอร์ ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญมาก เพราะทำหน้าที่แปลงพลังงานจากไฟฟ้ากระแสตรงเป็นกระแสสลับ ซึ่งในส่วนนี้สามารถตรวจสอบได้ผ่านทางแอปพลิเคชั่นที่อินเวอร์เตอร์ของแบรนด์นั้น ๆ มี
- ตรวจสอบโครงสร้างว่ายังยึดกับแผงโซลาร์เซลล์ได้ปกติอยู่ไหม เช่น ไม่มีน็อตหลุด ไม่มีสนิม
- ตรวจสอบระบบไฟฟ้าทั้งหมดที่เชื่อมต่อกับแผงโซลาร์เซลล์ ส่วนนี้ต้องให้ช่างที่มีความชำนาญเข้ามาตรวจสอบสภาพสายไฟ เบรกเกอร์ และฟิวส์เป็นระยะ
- ติดตามผลการผลิตพลังงาน เพื่อเช็กความผิดปกติ
- รับบริการ Q&M (Operation & Maintenance) จากผู้เชี่ยวชาญที่ช่วยดูแลระบบอย่างครบวงจร ไม่ว่าจะทำความสะอาดแผงโซลาร์เซลล์ ตรวจสอบระบบไฟฟ้า รวมไปจนถึงการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้
สรุป ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เองได้จริงหรือ?
การติดตั้งโซลาร์เซลล์เองสามารถทำได้ในทางเทคนิค แต่ต้องพิจารณาเรื่องความปลอดภัยประประสิทธิภาพเป็นหลักด้วย ผู้ที่ติดตั้งจะต้องมีความรู้ เชี่ยวชาญ และชำนาญการในอุปกรณ์เครื่องมือติดตั้ง ไม่ใช่ว่าใครก็สามารถทำได้
ทางเลือกที่ดีกว่าคือการใช้บริการจากผู้เชี่ยวชาญเพราะจะช่วยลดความเสี่ยงและความยุ่งยากในการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ โดยคุณจะได้รับบริการที่ปลอดภัยและการรับประกันตลอดการใช้งาน เพื่อให้ระบบโซลาร์เซลล์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
KG SOLAR มีประสบการณ์อย่างยาวนานกว่า 36 ปี มีทีมช่างผู้เชี่ยวชาญในการติดตั้งระบบโซลาร์ ทั้งในโรงงานอุตสหกรรม อาคารธุรกิจ และกลุ่มครัวเรือนบ้านพักอาศัย แน่นอนว่คุณจะได้รับการบริการที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงสุด อีกทั้งยังมาพร้อมการรับประกันที่จะช่วยให้คุณมั่นใจในระบบโซลาร์โดยที่คุณไม่ต้องมานั่งกังวลแม้แต่นิดเดียว