รู้จักกับหลังคาโซลาร์รูฟท็อป (Solar Rooftop) ตัวช่วยประหยัดพลังงาน
ปัญหาด้านพลังงานในปัจจุบันมีหลายปัจจัยที่ทำให้คนทั่วโลกตื่นตัวกันเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นปัญหาราคาพลังงานเชื้อเพลิงสูงขึ้น แหล่งเชื้อเพลิงมีปริมาณลดลง รวมไปถึงการเกิดมลพิษจากการเผาไหม้ด้วยพลังงานประเภทต่างๆ ปัญหาเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยผลักดันให้เกิดแนวคิดในการนำพลังงานสะอาดประเภทต่างๆ มาใช้ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะ “พลังงานแสงอาทิตย์” ที่ได้รับความนิยมในวงกว้างมากขึ้นในรูปแบบของระบบหลังคาโซลาร์เซลล์ (Solar Rooftop) หรือที่นิยมเรียกกันว่า “โซลาร์รูฟท็อป” ที่แพร่หลายทั้งในระดับอุตสาหกรรมไปจนถึงระดับครัวเรือน วันนี้ KG Solar จะมานำเสนอเรื่องราวของระบบหลังคาโซลาร์เซลล์หรือโซลาร์รูฟท็อป ว่าคืออะไรไปจนถึงขั้นตอนการขออนุญาตติดตั้งจากภาครัฐที่คุณไม่ควรพลาด
ระบบหลังคาโซลาร์รูฟท็อป (Solar Rooftop) คืออะไร?
ระบบหลังคาโซลาร์รูฟท็อป (Solar Rooftop) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ “หลังคาโซลาร์เซลล์” คือ ระบบการแปลงพลังงานแสงอาทิตย์ให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง โดยผ่านอุปกรณ์หลักที่เรียกว่าแผงโซลาร์เซลล์ โดยภายในอุปกรณ์จะมีกระบวนการทำงานแบบ Photovoltaic Effect เพื่อส่งไฟฟ้ากระแสตรงที่ได้ไปยังหม้อแปลงไฟฟ้าหรืออินเวอร์เตอร์ (Inverter) เพื่อเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงให้กลายเป็นไฟฟ้ากระแสสลับที่สามารถส่งไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดต่างๆ ภายในพื้นที่ได้ และมีปริมาณกระแสไฟฟ้าไม่แตกต่างจากระบบจ่ายไฟบ้านแบบเดิม
ระบบหลังคาโซลาร์รูฟท็อปมีกี่ประเภท อะไรบ้าง
ระบบโซลาร์รูฟท็อปหรือหลังคาโซลาร์เซลล์ (Solar Rooftop) ที่นิยมใช้กันในปัจจุบันมีทั้งหมด 3 ระบบ ซึ่งจะมีลักษณะการทำงานที่แตกต่างกันออกไปดังนี้
1. ระบบโซลาร์เซลล์ออนกริด (On-Grid System)
โซลาร์เซลล์ออนกริดเป็นระบบที่มีการเชื่อมต่อระหว่างสายส่งไฟฟ้าจากการไฟฟ้า แผงโซลาร์เซลล์ และเชื่อมต่อไปยังหม้อแปลงไฟฟ้ากริดไทอินเวอร์เตอร์ (Grid Tie Inverter) เพื่อแปลงไฟฟ้ากระแสตรงให้เป็นกระแสสลับได้ทันที ระบบประเภทนี้เป็นการเชื่อมต่อกับระบบจ่ายไฟฟ้าจากภาครัฐ ทำให้พวกเราสามารถขายไฟฟ้าคืนได้
2. ระบบโซลาร์เซลล์ออฟกริด (Off-Grid System)
โซลาร์เซลล์ออฟกริดเป็นระบบที่มีหลักการทำงานเหมือนกับออนกริด ตรงที่มีการใช้แผงโซลาร์เพื่อรับแสงแดดและส่งพลังงานไปยังหม้อแปลงอินเวอร์เตอร์เพื่อเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ โดยระบบนี้จะไม่มีการนำระบบจ่ายไฟจากการไฟฟ้าเข้ามาร่วมด้วย เหมาะสำหรับบ้านหรือบริเวณที่ไฟฟ้ายังเข้าไม่ถึงแล้วใช้ระบบนี้ทดแทน
3. ระบบโซลาร์เซลล์ไฮบริด (Hybrid System)
ระบบที่ 3 เป็นระบบที่มีพื้นฐานการทำงานเหมือนกับระบบออนกริดทั้งหมด ซึ่งมีการเสริมฟังก์ชันด้วยแบตเตอรี่สำรอง เพื่อใช้งานในยามที่เกิดเหตุไฟฟ้าขัดข้อง มากไปกว่านั้นแบตเตอรี่ยังเป็นตัวเก็บประจุสำรองเมื่อมีการผลิตกระแสไฟฟ้าเกิดจำนวนยูนิตที่ใช้อีกด้วย ทำให้นำไฟฟ้ามาใช้ในช่วงเวลาอื่นได้ง่ายๆ
อุปกรณ์ที่ใช้ในการติดตั้งระบบโซลาร์รูฟท็อป
สำหรับการติดตั้งระบบโซลาร์รูฟท็อปนั้นต้องใช้อุปกรณ์ 3 ประเภทหลัก ๆ เพื่อทำงานร่วมกัน ดังนี้
แผงโซลาร์เซลล์
แผงโซลาร์เซลล์ คือ อุปกรณ์หลักที่ใช้ในการแปลงพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยแผงโซลาร์เซลล์จะประกอบด้วยเซลล์แสงอาทิตย์จำนวนมากที่เชื่อมต่อกันเป็นแผง เมื่อแสงอาทิตย์ตกกระทบเซลล์เหล่านี้จะเกิดปฏิกิริยาโฟโตโวลเทอิก (Photovoltaic Effect) ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้น แผงโซลาร์เซลล์มีหลายประเภท เช่น ชนิดโมโนคริสตัลไลน์, โพลีคริสตัลไลน์ และชนิดฟิล์มบาง ซึ่งมีประสิทธิภาพและราคาที่แตกต่างกันไป ในการเลือกแผงโซลาร์เซลล์ต้องคำนึงถึงพื้นที่ติดตั้ง งบประมาณ และความต้องการใช้ไฟฟ้าเป็นหลัก
อินเวอร์เตอร์
อินเวอร์เตอร์ ทำหน้าที่แปลงไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ที่ผลิตจากแผงโซลาร์เซลล์ให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) เพื่อใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆภายในบ้านหรืออาคาร ระบบโซลาร์รูฟท็อปส่วนใหญ่ใช้อินเวอร์เตอร์แบบสตริง (String Inverter) ซึ่งเชื่อมต่อกับแผงโซลาร์เซลล์หลายๆแผงแบบอนุกรม ทำให้ได้แรงดันไฟฟ้าที่สูงและประหยัดสายไฟ นอกจากนี้ยังมีอินเวอร์เตอร์แบบไมโคร (Micro Inverter) ที่ติดตั้งในแต่ละแผง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานแต่มีราคาสูงกว่า การเลือกอินเวอร์เตอร์ขึ้นอยู่กับชนิดและขนาดของแผงโซลาร์เซลล์ที่ใช้ ปริมาณความต้องการใช้ไฟ และงบประมาณในการติดตั้ง
แบตเตอรี่สำรอง
สำหรับระบบโซลาร์รูฟท็อปแบบออฟกริด (Off-grid) ที่ใช้งานโดยไม่ต้องเชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าภายนอก จำเป็นต้องมีการติดตั้งแบตเตอรี่สำรอง (Backup Battery) เพื่อเก็บพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแสงอาทิตย์ไว้ใช้ในช่วงที่ไม่มีแดด เช่น ตอนกลางคืน หรือวันที่ฝนตก แบตเตอรี่ที่นิยมใช้มีทั้งชนิดตะกั่วกรด (Lead-acid), นิกเกิล-แคดเมียม (Ni-Cd) และลิเธียมไอออน (Li-ion) ซึ่งมีคุณสมบัติในการประจุและจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ยาวนาน ขนาดของแบตเตอรี่สำรองขึ้นอยู่กับปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าและระยะเวลาในการใช้งาน
เลือกแผงสำหรับระบบโซลาร์รูฟท็อปอย่างไรให้เหมาะที่สุด
การเลือกแผงหลังคาโซลาร์เซลล์ (Solar Rooftop) นั้นสิ่งที่คุณต้องรู้ก็คือชนิดของแผงโซลาร์ที่มีขายตามท้องตลอด โดยมีทั้งหมด ชนิดที่มีคุณภาพและอายุการใช้งานที่แตกต่างกันดังนี้
- แผงโซลาร์เซลล์ชนิดโมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Solar Panel)
เป็นแผงโซลาร์ที่ทำมาจากวัสดุ Silicon มีประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าสูงที่สุด ใช้ได้ในสภาพวะแสงน้อย ใช้งานได้นานถึง 25 ปี
- แผงโซลาร์เซลล์ชนิดโพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Solar Panel) เป็นแผงโซลาร์ที่มีคุณภาพรองลงมาจากโมโนโซลาร์เซลล์ ใช้วัสดุชนิดเดียวกันแต่มีกระบวนการผลิตที่ต่างกัน อายุการใช้งานอยู่ที่ 20-25 ปี
- แผงโซลาร์เซลล์ชนิดอะมอร์ฟัส (Amorphous Solar Panel)
เป็นแผงโซลาร์ที่มีคุณภาพและอายุการใช้งานน้อยที่สุดจาก 3 ชนิด เป็นการนำสารพิเศษที่มีคุณสมบัติในการรับแสงมาเคลือบเป็นแผ่นฟิล์มบางๆ
หลักการติดตั้งระบบหลังคาโซลาร์รูฟท็อป
การติดตั้งระบบโซลาร์รูฟท็อปหรือหลังคาโซลาร์เซลล์ที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยนั้น ควรคำนึงถึงหลักการติดตั้งที่สำคัญ ดังนี้
ทิศทางของแสงแดด
การติดตั้งระบบโซลาร์รูฟท็อปให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด ต้องคำนึงถึงทิศทางของแสงแดดเป็นสำคัญ โดยทั่วไปแผงโซลาร์เซลล์ควรหันไปทางทิศใต้ เพื่อรับแสงแดดได้มากที่สุดในช่วงเวลากลางวัน แต่หากไม่สามารถหันไปทางทิศใต้ได้ การหันไปทางทิศตะวันออกหรือตะวันตกก็เป็นทางเลือกที่ดีไม่แพ้กัน ถ้าให้ดีควรหลีกเลี่ยงเงาจากต้นไม้หรือสิ่งปลูกสร้างในบริเวณใกล้เคียง เพราะจะบดบังแสงแดด ซึ่งกระทบต่อประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าเป็นอย่างมาก
ตำแหน่งการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์
นอกจากทิศทางของแผงแล้ว ตำแหน่งการติดตั้งก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน โดยต้องคำนึงถึงน้ำหนักของแผงโซลาร์เซลล์และอุปกรณ์ที่มาพร้อมกัน ว่าโครงสร้างหลังคาสามารถรับน้ำหนักได้หรือไม่ รวมถึงต้องมีพื้นที่ว่างเพียงพอสำหรับการติดตั้งและซ่อมบำรุง แผงโซลาร์เซลล์ควรติดตั้งในตำแหน่งที่สามารถรับแดดได้ตลอดทั้งวัน ไม่ควรมีสิ่งกีดขวางใดๆ เช่น ปล่องระบายอากาศ หรืออุปกรณ์บนหลังคา และควรมีระยะห่างจากขอบหลังคาตามมาตรฐานความปลอดภัยที่กำหนด เพื่อป้องกันความเสียหายจากลมแรงหรือฝนตก
การติดตั้งระบบโซลาร์รูฟท็อปที่ได้มาตรฐาน
เพื่อให้การติดตั้งระบบโซลาร์รูฟท็อปมีความปลอดภัยและได้ประสิทธิภาพสูงสุด ควรเลือกใช้อุปกรณ์และวัสดุที่ได้มาตรฐาน เช่น แผงโซลาร์เซลล์ อินเวอร์เตอร์ สายไฟ ขาจับแผง ต้องผ่านการรับรองคุณภาพจากสถาบันที่เชื่อถือได้ และมีใบรับประกันสินค้าจากผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่าย ในการติดตั้งต้องยึดแผงแน่นหนากับโครงสร้างหลังคา โดยใช้ขาจับที่มีความแข็งแรงทนทาน ปรับมุมเอียงของแผงให้เหมาะสมเพื่อรับแสงได้ดีที่สุด สายไฟต้องเป็นชนิดที่ทนต่อความร้อนและรังสียูวี ติดตั้งสวิตช์และระบบป้องกันไฟฟ้ารั่วเพื่อความปลอดภัย และต้องทำการตรวจสอบระบบทั้งหมดอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นกระบวนการที่ KG SOLAR ให้ความสำคัญและดำเนินการโดยทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ วางใจในคุณภาพการติดตั้งจากพวกเราได้เลย
วิธีการขออนุญาตใช้งานหลังคาโซลาร์รูฟท็อปจากภาครัฐ
การติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปหรือหลังคาโซลาร์เซลล์สำหรับบ้านพักอาศัย อาคารและโรงงานอุตสาหกรรมนั้นจะต้องมีการอนุญาตติดตั้งกับทางภาครัฐและการไฟฟ้าก่อน เพื่อให้คุณสามารถใช้งานได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายผ่านมาตรฐานความปลอดภัยที่ภาครัฐกำหนด โดยมีหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขในการยื่นขออนุญาตดังนี้
เงื่อนไขที่ 1 แผงโซลาร์เซลล์ (PV) < 200 kWp (<200,000 Watt)
เงื่อนไขที่ 2 แผงโซลาร์เซลล์ (PV) >= 200kWp แต่ไม่เกิน 1,000 kWp (200,001 Watt – 1,000,000 Watt)
เงื่อนไขที่ 3 แผงโซลาร์เซลล์ (PV) >=1,000kWp (1,000,000 Watt) ขึ้นไป
ผู้ที่ทำการติดตั้งระบบหลังคาโซลาร์เซลล์สำหรับประชาชนทั่วไปสามารถเข้าร่วมโครงการขายกระแสไฟฟ้าคืนให้กับการไฟฟ้าได้ ในอัตรา 2.2 บาท/หน่วย เป็นระยะเวลา 10 ปี โดยที่ขนาดการผลิตไฟฟ้า สำหรับบ้าน 1 เฟส ต้องไม่เกิน 5 kWp และบ้าน 3 เฟส ต้องไม่เกิน 10 kWp (กิโลวัตต์) เท่านั้น และ แต่หากไม่เข้าร่วมโครงการโซลาร์เซลล์ประชาชนทั่วไปสามารถติดตั้งได้มากกว่า 10 kWp (กิโลวัตต์) โดยมีขั้นตอนในการยื่นขออนุญาตติดตั้งกับการไฟฟ้าดังนี้
1. ยื่นใบขออนุญาตก่อสร้างเพื่อดัดแปลงอาคาร
ในกรณีที่ใช้พื้นที่ในการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์มากกว่า 160 ตารางเมตร หรือเป็นอาคารสาธารณะเช่น วัด โรงเรียน สถานพยาบาล จำเป็นต้องมีการขออนุญาตก่อสร้างเพื่อดัดแปลงอาคาร ขั้นแรกให้ยื่นเอกสารขออนุญาตก่อสร้างเพื่ออาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคาร (อ.1) กับหน่วยงานราชการในพื้นที่ เช่น สำนักงานเขต สำนักงานเทศบาล และสำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล โดยจะต้องมีเอกสารดังนี้
- แบบคำขอ ข.1
- แบบแปลนที่แสดงแผนผังโครงสร้างหลังคาเพื่อรับรองแผงหลังคาโซลาร์เซลล์
- รายละเอียดการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์
- รายการคำนวณโครงสร้างและแบบฟอร์มการสำรวจอาคาร
- เอกสารรับรองจากวิศวกรผู้ออกแบบและควบคุมงานหรือโยธา
2. ลงทะเบียนกับทาง กกพ.
สามารถไปลงทะเบียนได้ด้วยตัวเองที่สำนักงาน กกพ. ในพื้นที่หรือผ่านทางช่องทางออนไลน์ https://www.cleanenergyforlife.net/ เพื่อแจ้งประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาต โดยจะต้องเตรียมเอกสารดังนี้
- สำเนาหลักฐานการยื่นแจ้งจากหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่น
- ภาพถ่ายการติดตั้งอุปกรณ์แผงโซลาร์เซลล์ที่เห็นครบชุดแผง อินเวอร์เตอร์
- แบบ Single Line Diagram ทางการไฟฟ้า พร้อมลงนามรับรองโดยวิศวกรโยธา
- แปลนโครงสร้างการติดตั้งและรายการคำนวณโครงสร้าง พร้อมลงนามรับรองโดยวิศวกรโยธา
- รายละเอียดของแผงโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้ง (ชนิด, รุ่น, ยี่ห้อ, สเปก)
- รายละเอียดของหม้อแปลงอินเวอร์เตอร์ตามมาตรฐานของการไฟฟ้าเท่านั้น
- สำเนาบัตรประชาชนที่ตรงกับชื่อผู้ใช้ไฟฟ้า
- ใบแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้า
- ประสานงานกับทางเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าฯ เพื่อตรวจสอบและทดสอบการเชื่อมต่อ
3. ประสานงานและแจ้งกับทาง กฟน. หรือ กฟภ.
สามารถลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมโครงการขายไฟฟ้าผ่านเว็บไซต์ของ MEA https://myenergy.mea.or.th/ และลงทะเบียนกับทาง PEA ผ่านเว็บไซต์ https://ppim.pea.co.th:4433/app/project/eco (ส่วนของ PEA ไม่เข้าร่วมโครงการขายไฟให้เตรียมเอกสารไปยื่นกับการไฟฟ้าเขตของพื้นที่นั้นๆ) โดยในขั้นตอนประสานงานจะต้องเตรียมเอกสารดังนี้
- แบบคำขอ ข.1
- บัตรประชาชนของผู้ใช้ไฟฟ้า
- เอกสารหรือแบบแปลนเพื่อแสดงแผนผังและโครงสร้างหลังคา
- หมายเลขผู้ใช้ไฟฟ้า (CA) ตามใบแจ้งหนี้การไฟฟ้าฯ (โดยมิเตอร์ 1 เฟส จะสามารถติดตั้งได้สูงสุด 5kw. และมิเตอร์ 3 เฟส จะขอติดตั้งได้สูงสุด 10kw.
- รายละเอียดของแผงโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้ง (ชนิด, รุ่น, ยี่ห้อ, สเปก)
- รายละเอียดของหม้อแปลงอินเวอร์เตอร์ตามมาตรฐานของการไฟฟ้าเท่านั้น
- แผนภูมิระบบไฟฟ้า (single line diagram) ที่มีการเซ็นรับรองแบบโดยวิศวกร พร้อมแนบสำเนาใบประกอบวิชาชีพ (ใบกว.)
- ข้อมูลของแผนที่ตั้ง รูปถ่ายหน้าบ้าน และรูปถ่ายที่เห็นแผงโซลาร์ครบทุกแผง
4. ยื่นขอเปลี่ยนมิเตอร์ไฟฟ้าและเชื่อมต่อ COD กับการไฟฟ้า
หลังจากที่ผ่านการดำเนินการต่างๆ เพื่อยกเว้นการขออนุญาตประกอบกิจการพลังงานจากทาง กกพ. และการไฟฟ้า เรียบร้อยแล้ว หากเข้าร่วมโครงการโซลาร์ภาคประชาชนก็จะต้องทำการชำระค่าบริการ ค่าขนานไฟ และทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้า โดยในขั้นตอนสุดท้ายหากผ่านการตรวจสอบทั้งหมด ทางเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าจะทำการเปลี่ยนประเภทมิเตอร์ไฟฟ้าทั่วไปให้เป็นมิเตอร์สำหรับโซลาร์เซลล์โดยเฉพาะและทำการเชื่อมต่อ COD กับระบบของการไฟฟ้า จากนั้นก็จะสามารถเริ่มใช้งานโซลาร์เซลล์ได้เลยทันที
ทำไมต้องเลือกติดตั้งหลังคาโซลาร์รูฟท็อปกับ KG Solar
- KG Solar มอบความสะดวกให้กับลูกค้าด้วยบริการเดินเรื่องในการขออนุญาตตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์ (Solar Rooftop) ประสานงานกับทาง กฟน. หรือ กฟภ. ให้แบบครบวงจร โดยที่ลูกค้าไม่ต้องกังวลในขั้นตอนการขออนุญาตที่ซับซ้อนโดยไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
- อุปกรณ์หลังคาโซลาร์เซลล์ได้มาตรฐานระดับสากล ด้วยการนำเข้าสินค้าจากแบรนด์ชั้นนำทั้ง ENPHASE จาก USA, HOYMILES และ HUAWEI จากประเทศจีน
- KG Solar มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมมากกว่า 34 ปี การันตีด้วยความไว้วางใจจากลูกค้าทั่วประเทศไทย 45 จังหวัด ตั้งแต่ธุรกิจชั้นนำไปจนถึงภาคครัวเรือน ผ่านการรับรองด้วยมาตรฐานสากล ISO 9001:2015 และ ISO 50001:2018
สรุปเกี่ยวกับระบบหลังคาโซลาร์รูฟท็อป (Solar Rooftop) จาก KG Solar
การติดตั้งระบบโซลาร์รูฟท็อปหรือหลังคาโซลาร์เซลล์ (Solar Rooftop) นั้นถือเป็นแนวทางในการช่วยประหยัดพลังงานที่ได้ประโยชน์จากหลายฝ่ายไม่ว่าจะเป็น ค่าไฟฟ้าที่ถูกลงของตัวคุณเอง สามารถขายไฟฟ้าคืนให้กับการไฟฟ้าได้ แถมยังช่วยลดมลพิษจากการใช้พลังงานสะอาดในการผลิตกระแสไฟฟ้าอีกด้วย เรียกได้ว่าได้ประโยชน์ทั้งตัวคุณและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กัน สำหรับใครที่กำลังมองหาผู้ให้บริการรับติดตั้งโซลาร์เซลล์ครบวงจร KG Solar ผู้นำด้านโซลาร์รูฟท็อปชั้นนำของไทยที่มีประสบการณ์ในวงการมากกว่า 34 ปี ดูแลโดยทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ ปรึกษาและสอบถามกับทีมงานพวกเราได้ผ่านทางเว็บไซต์ของ KG Solar ได้เลย