ระบบหลังคาโซลาร์เซลล์ ตัวช่วยประหยัดพลังงานที่คุ้มค่าที่สุด
ปัญหาด้านพลังงานในปัจจุบันมีหลายปัจจัยที่ทำให้คนทั่วโลกตื่นตัวกันเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นปัญหาราคาพลังงานเชื้อเพลิงสูงขึ้น แหล่งเชื้อเพลิงมีปริมาณลดลง รวมไปถึงการเกิดมลพิษจากการเผาไหม้ด้วยพลังงานประเภทต่างๆ ปัญหาเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยผลักดันให้เกิดแนวคิดในการนำพลังงานสะอาดประเภทต่างๆ มาใช้ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะ “พลังงานแสงอาทิตย์” ที่ได้รับความนิยมในวงกว้างมากขึ้นในรูปแบบของระบบหลังคาโซลาร์เซลล์ (Solar Rooftop) หรือโซลาร์รูฟท็อปที่แพร่หลายทั้งในระดับอุตสาหกรรมไปจนถึงระดับครัวเรือน วันนี้ KG Solar จะมานำเสนอเรื่องราวของระบบหลังคาโซลาร์เซลล์ ว่าคืออะไรไปจนถึงขั้นตอนการขออนุญาตติดตั้งจากภาครัฐที่คุณไม่ควรพลาด
ระบบหลังคาโซลาร์เซลล์คืออะไร?
ระบบหลังคาโซลาร์เซลล์ (Solar Rooftop) คือ ระบบการแปลงพลังงานแสงอาทิตย์ให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง โดยผ่านอุปกรณ์หลักที่เรียกว่าแผงโซลาร์เซลล์ โดยภายในอุปกรณ์จะมีกระบวนการทำงานแบบ Photovoltaic Effect เพื่อส่งไฟฟ้ากระแสตรงที่ได้ไปยังหม้อแปลงไฟฟ้าหรืออินเวอร์เตอร์ (Inverter) เพื่อเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงให้กลายเป็นไฟฟ้ากระแสสลับที่สามารถส่งไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดต่างๆ ภายในพื้นที่ได้ และมีปริมาณกระแสไฟฟ้าไม่แตกต่างจากระบบจ่ายไฟบ้านแบบเดิม
ระบบหลังคาโซลาร์เซลล์มีอะไรบ้าง
ระบบหลังคาโซลาร์เซลล์ (Solar Rooftop) ที่นิยมใช้กันในปัจจุบันมีทั้งหมด 3 ระบบ ซึ่งจะมีลักษณะการทำงานที่แตกต่างกันออกไปดังนี้
1. ระบบโซลาร์เซลล์ออนกริด (On-Grid System)
โซลาร์เซลล์ออนกริดเป็นระบบที่มีการเชื่อมต่อระหว่างสายส่งไฟฟ้าจากการไฟฟ้า แผงโซลาร์เซลล์ และเชื่อมต่อไปยังหม้อแปลงไฟฟ้ากริดไทอินเวอร์เตอร์ (Grid Tie Inverter) เพื่อแปลงไฟฟ้ากระแสตรงให้เป็นกระแสสลับได้ทันที ระบบประเภทนี้เป็นการเชื่อมต่อกับระบบจ่ายไฟฟ้าจากภาครัฐ ทำให้พวกเราสามารถขายไฟฟ้าคืนได้
2. ระบบโซลาร์เซลล์ออฟกริด (Off-Grid System)
โซลาร์เซลล์ออฟกริดเป็นระบบที่มีหลักการทำงานเหมือนกับออนกริด ตรงที่มีการใช้แผงโซลาร์เพื่อรับแสงแดดและส่งพลังงานไปยังหม้อแปลงอินเวอร์เตอร์เพื่อเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ โดยระบบนี้จะไม่มีการนำระบบจ่ายไฟจากการไฟฟ้าเข้ามาร่วมด้วย เหมาะสำหรับบ้านหรือบริเวณที่ไฟฟ้ายังเข้าไม่ถึงแล้วใช้ระบบนี้ทดแทน
3. ระบบโซลาร์เซลล์ไฮบริด (Hybrid System)
ระบบที่ 3 เป็นระบบที่มีพื้นฐานการทำงานเหมือนกับระบบออนกริดทั้งหมด ซึ่งมีการเสริมฟังก์ชันด้วยแบตเตอรี่สำรอง เพื่อใช้งานในยามที่เกิดเหตุไฟฟ้าขัดข้อง มากไปกว่านั้นแบตเตอรี่ยังเป็นตัวเก็บประจุสำรองเมื่อมีการผลิตกระแสไฟฟ้าเกิดจำนวนยูนิตที่ใช้อีกด้วย ทำให้นำไฟฟ้ามาใช้ในช่วงเวลาอื่นได้ง่ายๆ
เลือกแผงสำหรับหลังคาโซลาร์เซลล์อย่างไรให้เหมาะที่สุด
การเลือกแผงหลังคาโซลาร์เซลล์ (Solar Rooftop) นั้นสิ่งที่คุณต้องรู้ก็คือชนิดของแผงโซลาร์ที่มีขายตามท้องตลอด โดยมีทั้งหมด ชนิดที่มีคุณภาพและอายุการใช้งานที่แตกต่างกันดังนี้
- แผงโซลาร์เซลล์ชนิดโมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Solar Panel)
เป็นแผงโซลาร์ที่ทำมาจากวัสดุ Silicon มีประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าสูงที่สุด ใช้ได้ในสภาพวะแสงน้อย ใช้งานได้นานถึง 25 ปี
- แผงโซลาร์เซลล์ชนิดโพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Solar Panel) เป็นแผงโซลาร์ที่มีคุณภาพรองลงมาจากโมโนโซลาร์เซลล์ ใช้วัสดุชนิดเดียวกันแต่มีกระบวนการผลิตที่ต่างกัน อายุการใช้งานอยู่ที่ 20-25 ปี
- แผงโซลาร์เซลล์ชนิดอะมอร์ฟัส (Amorphous Solar Panel)
เป็นแผงโซลาร์ที่มีคุณภาพและอายุการใช้งานน้อยที่สุดจาก 3 ชนิด เป็นการนำสารพิเศษที่มีคุณสมบัติในการรับแสงมาเคลือบเป็นแผ่นฟิล์มบางๆ
วิธีการขออนุญาตใช้งานหลังคาโซลาร์เซลล์จากภาครัฐ
การติดตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์สำหรับบ้านพักอาศัย อาคารและโรงงานอุตสาหกรรมนั้นจะต้องมีการอนุญาตติดตั้งกับทางภาครัฐและการไฟฟ้าก่อน เพื่อให้คุณสามารถใช้งานได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายผ่านมาตรฐานความปลอดภัยที่ภาครัฐกำหนด โดยมีหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขในการยื่นขออนุญาตดังนี้
เงื่อนไขที่ 1 แผงโซลาร์เซลล์ (PV) < 200 kWp (<200,000 Watt)
เงื่อนไขที่ 2 แผงโซลาร์เซลล์ (PV) >= 200kWp แต่ไม่เกิน 1,000 kWp (200,001 Watt – 1,000,000 Watt)
เงื่อนไขที่ 3 แผงโซลาร์เซลล์ (PV) >=1,000kWp (1,000,000 Watt) ขึ้นไป
ผู้ที่ทำการติดตั้งระบบหลังคาโซลาร์เซลล์สำหรับประชาชนทั่วไปสามารถเข้าร่วมโครงการขายกระแสไฟฟ้าคืนให้กับการไฟฟ้าได้ ในอัตรา 2.2 บาท/หน่วย เป็นระยะเวลา 10 ปี โดยที่ขนาดการผลิตไฟฟ้า สำหรับบ้าน 1 เฟส ต้องไม่เกิน 5 kWp และบ้าน 3 เฟส ต้องไม่เกิน 10 kWp (กิโลวัตต์) เท่านั้น และ แต่หากไม่เข้าร่วมโครงการโซลาร์เซลล์ประชาชนทั่วไปสามารถติดตั้งได้มากกว่า 10 kWp (กิโลวัตต์) โดยมีขั้นตอนในการยื่นขออนุญาตติดตั้งกับการไฟฟ้าดังนี้
1. ยื่นใบขออนุญาตก่อสร้างเพื่อดัดแปลงอาคาร
ในกรณีที่ใช้พื้นที่ในการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์มากกว่า 160 ตารางเมตร หรือเป็นอาคารสาธารณะเช่น วัด โรงเรียน สถานพยาบาล จำเป็นต้องมีการขออนุญาตก่อสร้างเพื่อดัดแปลงอาคาร ขั้นแรกให้ยื่นเอกสารขออนุญาตก่อสร้างเพื่ออาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคาร (อ.1) กับหน่วยงานราชการในพื้นที่ เช่น สำนักงานเขต สำนักงานเทศบาล และสำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล โดยจะต้องมีเอกสารดังนี้
- แบบคำขอ ข.1
- แบบแปลนที่แสดงแผนผังโครงสร้างหลังคาเพื่อรับรองแผงหลังคาโซลาร์เซลล์
- รายละเอียดการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์
- รายการคำนวณโครงสร้างและแบบฟอร์มการสำรวจอาคาร
- เอกสารรับรองจากวิศวกรผู้ออกแบบและควบคุมงานหรือโยธา
2. ลงทะเบียนกับทาง กกพ.
สามารถไปลงทะเบียนได้ด้วยตัวเองที่สำนักงาน กกพ. ในพื้นที่หรือผ่านทางช่องทางออนไลน์ https://www.cleanenergyforlife.net/ เพื่อแจ้งประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาต โดยจะต้องเตรียมเอกสารดังนี้
- สำเนาหลักฐานการยื่นแจ้งจากหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่น
- ภาพถ่ายการติดตั้งอุปกรณ์แผงโซลาร์เซลล์ที่เห็นครบชุดแผง อินเวอร์เตอร์
- แบบ Single Line Diagram ทางการไฟฟ้า พร้อมลงนามรับรองโดยวิศวกรโยธา
- แปลนโครงสร้างการติดตั้งและรายการคำนวณโครงสร้าง พร้อมลงนามรับรองโดยวิศวกรโยธา
- รายละเอียดของแผงโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้ง (ชนิด, รุ่น, ยี่ห้อ, สเปก)
- รายละเอียดของหม้อแปลงอินเวอร์เตอร์ตามมาตรฐานของการไฟฟ้าเท่านั้น
- สำเนาบัตรประชาชนที่ตรงกับชื่อผู้ใช้ไฟฟ้า
- ใบแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้า
- ประสานงานกับทางเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าฯ เพื่อตรวจสอบและทดสอบการเชื่อมต่อ
3. ประสานงานและแจ้งกับทาง กฟน. หรือ กฟภ.
สามารถลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมโครงการขายไฟฟ้าผ่านเว็บไซต์ของ MEA https://myenergy.mea.or.th/ และลงทะเบียนกับทาง PEA ผ่านเว็บไซต์ https://ppim.pea.co.th:4433/app/project/eco(ส่วนของ PEA ไม่เข้าร่วมโครงการขายไฟให้เตรียมเอกสารไปยื่นกับการไฟฟ้าเขตของพื้นที่นั้นๆ) โดยในขั้นตอนประสานงานจะต้องเตรียมเอกสารดังนี้
- แบบคำขอ ข.1
- บัตรประชาชนของผู้ใช้ไฟฟ้า
- เอกสารหรือแบบแปลนเพื่อแสดงแผนผังและโครงสร้างหลังคา
- หมายเลขผู้ใช้ไฟฟ้า (CA) ตามใบแจ้งหนี้การไฟฟ้าฯ (โดยมิเตอร์ 1 เฟส จะสามารถติดตั้งได้สูงสุด 5kw. และมิเตอร์ 3 เฟส จะขอติดตั้งได้สูงสุด 10kw.
- รายละเอียดของแผงโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้ง (ชนิด, รุ่น, ยี่ห้อ, สเปก)
- รายละเอียดของหม้อแปลงอินเวอร์เตอร์ตามมาตรฐานของการไฟฟ้าเท่านั้น
- แผนภูมิระบบไฟฟ้า (single line diagram) ที่มีการเซ็นรับรองแบบโดยวิศวกร พร้อมแนบสำเนาใบประกอบวิชาชีพ (ใบกว.)
- ข้อมูลของแผนที่ตั้ง รูปถ่ายหน้าบ้าน และรูปถ่ายที่เห็นแผงโซลาร์ครบทุกแผง
4. ยื่นขอเปลี่ยนมิเตอร์ไฟฟ้าและเชื่อมต่อ COD กับการไฟฟ้า
หลังจากที่ผ่านการดำเนินการต่างๆ เพื่อยกเว้นการขออนุญาตประกอบกิจการพลังงานจากทาง กกพ. และการไฟฟ้า เรียบร้อยแล้ว หากเข้ารวมโครงการโซลาร์ภาคประชาชนก็จะต้องทำการชำระค่าบริการ ค่าขนาดไฟ และทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้า โดยในขั้นตอนสุดท้ายหากผ่านการตรวจสอบทั้งหมด ทางเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าจะทำการเปลี่ยนประเภทมิเตอร์ไฟฟ้าทั่วไปให้เป็นมิเตอร์สำหรับโซลาร์เซลล์โดยเฉพาะและทำการเชื่อมต่อ COD กับระบบของการไฟฟ้า จากนั้นก็จะสามารถเริ่มใช้งานโซลาร์เซลล์ระบบหลังคาโซลาร์เซลล์ได้ทันที
ทำไมต้องเลือกติดตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์กับ KG Solar
- KG Solar มอบความสะดวกให้กับลูกค้าด้วยบริการเดินเรื่องในการขออนุญาตตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์ (Solar Rooftop) ประสานงานกับทาง กฟน. หรือ กฟภ. ให้แบบครบวงจร โดยที่ลูกค้าไม่ต้องกังวลในขั้นตอนการขออนุญาตที่ซับซ้อนโดยไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
- อุปกรณ์หลังคาโซลาร์เซลล์ได้มาตรฐานระดับสากล ด้วยการนำเข้าสินค้าจากแบรนด์ชั้นนำทั้ง ENPHASE จาก USA, HOYMILES และ HUAWEI จากประเทศจีน
- KG Solar มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมมากกว่า 34 ปี การันตีด้วยความไว้วางใจจากลูกค้าทั่วประเทศไทย 45 จังหวัด ตั้งแต่ธุรกิจชั้นนำไปจนถึงภาคครัวเรือน ผ่านการรับรองด้วยมาตรฐานสากล ISO 9001:2015 และ ISO 50001:2018
สรุปเกี่ยวกับระบบหลังคาโซลาร์เซลล์
การติดตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์ (Solar Rooftop) นั้นถือเป็นแนวทางในการช่วยประหยัดพลังงานที่ได้ประโยชน์จากหลายฝ่ายไม่ว่าจะเป็น ค่าไฟฟ้าที่ถูกลงของตัวคุณเอง สามารถขายไฟฟ้าคืนให้กับการไฟฟ้าได้ แถมยังช่วยลดมลพิษจากการใช้พลังงานสะอาดในการผลิตกระแสไฟฟ้าอีกด้วย เรียกได้ว่าได้ประโยชน์ทั้งตัวคุณและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กัน สำหรับใครที่กำลังมองหาผู้ให้บริการรับติดตั้งโซลาร์เซลล์ครบวงจร KG Solar ผู้นำด้านโซลาร์รูฟท็อปชั้นนำของไทยที่มีประสบการณ์ในวงการมากกว่า 34 ปี ดูแลโดยทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ ปรึกษาและสอบถามกับทีมงานพวกเราได้ผ่านทางเว็บไซต์ของ KG Solar ได้เลย