การเติบโตของโซล่าเซลล์ ในปี 2018
ในยุคที่แผงโซล่าเซลล์ (Solar cell) หรือ เซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ หรือ บ้างก็เรียกกันให้เก๋ๆว่าโซล่ารูฟท็อป กำลังได้รับความนิยมจากประชาชน คนทั่วไปและภาคส่วนต่างๆ ของประเทศทั่วโลก เพราะ ได้ยินเสียงลือเสียงเล่าอ้างจากหลายทางว่าเป็นเทคโนโลยีที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพใช้ทดแทนพลังงานไฟฟ้าจากการไฟฟ้าที่เราต้องเสียค่าใช้จ่ายอยู่ทุกๆเดือนได้เป็นอย่างดีนั้นเชื่อว่ายังคงมีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่อาจเข้าไม่ถึงการนำเอาแผงโซล่าเซลล์นี้ไปใช้ประโยชน์ว่าสามารถนำเอาไปทำอะไรได้บ้างหรือบ้างก็อาจจะเข้าใจว่าแผงโซล่าเซลล์นั้น สามารถนำไปใช้ประโยชน์แค่ทดแทนไฟส่องสว่าง หรือ หลอดไฟเพียงอย่าเดียว เพื่อขจัดข้อสงสัยเหล่านี้ วันนี้เราจึงมีรูปแบบการใช้ประโยชน์จากแผงโซลาร์เซลล์ในรูปแบบต่างๆมาฝาก
ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกต่างหันมาให้ความสำคัญทางด้านพลังงานทดแทนหรือพลังงานสะอาดตามเทรนด์รักษ์โลกกันมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ เนื่องจากพลังงานดังกล่าวเป็นหนึ่งในพลังงานทางเลือกหลักที่ทั่วโลกเลือกใช้ รวมถึงผู้ประกอบการยังให้ความสำคัญในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ใหม่ ๆ เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย
ซึ่งสอดคล้องกับรายงาน Solar Cells and Modules-Global Market Trajectory & Analytics ของ Global Industry Analysts Inc., (GIA) ที่ได้มีการคาดการณ์ว่า ตลาดเซลล์แสงอาทิตย์และโมดูลทั่วโลกจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 127.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2026
ภาคการเกษตร
ได้เริ่มนำแผงโซล่าเซลล์มาใช้ประโยชน์ในการทำเกษตรกันมากขึ้นเช่น การนำแผงโซล่าเซลล์มาช่วยในการบริหารจัดการเรื่องน้ำ เช่น ปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ การนำเอาเครื่องสูบน้ำโซล่าเซลล์มาติดตั้งไว้บนรถเข็นนั่นเอง ทั้งนี้ก็เพื่อความสะดวกในการเคลื่อนย้ายไปสูบน้ำบริเวณต่าง ๆ เพราะบริบทของพื้นที่ทำการเกษตรของเกษตรกร
การเกษตรของเซลล์แสงอาทิตย์เป็นรูปแบบใหม่ของการเกษตร ที่ใช้การผลิตพลังงานแสงเพื่อการเพาะปลูกทางการเกษตรสมัยใหม่เพาะเลี้ยงสัตว์นํ้าการชลประทานการควบคุมศัตรูพืชและการจัดหาเครื่องจักรกลการเกษตร
1. การคุ้มครองสิ่งแวดล้อมที่ครอบคลุมสําหรับการเพาะปลูกและการเพาะพันธุ์ ระบบบําบัดนํ้าเสียจากแสงอาทิตย์มีประสิทธิภาพในกระบวนการบําบัดนํ้าเสียหลังจากแปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานความร้อนและพลังงานไฟฟ้า ในขั้นตอนนี้จะไม่มีการใช้มลภาวะและการใช้พลังงานในระดับรอง
2. สามารถจัดหาพลังงานสําหรับการเพาะปลูกและฐานการเพาะพันธุ์ เทคโนโลยีนี้รวมเอาระบบผลิตพลังงานแสงอาทิตย์พลังงานแสงอาทิตย์ระบบระบายความร้อนด้วยแสงและ
เทคโนโลยีฟิล์มถ่ายโอนนาโนเทียมแบบใหม่ เข้าสู่เรือนกระจกแบบดั้งเดิมและบนหลังคาของฟาร์มเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เพิ่มขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพและเพิ่มรายได้
3. สามารถปรับปรุงชีวิตของเกษตรกรและให้ความสะดวกแก่เกษตรกร เช่นไฟฉายพลังงานแสงอาทิตย์, ไฟม้าพลังงานแสงอาทิตย์, เครื่องชาร์จพลังงานแสงอาทิตย์, เครื่องดักแมลงไฟ
แสงอาทิตย์และอื่น ๆ ผลิตภัณฑ์เหล่านี้สามารถให้ความสะดวกสบายแก่เกษตรกรในพื้นที่ห่างไกลปราศจากพลังงานและไม่ใช้พลังงาน
4. การผลิตไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ยังสามารถใช้กับการผลิตทางป่าไม้หรือการทํานํ้าชลประทานได้อีกด้วย
ส่วนภาครัฐ
ก็ได้มีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการใช้พลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์โดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน กำหนดให้มีการซื้อคืนไฟฟ้าที่ผลิตจากโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้งบนหลังคาและบนพื้นดิน ที่เรียกกันว่า “โซลาร์รูฟท็อป-Solar Rooftop”และ “โซลาร์ฟาร์ม-Solar Farm”
ตามที่ กกพ. ได้ประกาศ โครงการโซล่าเซลล์ ภาคประชาชน ปี 2565 โดยสรุปคือ ให้บ้านพักอาศัย สามารถติดตั้งโซล่าเซลล์ บนหลังคา แล้วขายไฟ ให้กับการไฟฟ้าได้ ในราคา 2.2 บาทต่อหน่วย โดยกำหนดให้
บ้านพักอาศัย ที่ใช้ไฟฟ้าแบบ 1 เฟส ติดตั้งโซล่าเซลล์ขายไฟ ได้สูงสุด 5 กิโลวัตต์ (kWp.) โดยดูจากขนาดรวมของแผงโซล่าเซลล์
บ้านพักอาศัย ที่ใช้ไฟฟ้าแบบ 3 เฟส ติดตั้งโซล่าเซลล์ขายไฟ ได้สูงสุด 10 กิโลวัตต์ (kWp.) โดยดูจากขนาดรวมของแผงโซล่าเซลล์
ทั้งนี้มีโควต้า ให้ กฟน. รับซื้อไฟได้ 5 MW. และ กฟภ. รับซื้อไฟได้ 5 MW. ซึ่งจากข้อมูลที่รับทราบมา โควต้า รวมทั้ง 2 การไฟฟ้าฯ 10 MW. เต็มครบหมดแล้ว
ดังนั้น เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2566 กกพ. ได้ออกประกาศ ฉบับบใหม่ เรื่อง ประกาศเชิญชวนรับซื้อไฟฟ้าโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา สำหรับภาคประชาชนประเภทบ้านอยู่อาศัย (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ.2566
โดยสรุปสาระสำคัญ 21 มี.ค.66 ประกาศโครงการโซล่าเซลล์ ภาคประชาชน อนุมัติต่อโครงการโดย กกพ. กำหนดระยะเวลาโครงการ ปี 2564 – 2573 ขยายเพิ่มเป็น 90 MW. อัตรารับซื้อไฟเท่าเดิม คือ 2.2 บาท/หน่วย
ส่วนภาคอื่นๆ
เช่น การคมนาคมขนส่ง แผงโซลาร์เซลล์ก็ถูกนำไปใช้ประโยชน์นานแล้วอย่าง เช่น รถยนต์ไฟฟ้าก็อาศัยหลักการนำพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์มาขับเคลื่อนมอเตอร์ให้รถยนต์แล่น หรือ ในส่วนภาคเอกชนก็ได้มีการประยุกต์ใช้ระบบโซลาร์เซลล์มาผลิตไฟฟ้าเพื่อชดเชยหรือเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานไฟฟ้าจากผลิตไฟฟ้าที่ใช้พลังงานจากฟอสซิล (ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ไฟฟ้านิวเคลียร์)
ภาพรวมอุตสาหกรรมโซล่าเซลล์ของไทย
ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลก ต่างหันมาให้ความสำคัญทางด้านพลังงานทดแทนหรือพลังงานสะอาดตามเทรนด์รักษ์โลกกันมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ เนื่องจากพลังงานดังกล่าวเป็นหนึ่งในพลังงานทางเลือกหลักที่ทั่วโลกเลือกใช้ รวมถึงผู้ประกอบการยังให้ความสำคัญในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ใหม่ ๆ เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย
ซึ่งสอดคล้องกับรายงาน Solar Cells and Modules-Global Market Trajectory & Analytics ของ Global Industry Analysts Inc., (GIA) ที่ได้มีการคาดการณ์ว่า ตลาดเซลล์แสงอาทิตย์และโมดูลทั่วโลกจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 127.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2026
จากตัวอย่างที่ยกไปข้างต้นนั้น จะเห็นได้ว่าเราสามารถนำแผงโซล่าเซลล์มาประยุกต์ใช้ได้หลากหลายด้านที่ต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าไม่ว่าจะเป็นการผลิตไฟฟ้าเพื่อไฟส่องสว่าง หรือ หลอดไฟใช้ในอุปกรณ์เครื่องใช้ในอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านพักอาศัย การต่อยอดสู่ภาคเกษตรกรรมโดยเฉพาะการบริหารจัดการน้ำ หรือ ในภาคการคมนาคมขนส่ง เราก็สามารถนำแผงโซล่าเซลล์มาประยุกต์ใช้จนเกิดประโยชน์อย่างไม่น่าเชื่อ ด้วยคุณสมบัติที่สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้า จากทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่มีวันหมดสิ้นอย่างแสงอาทิตย์ภายใต้กระบวนการแปรรูปที่มีความสะอาด ไม่ปล่อยมลพิษสู่สิ่งมีชีวิตและสภาพแวดล้อม โดยรอบทำให้เชื่อได้เลยว่าในอนาคตแผงโซล่าเซลล์ จะได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น(รวมถึงแรงหนุนเสริมด้านกลไกทางการตลาดหรืออุปสงค์และอุปทานที่ยิ่งความต้องการมากของผู้คนมากขึ้นเท่าไหร่ ราคาก็จะยิ่งถูกลงมากขึ้นเท่านั้น) และ ในอนาคตเราอาจจะได้เห็นนวัตกรรมการนำแผงโซล่าเซลล์ไปใช้ประโยชน์ในด้านที่แปลกใหม่ และ สร้างประโยชน์ให้แก่มนุษยชาติอย่างมากแน่นอน