จีนครองแชมป์ผลิตพลังงานแสงอาทิตย์อันดับ 1 ของโลก
หลายคนอาจนึกภาพไม่ออกว่าจีนเป็นแชมป์พลังงานสะอาดได้อย่างไร ทั้งที่มีปัญหาพบบ่อย เช่น เรื่องหมอกควันและมลพิษอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งประเทศจีนมีการใช้พลังงานจากถ่านหินเป็นจำนวนมาก
หลายคนอาจนึกภาพไม่ออกว่าจีนเป็นแชมป์พลังงานสะอาดได้อย่างไร ทั้งที่มีปัญหาพบบ่อย เช่น เรื่องหมอกควันและมลพิษอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งประเทศจีนมีการใช้พลังงานจากถ่านหินเป็นจำนวนมาก
โดยกระทรวงพลังงานแห่งชาติได้เปิดเผยว่าการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ของบริษัทต่างๆในประเทศ เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวในปี 2016 รวมเป็นกำลังผลิตกว่า 77.42 กิกะวัตต์ และภายในสิ้นปี 2017 นี้ ประเทศจีน คือ โรงผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกในแง่ปริมาณ ความจุของพลังงาน
ตอนนี้พลังงงานแสงอาทิตย์ในจีน ยังเป็นเพียงแค่ร้อยละ 1 ของการส่งออกพลังงานทั้งหมดของประเทศ อย่างไรก็ตาม NEA วางแผนที่จะเพิ่มมากกว่า 110 กิกะวัตต์ ภายในปี 2020 โดยให้เทคโนโลยีนีมีบทบาทและความสำคัญสูง โดยวิธีการนี้จะช่วยให้จีนเพิ่มการใช้พลังงานของเชื้อเพลิงที่ไม่ใช่ฟอสซิลจากร้อยละ 11 ในปัจจุบัน ให้อยู่ที่ร้อยละ 20 ในปี 2030
นอกจากนี้ โรงไฟฟ้าขนาด 40 เมกะวัตต์แห่งนี้อยู่ในมณฑลอานฮุย มีแผงเซลล์แสงอาทิตย์ 160,000 แผง ลอยรับแสงอาทิตย์อยู่ในทะเลสาบ ที่ก่อตัวขึ้นมาหลังจากเหมืองถ่านหินแห่งหนึ่งยุบตัวลง
นี่เป็นความพยายามของจีนในการลดการพึ่งพาพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งทำให้จีนเป็นประเทศปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์รายใหญ่ที่สุดของโลก สองในสามของพลังงานไฟฟ้าในจีนมาจากเชื้อเพลิงถ่านหิน
โรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์แห่งนี้เริ่มเปิดใช้งานในช่วงเดียวกันกับที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐฯ ประกาศถอนตัวจากความตกลงปารีสเมื่อวันที่ 2 มิ.ย. ที่ผ่านมา
คำประกาศของผู้นำสหรัฐฯ ทำให้ประชาคมโลกพุ่งความสนใจไปที่จีนว่าพร้อมจะแสดงบทบาทนำในการสู้กับปัญหาโลกร้อนหรือไม่
ไม่กี่วันหลังจากที่นายทรัมป์ประกาศถอนตัวจากความตกลงปารีส จีนเป็นเจ้าภาพจัดประชุมระหว่างประเทศเรื่องพลังงานสะอาด การประชุมนี้เป็นโอกาสให้จีน ซึ่งผลิตแผงพลังแสงอาทิตย์มากที่สุดในโลก ราวสองในสามของการผลิตในโลก ได้ประกาศเจตนารมย์ว่าจะเร่งลงทุนและปฏิรูปการใช้พลังงานหมุนเวียน
และรัฐบาลจีนเริ่มที่จะจริงจังในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่ปี 2551 ผ่านการตั้งกระทรวง Environmental Protection และเร่งรัดนโยบายคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในระดับเข้มข้นสูงสุด พร้อมตั้งเป้าเป็นผู้นำด้าน “พลังงานสะอาด”
ย้อนกลับไปก่อนที่ประเทศจีนจะโฟกัสในเรื่อง “พลังงงานสะอาด” ในหลายทศวรรษที่ผ่านมา จีนพยายามพัฒนาเศรษฐกิจในหลายๆ ด้าน จากประเทศเกษตรกรรมจนกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรม แน่นอนว่า ปัญหามลพิษและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม เกิดขึ้นเป็นตามมาอย่างแแน่นอน นอกจากนี้ กำลังผลิตไฟฟ้าหลักของจีนมาจากถ่านหิน โดยมีสัดส่วนราวๆ ร้อยละ 60 ของแหล่งพลังงานทั้งหมด ซึ่งเราปฏิเสธไม่ได้ว่า พลังงานจากฟอสซิล ไม่ว่าจะเป็นถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซเหล่านี้ เป็นต้นเหตุสำคัญของก๊าซคาร์บอนในชั้นบรรยากาศ
เมื่อหลายปัจจัยรวมๆ กันจึงเป็นต้นตอของปัญหาค่าฝุ่น PM 2.5 และมลพิษอื่นๆ ในจีนช่วงหลายปีที่ผ่านมา และที่เป็นยาเร่งสำคัญ คือ การจรดปากกาเซ็น Paris Agreement (ข้อตกลงปารีส) ในปี 2559 มี 195 ประเทศร่วมลงนาม และจีนเป็น 1 ในนั้น เป็นกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) เพื่อกำหนดมาตรการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป
เมื่อทั้งโลกร่วมลงนาม เหมือนเป็นการแสดงจุดยืนว่า แต่ละประเทศจะต้องวางโรดแมประยะยาว เพื่อชะลอภาวะโลกร้อนให้ได้ นับเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของจีนในการบรรลุเป้าหมายนี้
จึงเป็นที่มาของเป้าหมายว่า จีนจะต้องมีความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) หรือปล่อยก๊าซคาร์บอนและก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ก่อนปี 2603 ให้ได้ รวมทั้งเริ่มลดการปล่อยมลพิษภายในปี 2573
‘จีน’ ผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียน
ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลจีนให้สิทธิประโยชน์ในด้านภาษีต่อโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) เช่น ยกเว้นภาษีนิติบุคคลให้เป็นเวลา 3 ปี และลดภาษีตัวเดียวกันร้อยละ 50 ให้อีก 3 ปี เพื่อสนับสนุนให้บริษัทต่างๆ เข้ามาลงทุน
นอกจากนี้ยังให้สิทธิประโยชน์ภาษีนิติบุคคลให้กับบริษัทที่ลงทุนด้านเทคโนโลยีชั้นสูง ลงทุนในหน่วยงานวิจัยและพัฒนา มีการจดสิทธิบัตรนวัตกรรมใหม่ เพื่อพัฒนาโครงการจากพลังงานหมุนเวียน
ส่งผลให้จีนกลายเป็นประเทศที่มีสัดส่วนกำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนสูงที่สุดในโลก ส่วนใหญ่มาจากพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar) และลม (Wind) โดยข้อมูลจากองค์การพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency – IEA) จีนมีการให้สิทธิประโยชน์โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ทั้งที่อยู่บนบกและในทะเล
ปี 2563 จีนมีกำลังผลิตไฟฟ้าใหม่จากพลังงานแสงอาทิตย์ 40.4 กิกะวัตต์ IEA ประเมินว่า กำลังการผลิตใหม่รายปี จะลดลงเล็กน้อยในปี 2564 และ 2565 อยู่ที่ 38.2 และ 35.3 กิกะวัตต์ตามลำดับ
ในส่วนกำลังผลิตไฟฟ้าใหม่จากพลังงานลม ปี 2563 จีนมี 29 กิกะวัตต์ แต่ IEA คาดว่า กำลังการผลิตใหม่รายปีจะลดลงในปี 2564 และ 2565 อยู่ที่ 22.5 และ 18 กิกะวัตต์ เนื่องจากสิทธิประโยชน์ทางภาษี ทั้งพลังงานแสงอาทิตย์และลมหมดอายุไปแล้ว สำหรับโครงการบนบก และกำลังจะหมดอายุลงในปี 2564 สำหรับโครงการในทะเล
ช่วงการเปลี่ยนผ่านนโยบายสนับสนุนโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน คงต้องรอดู ท่าทีรัฐบาลจีนว่า จะต่ออายุมาตรการหรือออกสิทธิประโยชน์อะไรมาสนับสนุนธุรกิจพลังงานหมุนเวียนให้ไปได้ต่อ หรือสร้างความเชื่อมั่นให้แต่ละบริษัทในการวางแผนโครงการต่อไปในอนาคต
แต่ที่ต้องยอมรับในภาพใหญ่ คือ จีนครองสัดส่วนกำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนมากที่สุดในโลก นับแค่ปี 2563 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 49.22 จากกำลังผลิตรวม 173.3 กิกะวัตต์ทั่วโลก สูงกว่าสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ที่มีกำลังการผลิต 29 และ 26.1 กิกะวัตต์ตามลำดับ
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.engadget.com/ และ https://www.forbesthailand.com/investment-