ตลาดโซล่าร์เซลล์คึกคัก คาดว่าปี 2579 รับซื้อรวมถึง 6,000 MWp
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าค่อนข้างสูง โดยจากภาพถ่ายดาวเทียมที่บันทึกโดย องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NASA) เมื่อเปรียบเทียบกันในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ประเทศไทยจะมีจุดแสงไฟในตอนกลางคืนมากกว่าเพื่อนบ้านอย่างเห็นได้ชัด เช่นเดียวกับข้อมูลจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จากปี 2512 มีความต้องการใช้ไฟฟ้าที่ 638.10 เมกะวัตต์ (MW) เพิ่มขึ้นมาเป็น 27,435.80 เมกะวัตต์ (MW) ในปี 2558 ไทยเคยเกิดโกลาหลเรื่องไฟฟ้ามาแล้ว เมื่อปี พ.ศ.2552 เมื่อแหล่งก๊าซยาดานา ประเทศพม่า เกิดหยุดจ่ายก๊าซกระทันหันในเช้าวันที่ 15 ส.ค. ทำให้ กฟผ. ต้องตัดสินใจเพิ่มการผลิตจากเขื่อนศรีนครินทร์ จากที่เดินเครื่อง 3 ตัวเป็น 5 ตัว ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมในเขตจังหวัดกาญจนบุรี โดย กฟผ. ได้ออกมาขอโทษประชาชนที่ไม่ได้แจ้งล่วงหน้า โดยยอมรับว่าเป็นเรื่องเร่งด่วนทำให้ไม่ได้แจ้งเตือนประชาชน ด้วยสาเหตุต่างๆนี้เป็นเหตุผลของการพยายามในการสร้างโรงไฟฟ้าที่ให้พลังงานมาก มีความเสถียรในการผลิต แต่มีต้นทุนต่ำ เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหิน และโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ แต่โรงไฟฟ้าทั้ง 2 แบบกลายเป็นเรื่องต้องห้ามสำหรับประเทศไทยไปแล้ว เพราะถูกคัดค้านทุกครั้งที่มีโครงการขึ้นมา แม้แต่โรงไฟฟ้าชีวมวลที่ใช้พลังงานความร้อนจากการเผาขยะก็ถูกต่อต้านไม่แตกต่างกัน
มีการสนับสนุนจากทางภาครัฐอย่างต่อเนื่องที่จะผลักดันให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความมั่นคงทางด้านพลังงาน โดยการใช้พลังงานทดแทน ซึ่งที่กำลังมาแรงในตอนนี้คงหนีไม่พ้นโซล่าร์รูฟท็อป นายวีระพล จิรประดิษฐกุล กรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยว่า “ปีนี้ คาดว่าจะเห็นเม็ดเงินลงทุนผ่านการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนรวม 874 เมกะวัตต์ อยู่ที่ 4.37 หมื่นล้านบาท หรือใช้เงินลงทุนราว 50 ล้านบาทต่อ 1 เมกะวัตต์ ไม่รวมมูลค่าที่ดิน และเป็นส่วนสำคัญที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจ”
รูปภาพโซล่าร์รูฟท็อปบนหลังคาโรงสีข้าว (ประเภทธุรกิจอุตสาหกรรม)
นอกจากนี้เทคโนโลยีผลิตไฟฟ้าพัฒนารวดเร็วทำให้ผู้ประกอบการหันไปผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา (โซล่าร์รูฟท็อป)มากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผู้ผลิตไฟใช้เอง หรือ Isolated Power Supply (IPS) ที่มีแนวโน้มเติบโตมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันกลุ่ม IPS ผลิตไฟฟ้าแล้ว 83 เมกะวัตต์ และจะเป็นส่วนสำคัญที่ผลักดันให้บรรลุเป้าหมายในแผนเออีดีพี ทั้งนี้ในปัจจุบันกลุ่ม IPS ที่ติดตั้งโซล่าร์รูฟท็อปที่มีขนาดต่ำกว่า 1 เมกะวัตต์ ไม่ต้องขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน(รง.4) แต่จะต้องมาจดแจ้งใบอนุญาตจากกกพ. และขอใบอนุญาตพลังงานควบคุมจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เพื่อนำไปเชื่อมกับระบบสายส่งของการไฟฟ้าตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดให้ติดตั้งโซล่าร์เซลล์ผลิตไฟฟ้าใช้เองมีขนาดใหญ่กว่า 10 กิโลวัตต์ จะต้องติดตั้งเครื่องดีเลย์เพื่อไม่ให้ไฟฟ้าไหลย้อนกลับเข้าระบบของการไฟฟ้า จึงจะขอเชื่อมระบบสายส่งได้
รูปภาพการติดตั้งโซล่าร์บนหลังคาอาคารจอดรถ
รูปภาพโซล่าร์รูฟท็อป(ประเภทอาคารบ้านเรือน)
จะเห็นได้ว่าการลงทุนในด้านการประหยัดค่าไฟด้วยการติดตั้งโซล่าร์เซลล์เป็นที่นิยมทั้งในประเภทอาคารธุรกิจ อุตสาหกรรม รวมไปถึงการติดใช้ในครัวเรือนอย่างการติดตั้งบนหลังคาบ้าน และหลังคาโรงจอดรถ หากท่านสนใจสามารถขอรับคำปรึกษาจากทางเราได้ฟรี
ขอบคุณข่าวจาก
หนังสือพิมพ์แนนหน้า หน้า 13 ฉบับวันที่ 29 พ.ค. 2560
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ หน้า 7 ฉบับวันที่ 30 พ.ค. 2560