ตัวอย่างความสำเร็จของการนำโซลาร์เซลล์มาใช้ในภาคอุตสาหกรรม
โซลาร์เซลล์ถือเป็นพลังงานทางเลือกและเป็นเทคโนโลยีสะอาดที่กำลังได้รับความสนใจในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอุตสาหกรรมที่หลายธุรกิจหันมาลงทุนเรื่องนี้ เนื่องด้วยโซลาร์เซลล์ราคาโรงงานที่มีราคาถูกลง รวมถึงมีโอกาสในการสร้างรายได้และการทำกำไรให้กับโรงงานหรือภาคธุรกิจได้ในอนาคต วันนี้ KG Solar ผู้ให้บริการระบบพลังงานแสงอาทิตย์ครบวงจรพร้อมการติดตั้งโซลาร์เซลล์ราคาโรงงาน ได้นำเอาตัวอย่างความสำเร็จของการนำเอา Solarcell มาใช้ในอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจในรูปแบบต่าง ๆ ในต่างประเทศมาฝากกัน
ประเทศจีนถือเป็นประเทศที่มีตัวอย่างความสำเร็จในการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ที่ชัดเจน และสามารถเป็นต้นแบบให้กับโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทยได้เรียนรู้เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ได้เป็นอย่างดี เริ่มต้นที่ภาคอุตสาหกรรมการเกษตรไร่ชาในมณฑลยูนนาน ที่มีการติดตั้ง Solarcell บนกระจกแบบโปร่งแสงจึงทำให้ไม่เกิดผลกระทบกับการเจริญเติบโตของต้นชา อีกทั้งยังมีประสิทธิภาพในการบำรุงดินไปด้วยในตัว ไม่เพียงเท่านั้นสวนชาพลังงานแสงอาทิตย์แห่งนี้ยังช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 80,000ตันต่อปี ถือเป็นการผสมผสานระหว่างการเกษตรแบบดั้งเดิมกับการใช้พลังงานสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ช่วยเพิ่มสัดส่วนของพลังงานหมุนเวียนเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนในพื้นที่
นอกจากไร่ชาแล้ว ยังมีกระชังปลา ในเมืองหวายอัน ที่มีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ครอบคลุมบ่อปลาทั้งหมด ถือเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างดีของการผสมผสานการเกษตรและพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าในอุตสาหกรรมประมงขนาดใหญ่
และตัวอย่างสุดท้ายที่นำมาฝากกันจากประเทศจีนก็คือนิคมอุตสาหกรรม Lao Shan Industrial Park ในเมืองเว่ยไห่ ที่มีการติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาของนิคมอุตสาหกรรม เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าใช้ในภาคการผลิตของอุตสาหกรรมเองมาตั้งแต่ปี 2015
มาถึงภาคธุรกิจกันบ้าง กับ Puerto Rico Convention Center ที่มีการติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาของศูนย์ประชุมที่ใหญ่ที่สุดในคาบสมุทรทะเลแคริบเบียน เพื่อให้การผลิตไฟฟ้าประมาณ 8,000 MWh ต่อปี สำหรับเป็นแหล่งผลิตพลังงานทางเลือกในระยะยาว
หรือแม้แต่ธุรกิจขนาดเล็กอย่างศูนย์สุขภาพ Tiburcio Vasquez Health Center ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ที่ประสบความสำเร็จในการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปขนาด 200 กิโลวัตต์ บนดาดฟ้าและหลังคาลานจอดรถ เพื่อช่วยลดต้นทุนด้านพลังงาน อีกทั้งยังได้สิทธิประโยชน์ในด้านภาษีเนื่องจากการใช้พลังงานสะอาดได้อีกด้วย
การติดตั้งโซลาร์เซลล์ราคาโรงงานถือเป็นสิ่งที่น่าสนใจสำหรับโรงงานทุกประเภท รวมถึงภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ ด้วย เพราะนอกจากจะช่วยลดต้นทุนค่าไฟฟ้าได้แล้ว ธุรกิจของคุณยังมีส่วนช่วยโลกใบนี้ที่กำลังแย่ลง เรียกได้ว่าเป็นประโยชน์แบบสองต่อ ดังตัวอย่างธุรกิจที่เราได้นำมาเสนอไปแล้ว
ภาพรวมการใช้งานโซลาร์เซลล์ของโลก
– ญี่ปุ่น มีกำลังการติดตั้งโซลาร์เซลล์แล้วทั้งสิ้น 67,000 เมกะวัตต์ (MW) โดยแหล่งพลังงานทางเลือก เช่น พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานหมุนเวียนอื่น ๆ ได้รับความนิยมมากขึ้นตั้งแต่เกิดภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟุกุชิมะในปี 2011 ทั้งนี้ กำลังการติดตั้งโซลาร์เซลล์ของญี่ปุ่นอาจสูงถึง 100 กิกะวัตต์ (GW) ภายในปี 2025 ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลและต้นทุนโซลาร์เซลล์
– เยอรมนี มีกำลังการติดตั้งโซลาร์เซลล์แล้วทั้งสิ้น 53,783 เมกะวัตต์ (MW) โดยรัฐบาลเยอรมันได้เสนอให้เพิ่มเป้าหมายการติดตั้งโซลาร์เซลล์เป็น 100 กิกะวัตต์ (GW) ในปี 2030 และแม้ว่าเยอรมันจะเป็นประเทศที่ตั้งอยู่พื้นที่ที่มีแดดน้อย แต่ร้อยละ 50 ของการใช้พลังงานทั้งหมดในประเทศมาจากแสงอาทิตย์และคาดว่าตัวเลขดังกล่าวจะเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 65 ภายในปี 2030
– อินเดีย มีกำลังการติดตั้งโซลาร์เซลล์แล้วทั้งสิ้น 39,211 เมกะวัตต์ (MW) โดยอินเดียได้ตั้งเป้าหมายในการเพิ่มการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์เป็น 280 กิกะวัตต์ (GW) ภายในปี 2030-2031 อีกด้วย
– สหรัฐฯ มีกำลังการติดตั้งโซลาร์เซลล์แล้วทั้งสิ้น 75,572 เมกะวัตต์ (MW) ซึ่งสหรัฐฯ ได้ตั้งเป้าหมายที่จะลดการปล่อยคาร์บอน ร้อยละ 80 ในภาคการผลิตไฟฟ้าภายในปี 2030 และมุ่งสู่การใช้พลังงานไฟฟ้าหมุนเวียน 100% ภายในปี 2035 นอกจากนี้ The Solar Futures Study โดย Department of Energy ยังเผยว่า ในปี 2035 สหรัฐฯ จะมีศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ถึงร้อยละ 40 ของการผลิตไฟฟ้าในสหรัฐฯ ทั้งนี้ พลังงานแสงอาทิตย์จะมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนภาคพลังงานของสหรัฐฯ ให้เป็นพลังงานสะอาดและจะช่วยทำให้สหรัฐฯ สามารถบรรลุเป้าหมายในการลดการปล่อยคาร์บอนได้ในอนาคตอันใกล้อีกด้วย
– จีน มีกำลังการติดตั้งโซลาร์เซลล์แล้วทั้งสิ้น 254,355 เมกะวัตต์ (MW) ซึ่งจีนได้มีการตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์เป็น 1,200 กิกะวัตต์ (GW) ภายในปี 2030 นอกจากนี้ ยังได้มีการคาดการณ์ว่า ภายในปี 2050 การบริโภคพลังงานทดแทนในประเทศจีนจะมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 60 ของการบริโภคพลังงานขั้นสุดท้ายทั้งหมดของจีน หรือคิดเป็นร้อยละ 86 ของการผลิตพลังงานไฟฟ้าของจีน4
ทั้งนี้ จีนถือเป็นผู้นำในตลาดสินค้าโซลาร์เซลล์ของโลก โดยได้รับอุปสงค์ภายในประเทศจากการเพิ่มกำลังผลิตของพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อควบคุมปัญหาด้านมลภาวะและอุปสงค์จากต่างประเทศ ได้แก่ เทรนด์พลังงานสะอาดที่กำลังเป็นที่นิยมไปทั่วโลก
สำหรับประเทศไทยนั้น พบว่า ในปี 2020 ที่ผ่านมา กำลังผลิตติดตั้งไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน มีปริมาณรวม 12,005 เมกะวัตต์ (MW) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 1.3 โดยเป็นกำลังการผลิตติดตั้งไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ 2,979.4 เมกะวัตต์ (MW) หรือคิดเป็นร้อยละ 24.88