กรุงโซล เมืองหลวงที่เต็มไปด้วยโซลาร์เซลล์
ภายในปี 2565 เมืองหลวงของเกาหลีใต้ เมื่อเดินไปตามถนนในเมืองหลวง จะเห็นการปฎิวัติพลังงานหมุนเวียนเกิดขึ้น ทุกอาคาร และบ้านหลายหลังจะเต็มไปด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ หรือที่เรียกกันว่า “โซลาร์เซลล์”
โครงการโซลาร์ซิตี้โซลพยายามจะลดการใช้พลังงานจากถ่านหิน ก๊าซ นิวเคลียร์ และได้ตั้งเป้าหมายที่จะผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 35% จากพลังงานหมุนเวียนภายในปี 2583
ประชากร และภาคธุรกิจในกรุงโซลได้มีส่วนร่วมในการริเริ่มเพื่อให้พลังงานแสงอาทิตย์สามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้นและใช้ในยามจำเป็น โครงการโซลาร์ซิตี้โซลได้เพิ่มกำลังการผลิตให้เพียงพอ เพื่อที่จะลด CO2 ได้มากกว่า 100 ตัน
รัฐบาลกล่าวว่าจะติดตั้งแผงในอาคารสาธารณะทุกหลังที่มีพื้นที่เพียงพอ ภายในปี 2565 และช่วยให้ครัวเรือนหนึ่งในสี่ของเมือง 4 ล้านครัวเรือนติดตั้งด้วยเช่นกัน เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่าครึ่งล้านตันต่อไป
โครงการโซลาร์บุกเบิกของโซลได้รับรางวัลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระหว่างประเทศครั้งที่สองในปีนี้ มากกว่า 160,000 หลังคาเรือนในเมืองใช้แผงโซลาร์เซลล์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าของตัวเองและได้วางแผนที่จะไปให้ไกลยิ่งขึ้น โดยมีการกำหนดใช้แผงโซลาร์เซลล์ในถนนทั้งสาย เพื่อแสดงการปฏิวัติพลังงานแสงอาทิตย์ วางแผนที่จะเป็นเขตพลังงานอัจฉริยะโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อให้ตัวเองมีพลังงานอย่างน้อย 30%
โซลหวังที่จะได้ความสำเร็จเหมือนกับเมืองไฟรบูร์กประเทศเยอรมนี ที่ชานเมือง Vauban กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวด้วยสถาปัตยกรรมที่เป็นมิตรกับแสงอาทิตย์ โดยโซลจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมพลังงานแสงอาทิตย์ระหว่างประเทศในปีหน้า และเป็นสมาชิกของกลุ่ม C40 ซึ่งรวบรวมผู้นำของประเทศที่มุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อีกทั้งยังมีการวางแผนที่จะใช้ไฮโดรเจนในการสร้างเมืองใหม่สามแห่งในพื้นที่ตั้งแต่การทำความร้อนในบ้านไปจนถึงการขนส่งภายในปี 2565
กรุงโซล มีพื้นที่ 605.21 ตารางกิโลเมตร มีศักยภาพด้าน ‘พลังงานแสงอาทิตย์’ ในระดับที่ดี โดยมีค่าชั่วโมงแสงแดด(sunshine hours) เฉลี่ยที่ 2,066 ชั่วโมงต่อปี และแม้จะเป็นเมืองที่มีหิมะตกก็ตกเฉลี่ยแค่ 24.9 วันต่อปี เท่านั้น ปัจจัยเหล่านี้ทำให้การดึงเอาศักยภาพ ‘พลังงานแสงอาทิตย์’ ที่สาดส่องมาในเมืองมาผลิต ‘ไฟฟ้า’ ระดับ ‘เมกะวัตต์’ (MW) ขึ้นไป จึงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ แต่วิสัยทัศน์กรุงโซลไปไกลมากกว่านั้น ด้วยการตั้งเป้าผลิตไว้สูงถึง ‘1 กิกะวัตต์’ (1 GW) เลยทีเดียว
จากเหตุภัยพิบัตินิวเคลียร์ที่เมืองฟุกุชิมะ (Fukushima) ประเทศญี่ปุ่น เมื่อเดือนมีนาคม ปี ค.ศ. 2011ผลกระทบอันร้ายแรงจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จึงเป็นแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้กรุงโซลมีเป้าหมายในการส่งเสริมการผลิตพลังงานทางเลือกที่ปลอดภัยและยั่งยืน ซึ่งเป็นนโยบายที่ดำเนินการสอดคล้องไปกับนโยบายหลักของรัฐบาลเกาหลีใต้ด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ กรุงโซลก็มีแผนการสร้าง ‘แลนด์มาร์ค’ เพื่อดึงดูดให้คนสนใจเรื่องนี้โดยเฉพาะ โดยจะสร้าง ‘เขตพื้นที่พิเศษพลังงานแสงอาทิตย์’ เพื่อใช้เป็นแหล่งท่องเที่ยว เช่นเดียวกับที่เมือง Freiburg ประเทศเยอรมนี โดยจะมีการเปลี่ยนพื้นที่ ‘จัตุรัสควางฮวามุน’ (Gwanghwamun Square) ให้เป็นถนนสายพลังงานแสงอาทิตย์ภายในปี ค.ศ. 2020 เช่นเดียวกับที่ World Cup Park และ Jamsil Hangang Park ก็จะกลายมาเป็นถนนสายพลังงานแสงอาทิตย์อีกตามลำดับ แผนการนี้จะเปลี่ยนย่านโซลตะวันตก ให้กลายเป็น ‘พื้นที่พลังงานอัจฉริยะ’(Smart energy area) ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนกระบวนทัศน์พลังงานในเมือง โดยท้องถิ่นอย่างกรุงโซลได้ร่วมมือกับบริษัทพลังงานรายใหญ่ของเกาหลีในการพัฒนาพื้นที่เหล่านี้ โดยย่านพลังงานอัจฉริยะนี้ จะเป็นรูปแบบการพัฒนาเมืองแบบใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อเพิ่มการใช้พลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเมื่อสร้างเสร็จแล้วคาดว่าจะสามารถจ่ายพลังงานไฟฟ้าได้ราว 30 เปอร์เซ็นต์ของความต้องการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ พร้อมกับลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 180,000 ตัน/ปี เลยทีเดียว
โครงการติดตั้งโซลาร์เซลล์ทั้งที่พักอาศัยและพื้นที่สาธารณะเพื่อให้ถึงเป้าหมาย 1 GW ในปี ค.ศ. 2022 นั้น แม้จะต้องใช้งบประมาณถึง 1.7 ล้านล้านวอน (ประมาณ 1.46 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 44,340 ล้านบาท) นอกเหนือจากผลพวงด้านพลังงานไฟฟ้าแล้ว โครงการนี้ก็จะช่วยสร้างตำแหน่งงานใหม่ให้คนที่อาศัย
ในกรุงโซลได้มากถึง 4,500 ตำแหน่งอีกด้วย ถ้าโครงการนี้ประสบความสำเร็จจะสามารถช่วยสร้างความยั่งยืนด้านพลังงานและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ช่วยลดความเหลื่อมล้ำของสังคมเกาหลีใต้ไปได้ไม่มากก็น้อย