โซล่าเซลล์เพื่อชาวนา ด้วยศูนย์เรียนรู้การเกษตรอทิตยาทร จังหวัดสุรินทร์
เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2560 ที่ผ่านมาทางบริษัทเค.จี เอนเนอร์จี จำกัด ได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการดีดีร่วมกับศูนย์เรียนรู้การเกษตรอทิตยาทร จังหวัดสุรินทร์ โดยได้มีการไปติดตั้งโซล่าเซลล์ทั้งสิ้น 10 กิโลวัตต์ที่โรงสีข้าวภายในโครงการ โดยเป็นโรงสีข้าวขนาดกลางที่เปิดให้ชาวบ้านสามารถนำข้าวมาสีได้ฟรี 5 ไร่ต่อ 1 ครอบครัว ซึ่งการติดตั้งโซล่าเซลล์ในครั้งนี้จะเป็นการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการสีข้าวของชาวนา และทั้งของทางโครงการเองในเรื่องของการประหยัดค่าไฟ
โดยการติดตั้งในครั้งนี้เป็นการติดตั้งแบบต่อเข้ากับระบบสายส่งของทางการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือที่เรียกกันว่าระบบออนกริด (On grid system) โดยใช้แผงแบบโพลีคาร์บอเนตของแคนาเดียนโซล่า ขนาด 250 วัตต์ จำนวนทั้งสิ้น 40 แผง และอินเวอร์เตอร์ (Tranergy) 1 ตัว 3 เฟส ทั้งนี้ทางบริษัทเค.จี. ใช้เวลาในการดำเนินการติดตั้งเพียง 2 วัน คือวันที่ 21-22 พฤษภาคม 2560 และเริ่มจ่ายไฟใช้งานกันในวันที่ 22 พฤษภาคม 2560 ซึ่งหลังจากนี้จะมีการเฝ้าติดตามผลการประหยัด ในเรื่องการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์จะช่วยลดค่าไฟของโครงการไปได้ทั้งสิ้นเป็นจำนวนกี่หน่วย จากการติดตั้งทางเราได้มีการนำภาพการติดตั้งในโครงการมาให้ได้รับชม
โดยการติดตั้งในครั้งนี้เป็นการติดตั้งแบบต่อเข้ากับระบบสายส่งของทางการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือที่เรียกกันว่าระบบออนกริด (On grid system) โดยใช้แผงแบบโพลีคาร์บอเนตของแคนาเดียนโซล่า ขนาด 250 วัตต์ จำนวนทั้งสิ้น 40 แผง และอินเวอร์เตอร์ (Tranergy) 1 ตัว 3 เฟส ทั้งนี้ทางบริษัทเค.จี. ใช้เวลาในการดำเนินการติดตั้งเพียง 2 วัน คือวันที่ 21-22 พฤษภาคม 2560 และเริ่มจ่ายไฟใช้งานกันในวันที่ 22 พฤษภาคม 2560 ซึ่งหลังจากนี้จะมีการเฝ้าติดตามผลการประหยัด ในเรื่องการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์จะช่วยลดค่าไฟของโครงการไปได้ทั้งสิ้นเป็นจำนวนกี่หน่วย จากการติดตั้งทางเราได้มีการนำภาพการติดตั้งในโครงการมาให้ได้รับชม
แล้วทำไมต้องระบบโซล่าเซลล์
พลังงานคือหนึ่งในพื้นฐานที่ไม่ว่าอุตสาหกรรมใดก็มีความต้องการ ยิ่งในด้านการเกษตรที่มีการพัฒนาสินค้าต่างๆ ร่วมกับชุมชน ที่ต้องการพลังงานปริมาณมากและยังต้องเป็นพลังงานสะอาด เหมาะสมกับคนในชุมชนเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการ
โซล่าเซลล์จึงกลายเป็นทางเลือกใหม่ที่ตอบโจทย์ด้านพลังงานพื้นฐานของชุมชนเป็นอย่างดี ซึ่งในระดับโลกเองโซล่าเซลล์ก็มีบทบาทในการช่วยเกษตรกรมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็น
-นวัตกรรมปั้มน้ำโซล่าเซลล์ สามารถผันน้ำจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งได้โดยไม่ต้องลากสายไฟฟ้า สามารถใช้งานได้ดีโดยเฉพาะพื้นที่ที่อยู่ห่างไกล ขาดแคลนแหล่งพลังงาน หรือพื้นที่ที่ไฟฟ้าเข้าไปไม่ถึงหรือไฟฟ้าขาดความเสถียร
-นวัตกรรมโซล่าเซลล์ควบคู่กับหุ่นยนต์สำรวจแปลงผัก ในตอนนี้หุ่นยนต์ไม่ใช่เรื่องที่แปลกใหม่อีกต่อไปแล้ว แต่การให้พลังงานและการประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพต่างหากคือสิ่งสำคัญ การเพิ่มโซล่าเซลล์เข้ามาทำให้หุ่นยนต์สามารถชาร์จพลังงานแสงอาทิตย์ได้ด้วยตัวเอง เพิ่มระยะเวลาการทำงานได้นานขึ้น
-การประยุกต์ใช้โซล่าเซลล์ร่วมกับแปลงผักไฮโดรโปนิกส์ แปลงผักไฮโดรโปนิกส์คือแปลงผักที่ไม่ใช้ดิน ใช้เพียงแค่น้ำ ร่วมกับระบบต่างๆ เพื่อให้ปุ๋ย ดูแลรักษาผัก การใช้โซล่าเซลล์ร่วมด้วยจะทำให้แปลงผักสามารถอยู่ที่ไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องติดแหล่งพลังงาน หากใช้ควบคู่กับระบบ IoT ยิ่งสะดวกต่อการดูแลรักษามากขึ้น
-ใช้โซล่าเซลล์เพื่อปลูกพืชในทะเลทราย สำหรับประเทศที่มีเขตพื้นที่อยู่ในทะเลทรายเช่น จีน หรือ อียิปต์ ก็เลือกที่จะทำโซล่าฟาร์ม ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าโซล่าเซลล์ทั่วไปในการกระจายพลังงานในพื้นที่ร่วมกับโซล่าเซลล์ปกติด้วย
นอกจากจะใช้โซล่าเซลล์เพื่อเป็นพลังงานให้เหล่าเกษตรกรในโรงเรือนแล้ว ยังมีการใช้งานในเรือนกระจกเพื่อควบคุมอุณหภูมิ รวมถึงใช้เพื่อผันน้ำมาปลูกพืชในแปลงขนาดใหญ่เช่นกัน