ขั้นตอนการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์
ในปัจจุบันการติดตั้งโซล่าเซลล์แบบรูฟท็อป ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเนื่องจากสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น การใช้งานกับโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ หรือกับบ้านเรือนที่พักอาศัย โดยทั่วไปแล้วขั้นตอนในการติดตั้งระบบไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ จะมีขั้นตอนในการติดตั้งหลักๆอยู่ 3 ขั้นตอนใหญ่ๆ นั่นคือ
1. การสำรวจก่อนเริ่มดำเนินการ
2. การติดตั้งระบบ
3. การตรวจสอบหลังจากดำเนินการแล้วเสร็จ
ขั้นตอนสำรวจก่อนการติดตั้งโซล่าเซลล์
ก่อนทำการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ทุกครั้งจะมีการสำรวจบริเวณและพื้นที่ในการติดตั้งอย่างละเอียดเพื่อที่จะสามารถออกแบบระบบให้เหมาะสมกับพื้นที่ใช้งาน และเพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นหลังการติดตั้งได้
1.สำรวจพื้นที่บนหลังคาเพื่อกำหนดจุดที่จะติดตั้งแผงโซล่าเซลล์
2.สำรวจจุดติดตั้งอินเวอร์เตอร์ และตู้ไฟฟ้าของระบบ โซล่าเซลล์ พร้อมวัดขนานพื้นที่เพื่อการติดตั้งที่เหมาะสมมากที่สุด
3.สำรวจจุดที่จะเดินท่อร้อยสายไฟ จากแผงโซล่าเซลล์ ไปยังห้องอินเวอร์เตอร์
4.ตรวจสอบจุดเชื่อมต่อของระบบโซล่าเซลล์ กับระบบไฟฟ้าหลักของอาคาร
ขั้นตอนการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์
1.การติดตั้งโครงสร้างที่รองรับแผงโซล่าเซลล์ (Mounting)
2.การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ตามแบบที่ทำการออกแบบไว้
3.การติดตั้งตู้ไฟฟ้าของระบบโซล่าเซลล์
4.การติดตั้งเครื่องอินเวอร์เตอร์
5.การติดตั้งท่อร้อยสายไฟและการเดินสายไฟจาก แผงโซล่าเซลล์ไปยังจุดติดตั้งตู้อินเวอร์เตอร์
6.การเชื่อมต่อระบบโซล่าเซลล์เข้ากับระบบไฟฟ้าภายในอาคาร
ขั้นตอนการตรวจสอบหลังการติดตั้งแล้วเสร็จโซล่าเซลล์
1.ทดสอบเปิดระบบเพื่อดูความเรียบร้อยของระบบที่ทำการติดตั้งไป
2.ตรวจสอบการความเรียบร้อยหลังติดตั้งแผงโซล่าเซลล์
Solar Mounting. คืออะไร ?
Solar Mounting เป็นกระบวนการที่สำคัญอย่างหนึ่งในการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ เพราะถ้าหากติดตั้งไม่ดี หรือ ไม่มีความเชี่ยวชาญมากพอก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาการรั่วซึ่มของหลังคาในระยะยาวได้ และ การแก้ปัญหาเรื่องเหล่านี้ค่อนข้างยาก และ ใช้เวลาค่อนข้างนาน
ที่สำคัญในการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ คือ อุปกรณ์จับยึดแผงโซล่าเซลล์ หรือ Solar Mounting โดยจะมีหลายรูปแบบตามลักษณะสำคัญของหลังคาที่จะติดตั้ง เช่น เมทัลชีท กระเบื้อง CPAC กระเบื้องแผ่นเรียบ และ กระเบื้องลอนคู่ ซึ่งตัวยึดหลังคาจะแตกต่างกันvvออกกไป โดยวัสดุที่ทำอุปกรณ์จับยึดแผงโซล่าเซลล์ ที่ได้มาตราฐานควรจะใช้ อลูมิเนียม (โดยส่วนมากเป็น Aluminum 6005-T5 ) และ เหล็กชุบกันสนิม ( HDG : Hot dip galvanize ) เป็นส่วนสำคัญ เนื่องจากวัสดุเหล่านี้ไม่เป็นสนิมตลอดอายุการใช้งาน และ น้ำหนักเบาโดยจะไม่เพิ่มน้ำหนักให้กับโครงหลังคาเดิม แต่ยังคงรับน้ำหนักของแผ่นได้ โดยรายละเอียดแล้วอุปกรณ์หลักๆ จะมีดังนี้
ตัวยึดหลังคามีหลายแบบ โดยขึ้นอยู่กับหลังคา เช่น tile roof hook ที่สำหรับยึดหลังคาที่ปูด้วยกระเบื้อง CPAC กระเบื้องแผ่นเรียบ หรือ L-Fleet ซึ่งใช้กับงานหลังคาอลูมิเนียม และ Tin roof champ เป็นอุปกรณ์ที่คล้ายคลิป ไปหนีบกับลอนของหลังคาเมทัล sheet
Mid-Clamp คือตัวยึดระหว่างแผงโซล่าเซลล์แต่ละแผ่น โดยตัวยึดนี้จะมีความหนาขึ้นอยู่กับความหนาของแผ่น เช่น 35 mm. (Longi) 40mm. (Jinko)
End-Clamp คือตัวยึดแผงโซล่าเซลล์ที่ทำหน้าที่ปิดหัวและท้ายของแต่ละแถวของแผงโซล่าเซลล์ โดยตัวยึดนี้จะมีความหนาขึ้นอยู่กับความหนาของแผ่น เช่น 35 mm. (Longi) 40mm. (Jinko)
รางรับแผ่งโซล่าเซลล์ (Rail) ส่วนมากจะทำด้วยอลูมิเนียม มีความยาว 2-4 เมตร และเป็นรางสองชั้นสำหรับยึดแผ่ง และ ตัวยึดหลังคา
Ground Clip เป็นตัวแผ่นโลหะบางสำหรับจิกกับ Rail เพื่อให้โครงแผงโซล่าเซลล์กับ Rail เชื่อมถึงกัน โดยทั่วไปจะวางสอดเข้าไปตอนที่ยึด Mid-Clamp
Earth Lug เป็นอุปกรณ์สำหรับยึดสายกราวด์ในแต่ละแถว ลงไปยังระบบกราวด์หลัก
Connector ตัวยึดระหว่างรางเข้าด้วยกัน หากต้องการความยาวมากกว่า 2-4 เมตร
ในการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์นั้นถือว่าเป็นการ ดัดแปลงหลังคา ซึ่งอาจจะทำให้ทำให้ผู้ติดตั้งเกิดความกังวลว่าหลังคาจะรั่วซึ่มหรือไม่ ซึ่งโดยปกติแล้ว อุปกรณ์จับยึดแผงโซล่าเซลล์ จะออกแบบมาเพื่อไม่ให้เกิดเหตการณ์ดังกล่าว โดยทำระยะ gap ที่ติดตั้งจะเกิดน้อยที่สุดทำให้โอกาสการรั่วนั้นน้อยมาก แต่ก็มีผู้ติดตั้งหลายรายอาจจะเพิ่มความมั่นใจให้ลูกค้าโดยการเพิ่มอุปกรณ์ที่เรียกว่า sealant ซึ่งใช้ในงานซ่อมหลังคาบ้านทั่วไป โดยจะมีหลายประเภท
สีกันซึม (roof seal) ส่วนมากจะทำด้วยอะคริลิก ยืดหยุ่นตัวสูง ยึดเกาะกับวัสดุได้หลากหลาย ผสมสารเคมีพิเศษ ช่วยสะท้อนรังสีความร้อน และ ปกปิดรอยแตกลายงาได้ดี โดยสีกันซึมเหมาะกับการยึดที่มีระยะ gap น้อย หรือมีการแตกร้าวของหลังคาซึ่งจะทำให้กักซึมได้ยาวนาน
ซิลิโคนซีลแลนท์ (sealant) เป็นลักษณะหลอด โดยทำจากอะคริลิก หรือ โพลียูรีเทน ยืดหยุ่นตัวสูง ยึดเกาะกับวัสดุได้หลากหลาย มีความต้านทานรังสียูวี UV โดยซิลิโคนซีลแลนท์เหมาะกับการยึดที่มีระยะ gap ที่ค่อนข้างมาก เช่น การปิดระยะ gap ของหลังคากระเบื่อง CPAC หรือ กระเบื่องแผ่นเรียบ
แผ่นปิดรอยต่อหลังคา ทำด้วยกาวยางสังเคราะห์บิวทิ เป็นนวัตกรรมใหม่ที่ไม่ต้องรอให้แห้ง โดยสามารถใช้ได้ทั้ง gap น้อย และ มาก เพื่อป้องกันการรั่วซึมได้อย่างเด็ดขาด มีการเสริมแกนกลางด้วยตะแกรงอลูมิเนียมสามารถดัดขึ้นรูปตามลอนหรือร่องได้ง่าย ยึดติดได้แนบแน่นกับผิวสัมผัส ทาสีทับได้ จึงสวยงามกลมกลืนกับผืนหลังคา มีอายุการใช้งานยาวนาน
สำหรับ KG Solar นั้นทำงานด้วยมาตรฐาน ISO มาตรฐานสากลที่ทั่วโลกยอมรับ ออกแบบ ติดตั้ง บำรุงรักษา พร้อมดูแลระบบของคุณไปตลอด 25 ปี+ เราให้ความสำคัญในการบริการหลังการขายเป็นอันดับ 1 ผลงานการติดตั้งโซล่าเซลล์กว่า 1,000 โครงการ