เมืองในประเทศยูเครนที่กำลังถูกฟื้นฟูโดยพลังงานแสงอาทิตย์
26 กันยายน 2022by admin

ยูเครนเปิดตัวโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขึ้นในเมือง เชอร์โนบิล (Chernobyl) ทางตอนเหนือของประเทศยูเครน ซึ่งอยู่ใกล้กับพื้นที่ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ซึ่งเคยเกิดภัยพิบัติทางนิวเคลียร์ที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์เมื่อ 30 ปี ที่ผ่านมา
โรงงานแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นในพื้นที่ที่ถูกปนเปื้อนด้วยสารกัมมันตภาพรังสีจากโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เกิดการระเบิดอย่างรุนแรงขึ้นในอดีต
ในเดือนเมษายนปี พ.ศ 2529 การทดสอบเครื่องปฏิกรณ์หมายเลข 4 ภายในโรงผลิตไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ของสหภาพโซเวียต (ในขนะนั้นยูเครนยังเป็นส่วนหนึงของสหภาพโซเวียต) เกิดความผิดพลาดขึ้นส่งผลให้เกิดการระเบิดของวัตถุนิวเคลียร์ หลังเกิดการระเบิดขึ้น ภายในทวีปยุโรปมีคำสั่งให้ประชากรนับแสนคนอพยพออกไปจากพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการปนเปื้อนจากสารกัมมันตภาพรังสี

คนงานของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และพนักงานดับเพลิงกว่า 30 คนเสียชีวิตทันทีในที่เกิดเหตุ สาเหตุหลักของการเสียชีวิตเกิดจากการได้รับสารรังสีที่เป็นอันตรายอย่างเฉียบพลัน
ประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่หลายพันรายได้รับความทุกข์ทรมานจากโรคเที่เกิดจากการได้รับสารกัมมันตภาพรังสี เช่น โรคมะเร็ง เป็นต้น จำนวนผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ทั้งหมด และผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว ก็ยังคงเป็นเรื่องที่มีการถกเถียงกันอยู่
โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แห่งนี้ เป็นการร่วมมือกันระหว่าง บริษัท Rodina ของประเทศยูเครน และ บริษัท Enerparc AG ของประเทศเยอรมัน ซึ่งการลงทุนในโครงการนี้อยู่ที่ประมาณ 1 ล้านยูโร (1.2 ล้านเหรียญสหรัฐ)

โดยโรงงานไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ ประกอบด้วยแผงโซล่าเซลล์จำนวน 3,800 แผง สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าให้อพาร์ทเม้นได้กว่า 2,000 แห่ง
โรงไฟฟ้านี้เริ่มผลิตไฟฟ้าเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 หลังจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ถูกปิดตัวลง
Valery Seyda อดีตหัวหน้าของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เชอร์โนบิล (Chernobyl) เคยกล่าวไว้ว่า “ดูเหมือนว่าพื้นที่ดังกล่าวจะไม่สามารถผลิตพลังงานใดๆได้อีกแล้ว แต่ตอนนี้เรากำลังมองเห็นต้นกล้าเล็กๆ กำลังเกิดขึ้นในพื้นที่นี้ และนี่ถือเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นมาก” เขากล่าว
การเกิดขึ้นของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แห่งนี้ เป็นสัญญานที่ดีของการเริ่มต้นพัฒนาพื้นที่ที่เคยเกิดภัยพิบัติรุนแรง และการนำพลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์มาเพื่อใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนในอนาคต