เจาะลึกใบอนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์ มีกี่ประเภท อะไรบ้าง
ในปัจจุบัน การติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นทั้งในฝั่งของธุรกิจ โรงงานอุตสาหกรรม และบ้านพักอาศัย ซึ่งไม่ใช่เรื่องยากหากต้องการติดตั้งเพื่อช่วยลดค่าไฟฟ้าที่แพงขึ้นเรื่อย ๆ แต่ไม่ได้หมายความว่า ติดแล้วจะจบขั้นตอนเลย เพราะก่อนเริ่มโครงการจะต้องทำการขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสียก่อน เพื่อให้มั่นใจว่า การติดตั้งจะได้มาตรฐานและมีความปลอดภัยต่อตัวผู้ใช้งาน วันนี้ KG SOLAR จะพาทุกคนไปเจาะลึกกับใบอนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์คืออะไร อยากได้ใบ พค.2 ต้องทำอย่างไร มีกี่ขั้นตอน มีเอกสารสำคัญอะไรบ้าง ติดตามสาระสำคัญได้ในบทความนี้
ใบอนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์คืออะไร
ใบขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์ คือ เอกสารสำคัญที่ผู้ประกอบการหรือเจ้าของอาคารจำเป็นต้องทำเรื่องขอก่อนดำเนินการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ภายในพื้นที่ของตัวเอง เพื่อให้การติดตั้งและใช้งานเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยและข้อกำหนดของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การไฟฟ้านครหลวง (MEA) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามท้องที่ ซึ่งการขอใบอนุญาตจะแตกต่างกันไปตามประเภทและขนาดของระบบโซลาร์เซลล์ที่ต้องการติดตั้ง
ใบอนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์มีกี่ประเภท
ใบอนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทหลัก ๆ ตามหน่วยงานที่กำกับดูแล ดังนี้
1. ใบอนุญาตที่ขึ้นตรงกับคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (ตามมาตรา 47)
ใบอนุญาตประเภทแรกเป็นเอกสารที่ต้องดำเนินการขอกับทาง คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ. โดยมี ใบอนุญาต 2 ประเภทแยกย่อย คือ
- ใบอนุญาตประกอบกิจการพลังงาน
- ใบอนุญาตยกเว้นไม่เป็นผู้ประกอบกิจการพลังงาน
ซึ่งทาง กกพ. ให้หลักเกณฑ์แบ่งแยกที่ว่า ถ้ามีการติดตั้งโซลาร์เซลล์ มากกว่าหรือเท่ากับ 1,000 kWp (1Mp) จะถือว่าเป็นผู้ประกอบกิจการพลังงานให้ขอ ใบอนุญาตประกอบกิจการพลังงาน หากน้อยกว่านั้นก็ขอ ใบอนุญาตยกเว้นไม่เป็นผู้ประกอบกิจการพลังงาน
โดยในการยื่นขอใบอนุญาตทั้งสองแบบ ต้องทำ Mini-Cop เหมือนกัน แตกต่างกันตรงที่ การยื่นเป็นผู้ประกอบกิจการพลังงานจะต้องมีการใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) เพิ่มเข้ามาด้วย
2. ใบอนุญาตที่เกี่ยวข้องกับ อาคาร, โรงงาน, นิคมอุตสาหกรรม (ตามมาตรา 48)
ใบอนุญาตสำหรับอาคาร, โรงงาน หรือ นิคมอุตสาหกรรม จะมี 4 ประเภทแยกย่อยตามรูปแบบธุรกิจ และลักษณะของสิ่งปลูกสร้าง โดยมีหน่วยงานผู้รับผิดชอบที่แตกต่างกัน ดังนี้
- ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) ผู้รับผิดชอบ กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.)
- ใบอนุญาตก่อสร้างอาคารควบคุม (อ.1) ผู้รับผิดชอบ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)
- ใบอนุญาตให้ใช้ที่ดินในนิคมฯ (กนอ.01) ผู้รับผิดชอบ การนิคมอุตสาหกรรม (กนอ.)
- ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร (กนอ.02) ผู้รับผิดชอบ การนิคมอุตสาหกรรม (กนอ.)
โดย ตาม พรบ.การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ.2550 กกพ. มีหน้าที่ต้องขอความเห็นชอบจากหน่วยงานข้างต้น นั้นหมายความว่าเราจะต้องได้รับใบอนุญาตในข้อนี้ ก่อนการติดตั้งระบบ และนำไปประกอบเอกสารสำหรับการยื่นขอรับใบอนุญาตในข้อที่ 1 แต่เราไม่จำเป็นต้องขอทั้งหมด ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขแต่ละโครงการ อยู่ที่ว่ากำลังผลิตของเราที่จะติดตั้งมีขนาดเท่าไหร่ อาคาร/โรงงาน และโครงการดังกล่าวอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานไหน
3. ใบอนุญาตให้ผลิตพลังงานควบคุม หรือ ใบ พค.2
ใบอนุญาตให้ผลิตพลังงานควบคุม หรือ ใบ พค.2 คือ เอกสารที่ต้องขออนุญาตจาก กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน เมื่อระบบโซลาร์เซลล์ผลิตไฟฟ้าตั้งแต่ 200 kVA ขึ้นไป และมีเชื่อมต่อโครงข่ายไฟฟ้าเพื่อใช้ในกิจการของตนเองหรือเพื่อจำหน่าย
โดยก่อนที่เราจะทำการขอรับใบอนุญาตในข้อที่ 1 หลังจากที่เราทำการติดตั้งไปแล้วกว่า 95% ให้ทำการยื่นที่ สำนักงาน กกพ. ได้เลย โดยแนบหนังสือระบุวันที่พร้อมให้เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบ และแนบรูปถ่ายเครื่องจักรสำคัญ โดยยื่นล่วงหน้าก่อนวันพร้อมให้เจ้าหน้าที่เข้าตรวจ 1 เดือน
4. ใบอนุญาตที่เกี่ยวข้องกับการไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
สุดท้ายเป็นใบขออนุญาตที่ต้องดำเนินการกับทางการไฟฟ้านครหลวง (MEA) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) มี 2 ประเภทย่อย ดังนี้
- ใบอนุญาตเชื่อมต่อเข้าระบบจำหน่ายของการไฟฟ้านครหลวง
- ใบอนุญาตเชื่อมต่อเข้าระบบจำหน่ายของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
เอกสารทั้งคู่ จะต้องขอรับเมื่อระบบที่เราติดตั้งนั้น มีการเชื่อมต่อการระบบจำหน่ายของการไฟฟ้า โดยตามขอบังคับของการไฟฟ้าทั้งสองหน่วยงาน จะบังคับให้ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์นั้นต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์ที่ชื่อว่า Reverse Relay (อุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้าย้อนกลับเข้าระบบ) ถ้าหากใครที่ติดตั้งระบบและคิดว่าจะมีการเชื่อมขนานไฟฟ้ากับการไฟฟ้า ควรจะคำนึงถึงระเบียบการขนานไฟของการไฟฟ้าด้วย เพราะอุปกรณ์ที่ใช้ส่วนใหญ่ต้องได้รับการขึ้นทะเบียนให้การไฟฟ้าตรวจสอบและอนุญาตเสียก่อน
สรุปเกี่ยวกับใบอนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์
มาถึงตรงนี้คงเจ้ากันแล้วว่า การติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ไม่ว่าจะที่บ้านหรือโรงงานอุตสาหกรรม ต่างก็ต้องขอใบอนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์กันทั้งนั้น เพื่อยืนยันความปลอดภัยและประสิทธิภาพการใช้งานที่ได้มาตรฐานตามที่หน่วยงานภาครัฐกำหนด สำหรับลูกค้า KG SOLAR ทุกราย ไม่ต้องกังวลเรื่องใบอนุญาต พค. 2 และใบอนุญาตอื่น ๆ เพราะพวกเราดำเนินการเรื่องเอกสารให้แบบครบจบทุกขั้นตอน วางใจในมาตรฐานการทำงานโดยทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ และประสบการณ์มากกว่า 36 ปีของ KG SOLAR สนใจติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ โทร. 095-947-9000 หรือแอด Line @kg-solar