ระบบไฟฟ้าโซลาร์เซลล์คืออะไร มีกี่ระบบ ติดตั้งแบบไหนคุ้มสุด
ด้วยสภาวะทางเศรษฐกิจในปัจจุบันส่งผลกระทบไปยังภาคส่วนต่างๆ รวมไปถึงพลังงานไฟฟ้าที่มีค่าวัตถุดิบในการผลิตสูงขึ้นไม่ว่าจะเป็น ก๊าซธรรมชาติ น้ำเชื้อเพลิงและถ่านหิน ซึ่งส่งผลต่อเนื่องมายังค่าไฟฟ้าผันแปรที่มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ระบบโซลาร์เซลล์ได้ถูกพูดถึงและเริ่มได้รับความนิยมกันอย่างกว้างขวางมากขึ้นในประเทศไทย เพราะเป็นแนวทางใหม่ที่ช่วยให้บุคคลทั่วไปและธุรกิจอุตสาหกรรมสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าเองได้โดยเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า และมีความคุ้มค่ามากกว่าในระยะยาว อีกทั้งยังเป็นพลังงานที่สะอาดบริสุทธิ์มากกว่าพลังงานเชื้อเพลิงอีกด้วย วันนี้ KG Solar จะมาอธิบายกับระบบการทำงานต่างๆ อุปกรณ์สำหรับระบบโซลาร์เซลล์และการติดตั้งโซลาร์เซลล์ภายในบ้านให้คุณเข้าใจมากขึ้น
ระบบโซลาร์เซลล์คืออะไร
ระบบโซลาร์เซลล์ หรือไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ คือ พลังงานสะอาดหรือพลังงานหมุนเวียนประเภทหนึ่งที่เป็นการนำแสงอาทิตย์มาใช้งาน เพื่อแปรเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง โดยจะต้องผ่านอุปกรณ์ Solar Rooftop ที่มีระบบ Photovoltaic Effect ที่สามารถส่งไฟฟ้ากระแสตรงที่ได้จากพลังงานแสงอาทิตย์ไปยังส่วนที่เรียกว่า Inverter ให้กลายเป็นไฟฟ้ากระแสสลับเพื่อใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ที่อยู่ภายในพื้นที่ เป็นการลงทุนในระยะยาวที่คุ้มค่าและช่วยลดค่าไฟฟ้าได้จริง
ระบบโซลาร์เซลล์มีกี่ระบบ
โซลาร์เซลล์ในปัจจุบันนั้นสามารถแบ่งออกได้ทั้งหมด 3 ระบบที่แตกต่างกันออกไปดังนี้
1. ระบบออนกริด (On-Grid solar system)
ระบบโซลาร์เซลล์ออนกริด คือระบบที่มีการเชื่อมต่อสายเข้ากับสายส่งไฟฟ้าทั่วไปที่เป็นระบบจ่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง โดยใช้แผงโซลาร์เซลล์เพื่อผลิตไฟฟ้าและจ่ายต่อไปยังหม้อแปลงไฟฟ้าหรือกริดไทอินเวอร์เตอร์ (Grid Tie Inverter) เพื่อเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ให้กลายเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ระบบออนกริดได้รับความนิยมจากบ้านพักอาศัยเป็นอย่างมาก เพราะสามารถขายกระแสไฟฟ้าคืนให้กับทางการไฟฟ้านครหลวงได้ ซึ่งจะต้องทำการขออนุญาตก่อน
2. ระบบออฟกริด (Off-Grid solar system)
ระบบออฟกริด คือ ระบบไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ที่ไม่มีการเชื่อมต่อเข้ากับระบบจ่ายไฟฟ้าจากการไฟฟ้านครหลวง โดยที่แผงโซลาร์เซลล์จะรับพลังงานความร้อนส่งเข้าสู่ตัวอินเวอร์เตอร์ (Inverter) อาจมีแบตเตอรี่เพื่อช่วยเก็บการผลิตไฟเป็นระบบที่เหมาะกันบ้านหรือสถานที่ไฟฟ้ายังเข้าไม่ถึงอย่างชนบท หรือตามถิ่นทุรกันดาร
3. ระบบไฮบริด (Hybrid solar system)
ระบบไฮบริด คือ ระบบไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ที่มีหลักการทำงานเหมือนกับระบบออนกริด โดยมีการเพิ่มฟังก์ชันในส่วนของแบตเตอรี่สำรองลงไป เพื่อใช้งานในยามที่ไม่มีแสงอาทิตย์เมื่อมีการผลิตกระแสไฟฟ้ามากเกินความจำเป็น ระบบจะนำกระแสไฟฟ้าไปชาร์ตไว้ในแบตเตอรี่แทนเพื่อใช้งานในโอกาสอื่นๆ เช่นการนำมาใช้ประหยัดไฟในช่วงกลางวัน หรือสำรองไฟเชื่อมต่ออุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าสำคัญ
อุปกรณ์ที่สำคัญต่อระบบโซลาร์เซลล์
ในการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์นั้นจะต้องอาศัยอุปกรณ์ต่างๆ มากมาย เพื่อให้มีการทำงานที่สมบูรณ์ ครบถ้วน และใช้งานได้อย่างปลอดภัยมากที่สุด โดยมีอุปกรณ์สำคัญดังต่อไปนี้
1. แผงโซลาร์เซลล์
แผงโซลาร์เซลล์เป็นอุปกรณ์ที่นำแสงแดดมาแปรเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งจะมีกำลังวัตต์ไฟฟ้าที่แตกต่างกันออกไปตามลักษณะการใช้งาน มีให้เลือกตั้งแต่ 10 วัตต์เป็นต้นไป ตามหลักการเลือกซื้อแผงโซลาร์เซลล์ควรเลือกซื้อแผงที่มีค่ากำลังไฟมากกว่าการใช้งาน 20% โดยแผงโซลาร์เซลล์ในท้องตลาดมีให้เลือกทั้งหมด 3 ประเภทดังนี้
แผงโซลาร์เซลล์ชนิดโมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Solar Panel)
เป็นแผงโซลาร์เซลล์ที่มีประสิทธิภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้าสูงที่สุด ผลิตมาจาก Silicon ที่มีความบริสุทธิ์สูง ใช้งานได้ในภาวะแสงน้อย สามารถใช้งานได้ราวๆ 25 ปี
แผงโซลาร์เซลล์ชนิดโพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Solar Panel)
เป็นแผงโซลาร์เซลล์ที่มีประสิทธิภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้ารองลงมาจากโมโนโซลาร์เซลล์ ใช้วัสดุเดียวกันแต่มีขั้นตอนการผลิตที่ต่างกัน มีอายุการใช้งานราวๆ 25 ปี
แผงโซลาร์เซลล์ชนิดอะมอร์ฟัส (Amorphous Solar Panel)
เป็นแผงโซลาร์เซลล์ที่มีราคาถูกที่สุดและมีคุณภาพการผลิตกระแสไฟฟ้าและอายุการใช้งานน้อยที่สุด โดยเป็นการนำเซลล์ฟิล์มบางๆ ที่มีคุณสมบัติในการแปลงพลังงานแสงอาทิตย์ได้มาฉาบซ้อนกันหลายๆ ชั้น
2. หม้อแปลงไฟฟ้าหรือ Inverter
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับแปรเปลี่ยนกระแสไฟฟ้าที่รับมาจากแสงแดดให้กลายเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ ควรเลือกหม้อแปลงไฟฟ้า Inverter ที่มีกำลังวัตต์มากกว่าเครื่องไฟฟ้าทั้งหมดในพื้นที่รวมกันราวๆ 30% ขึ้นไป
3. เครื่องควบคุมการชาร์จไฟ
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับควบคุมแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าให้มีปริมาณที่เหมาะสมสำหรับแบตเตอรี่
4. แบตเตอรี่
เป็นอุปกรณ์สำหรับที่ใช้เพื่อสำรองพลังงานที่ได้จากแผงโซลาร์เซลล์และหม้อแปลงไฟฟ้า Inverter โดยจะต้องเลือกแบตเตอรี่ที่มีค่าจ่ายประจุไฟฟ้าและขนาดจุไฟฟ้าให้สอดคล้องกับระบบมากที่สุด
5. อุปกรณ์ป้องกันไฟลัดวงจร
เพื่อช่วยป้องกันเหตุการณ์ไม่คาดคิดจากการเสื่อมสภาพของอุปกรณ์โซลาร์เซลล์
ขั้นตอนการทำงานของระบบโซลาร์เซลล์
การทำงานของระบบไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ โดยรวมจะมีประมาณ 5 ขั้นตอนหลัก ๆ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เริ่มต้นจากการรับแสงอาทิตย์ไปจนถึงการจ่ายกระแสไฟฟ้า โดยขั้นตอนทั้งหมดที่รายละเอียดดังนี้
1. รับแสงอาทิตย์ด้วยแผงโซลาร์เซลล์
หัวใจสำคัญของระบบโซลาร์เซลล์อยู่ที่ แผงโซลาร์เซลล์ เมื่อแสงแดดส่องกระทบลงบนแผง เซลล์เหล่านี้จะดูดซับโฟตอน พร้อมแปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง (DC)
2. ควบคุมและจัดการพลังงานไฟฟ้า
พลังงานไฟฟ้ากระแสตรงจากแผงโซลาร์เซลล์ จะถูกส่งผ่านไปยังตัวควบคุมประจุ (Solar Charge Controller) ทำหน้าที่ควบคุมแรงดันไฟฟ้า ป้องกันแบตเตอรี่จากความเสียหาย และจัดการกระจายไฟฟ้าไปยังอุปกรณ์ต่างๆ
3. เก็บพลังงานไฟฟ้าไว้ใช้ยามต้องการ
พลังงานไฟฟ้าส่วนหนึ่งที่ได้จากแสงอาทิตย์จะถูกเก็บไว้ในแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ สำหรับใช้งานในช่วงเวลากลางคืน หรือเมื่อไม่มีแสงแดด
4. แปลงไฟฟ้าให้ใช้งานได้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไป
โดยใช้อุปกรณ์อย่างอินเวอร์เตอร์ (Inverter) เพื่อทำหน้าที่แปลงไฟฟ้ากระแสตรง (DC) จากแผงโซลาร์เซลล์ หรือแบตเตอรี่ ให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ซึ่งเป็นรูปแบบไฟฟ้าที่ใช้งานได้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป
5. จ่ายไฟฟ้าและเชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้า
ระบบโซลาร์เซลล์ส่วนใหญ่จะเชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้า พลังงานไฟฟ้าส่วนเกินจากการใช้งานจะถูกส่งขายคืนให้กับการไฟฟ้า
หลักการติดตั้งระบบไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ที่เหมาะสม
การติดตั้งระบบไฟฟ้าโซลาร์เซลล์นั้นควรศึกษาเรื่องของทิศทางแสงแดดที่ควรเน้นไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้และทิศใต้มากที่สุด เพราะเป็นทิศที่ได้รับปริมาณแสงแดดมากที่สุด ส่วนตำแหน่งการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์นั้นอันดับแรกต้องเป็นตำแหน่งที่ไม่มีสิ่งใดมาบังหรือกีดขวางแสงแดด และต้องตรวจสอบด้วยว่าตำแหน่งไหนของโครงหลังค่าที่สามารถรองรับน้ำหนักแผงโซลาร์เซลล์ได้ ถ้าให้ดีอาจจะต้องปรึกษากับวิศวกรผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ให้บริการรับติดตั้งโซลาร์เซลล์ครบวงจรโดยตรงจะได้ผลลัพธ์ดีที่สุด
ขั้นตอนการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์
ขั้นตอนการติดตั้งระบบไฟฟ้าโซลาร์เซลล์จาก KG SOLAR จะมีทั้งหมด 5 ขั้นตอนหลัก ๆ ดำเนินการโดนทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ด้านวิศวรกรรมระบบไฟฟ้าและโซลาร์เซลล์ โดยมีรายละเอียดแต่ละขั้นตอนดังนี้
- ประเมินพื้นที่หน้างานและความต้องการของผู้อาศัย เพื่อเลือกระบบโซลาร์เซลล์ ยี่ห้ออินเวอร์เตอร์ และขนาดกำลังไฟที่เหมาะสม และอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพ ให้เหมาะสมกับพฤติกรรมการใช้ไฟของคนในบ้าน
- ออกแบบระบบเพื่อวางแผนการติดตั้ง โดยทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ KG SOLAR จะทำการออกแบบระบบโซลาร์เซลล์ให้เหมาะสมกับหลังคา บ้าน หรือธุรกิจของคุณ พิจารณาปัจจัยต่างๆ เช่น ทิศทาง แสงแดด พื้นที่ว่าง และการใช้งานไฟฟ้า
- ขออนุญาตการติดตั้งจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำหรับระบบโซลาร์เซลล์ขนาดใหญ่ จำเป็นต้องขออนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง KG SOLAR บริการจัดการเอกสารและดำเนินการขออนุญาตให้ครบถ้วน
- ติดตั้งโดยทีมช่างผู้ชำนาญของ KG SOLAR จะติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ตามมาตรฐานความปลอดภัย มั่นใจได้ว่าระบบทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
- ตรวจสอบระบบก่อนส่งมอบงาน KG SOLAR ตรวจสอบระบบอย่างละเอียดก่อนส่งมอบ พร้อมบริการรับประกันหลังการติดตั้ง มั่นใจได้ว่าระบบโซลาร์เซลล์ของคุณจะทำงานได้อย่างยาวนาน
ข้อดีและข้อเสียของการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์
การติดตั้งระบบไฟฟ้าโซลาร์เซลล์มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่ผู้ใช้งานควรทำความเข้าใจก่อนเริ่มติดตั้ง โดยมีรายละเอียดที่ต้องรู้ก่อนดังนี้
ข้อดีของการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์
- ประหยัดค่าไฟฟ้า จากการผลิตไฟฟ้าใช้เอง ประหยัดได้มากถึง 50-80% ขึ้นอยู่กับขนาดระบบและรูปแบบการใช้งาน
- ลดมลพิษ ระบบโซลาร์เซลล์ผลิตไฟฟ้าโดยไม่ต้องเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล ช่วยลดมลพิษทางอากาศและก๊าซเรือนกระจก
- อายุการใช้งานยาวนาน มากถึง 20-25 ปี พร้อมการดูแลจาก KG SOLAR ตลอดอายุการใช้งาน
- บำรุงรักษาง่าย ไม่ต้องดูแลรักษาอะไรมาก เพียงทำความสะอาดแผงโซลาร์เซลล์เป็นประจำ
ข้อเสียของการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์
- พื้นที่ติดตั้งค่อนข้างจำกัด บ้านของคุณต้องมีพื้นที่บนหลังคาเพียงพอสำหรับติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์
- ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า ขึ้นอยู่กับความเข้มของแสงแดดในแต่ละวัน จึงจำเป็นต้องหามุมหรือทิศทางที่เหมาะสมก่อนติดตั้ง
สรุปเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าโซลาร์เซลล์
ระบบโซลาร์เซลล์ ถือเป็นอีกทางเลือกสำหรับในยุคปัจจุบันที่สามารถทดแทนและลดการใช้ไฟฟ้าแบบเดิมได้ อีกทั้งยังช่วยลดค่าไฟฟ้าได้มากกว่าเดิมเท่าตัว เป็นผลมาจากการผลิตกระแสไฟฟ้าขึ้นมาเองด้วยกระบวนการที่นำพลังงานแสงอาทิตย์มาแปรเปลี่ยนผ่านอุปกรณ์ต่างๆ เป็นการลงทุนที่ให้ความคุ้มค่าได้ในระยะยาว ใครที่กำลังมองหาวิธีช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าอยู่วิธีนี้คือทางเลือกที่ตอบโจทย์คุณได้อย่างแน่นอน สำหรับใครที่กำลังมองหาผู้ให้บริการติดตั้งโซลาร์เซลล์ครบวงจร KG Solar ผู้นำด้านโซลาร์รูฟท็อป และการประหยัดพลังงานแบบครบวงจร พร้อมมอบโซลูชันต่างๆ ที่เหมาะสำหรับคุณมากที่สุดด้วยมาตรฐาน ISO:9001 และ ISO:50001 ติดต่อกับพวกเราผ่านเว็บไซต์ได้โดยตรง