ใบอนุญาติสำหรับติดตั้งโซล่าเซลล์ มีอะไรบ้าง?
โดยบทความนี้ จะมาบอกว่าใบอนุญาตต่างๆ สำหรับการติดตั้งโซล่าเซลล์มีอะไรบ้าง และแต่ละใบต้องขอรับตอนไหน มีเงื่อนไขอย่างไร โดยผมขอแบ่งใบอนุญาตหลักๆ ออกตามประเภทหน่วยงาน และกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้วกันนะครับ โดยจะแบ่งได้เป็น 4 ประเภท นั้นก็คือ
1.ที่เกี่ยวข้องกับ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานเป็นผู้ดูแลโดยตรง (ตามมาตรา 47)
– ใบอนุญาตประกอบกิจการพลังงาน
– ใบอนุญาตยกเว้นไม่เป็นผู้ประกอบกิจการพลังงาน
ใบอนุญาตข้างต้น ผมขออนุญาตให้เราถือว่าเป็น ใบอนุญาตใบที่สำคัญสุด ที่เราต้องสนใจเลยแล้วกันนะครับ จะเถื่อนหรอจะแท้ก็ดูกันตรงใบนี้แหละ บอกก่อนเลยว่ากว่าจะได้ เราต้องเก็บรวบรวม ใบอนุญาตอื่นๆมาประกอบเยอะมากๆ T-T
คำถาม : ใบอนุญาตประกอบกิจการพลังงาน และใบอนุญาตยกเว้นไม่เป็นผู้ประกอบกิจการพลังงานแตกต่างกันอย่างไร ?
คำตอบ : ความหมายตามชื่อตรงๆเลย โดย กกพ.ให้หลักเกณฑ์แบ่งแยกที่ว่า ถ้ามีการติดตั้งโซลาร์เซลล์ มากกว่าหรือเท่ากับ 1,000 kWp (1Mp) จะถือว่าเป็นผู้ประกอบกิจการพลังงานให้ขอ ใบอนุญาตประกอบกิจการพลังงาน ถ้าน้อยกว่านั้นก็ขอ ใบอนุญาตยกเว้นไม่เป็นผู้ประกอบกิจการพลังงาน
คำถาม : การยื่นเป็นผู้ประกอบกิจการพลังงาน และยกเว้นไม่เป็นผู้ประกอบกิจการพลังงานขั้นตอนเป็นอย่างไร ?
คำตอบ : การยื่นทั้งสองแบบเหมือนกัน โดยทำ Mini-Cop เหมือนกัน แตกต่างกันตรงที่ การยื่นเป็นผู้ประกอบกิจการพลังงานจะต้องมีการใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) เพิ่มเข้ามาด้วย
2.ที่เกี่ยวข้องกับ อาคาร, โรงงาน, นิคมอุตสาหกรรม (ตามมาตรา 48)
– ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) ผู้รับผิดชอบ กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.)
– ใบอนุญาตก่อสร้างอาคารควบคุม (อ.1) ผู้รับผิดชอบ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)
– ใบอนุญาตให้ใช้ที่ดินในนิคมฯ (กนอ.01) ผู้รับผิดชอบ การนิคมอุตสาหกรรม (กนอ.)
– ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร (กนอ.02) ผู้รับผิดชอบ การนิคมอุตสาหกรรม (กนอ.)
โดย ตาม พรบ.การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ.2550 กกพ. มีหน้าที่ต้องขอความเห็นชอบจากหน่วยงานข้างต้น นั้นหมายความว่าเราจะต้องได้รับใบอนุญาตในข้อนี้ ก่อนการติดตั้งระบบ และนำไปประกอบเอกสารสำหรับการยื่นขอรับใบอนุญาตในข้อที่ 1 แต่เราไม่จำเป็นต้องขอทั้งหมด ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขแต่ละโครงการ อยู่ที่ว่ากำลังผลิตของเราที่จะติดตั้งมีขนาดเท่าไหร่ อาคาร/โรงงาน และโครงการดังกล่าวอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานไหน
3.ที่เกี่ยวข้องกับ กรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน
– ใบอนุญาตให้ผลิตพลังงานควบคุม (พค.2)
จะต้องขอรับเมื่อ ผลิตไฟฟ้าตั้งแต่ 200 kVA ขึ้นไป และมีเชื่อมต่อโครงข่ายไฟฟ้าเพื่อใช้ในกิจการของตนเองหรือเพื่อจำหน่าย
โดยก่อนที่เราจะทำการขอรับใบอนุญาตในข้อที่ 1 หลังจากที่เราทำการติดตั้งไปแล้วกว่า 95% ให้ทำการยื่นยื่นที่ สำนักงาน กกพ. ได้เลย โดยแนบหนังสือระบุวันที่พร้อมให้เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบ และแนบรูปถ่ายเครื่องจักรสาคัญ โดยยื่นล่วงหน้าก่อนวันพร้อมให้เจ้าหน้าที่เข้าตรวจ 1 เดือน
4. ที่เกี่ยวข้องการการไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
-ใบอนุญาตเชื่อมต่อเข้าระบบจำหน่ายของการไฟฟ้านครหลวง
-ใบอนุญาตเชื่อมต่อเข้าระบบจำหน่ายของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
จะต้องขอรับเมื่อระบบที่เราติดตั้งนั้น มีการเชื่อมต่อการระบบจำหน่ายของการไฟฟ้า โดยตามขอบังคับของการไฟฟ้าทั้งสองหน่วยงาน จะบังคับให้ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์นั้นต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์ที่ชื่อว่า Reverse Relay (อุปกรณ์ป้องการกระแสไฟฟ้าย้อนกลับเข้าระบบ) ถ้าหากใครที่ติดตั้งระบบและคิดว่าจะมีการเชื่อมขนานไฟฟ้ากับการไฟฟ้า ควรจะคำนึงถึงระเบียบการขนานไฟของการไฟฟ้าด้วย เพราะอุปกรณ์ที่ใช้ส่วนใหญ่ต้องได้รับการขึ้นทะเบียนให้การไฟฟ้าตรวจสอบและอนุญาตเสียก่อน
คำถาม : สามารถยืนติดต่อการไฟฟ้าได้ที่เขตไหนบ้าง ?
คำตอบ : สามารถยืนติดต่อได้ที่ กองวิศวกรรมและวางแผน แผนกส่งเสริมพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ในเขตพื้นที่
ตอนนี้ผมคิดว่าหลายๆคนคงพอจะนึกภาพรวมของใบอนุญาต ออกบ้างแล้วนะครับ หวังว่าจะมีประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจ หรือกำลังจะขอรับใบอนุญาตนะครับ จริงๆแล้วยังมีรายละเอียดปรีกย่อยอีกพอสมควร สำหรับใครที่มีคำถามสามารถสอบถามได้ที่ หรือ 091-889-5555 หรือ LINE
@kg-solar หรือ ลงทะเบียนขอรับคำปรึกษา https://goo.gl/Ws9Ya1