สร้างความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วย 4 วิธี
พลังงานหมุนเวียน
ในปัจจุบันมนุษย์จะมีความต้องการในการใช้พลังงานเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหมายถึงว่าจะมีการดึงพลังงานมาจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการในการใช้งานของมนุษย์ โดยเฉพาะเชื้อเพลิงฟอสซิลหรือพลังงานที่ใช้แล้วหมดไป เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน หินน้ำมัน และทรายน้ำมัน ดังนั้น มนุษย์จึงต้องการตั้งต้นเริ่มการใช้พลังงานอย่างให้มีประสิทธิภาพ โดยใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างรู้คุณค่าและยังคงเหลือไว้ให้คนรุ่นหลังได้ใช้ประโยชน์ต่อด้วย ดังนั้นแหล่งพลังงานหมุนเวียนเป็นจึงกลายเป็นแหล่งพลังงานทางเลือกที่นำมาใช้ทดแทนพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล
พลังงานหมุนเวียน คืออะไร
พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) คือ พลังงานที่ใช้แล้วไม่หมดไป สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เนื่องจากมีแหล่งกำเนิดมาจากธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น แสงอาทิตย์ ลม น้ำ ความร้อนใต้พิภพ ชีวมวล และก๊าซชีวภาพ รวมถึงผลผลิตและวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เช่น ใบ ลำต้นและชานอ้อย แกลบ กากมันสำปะหลัง หรือมูลสัตว์ ซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยพลังงานหมุนเวียนนี้ถือเป็นพลังงานสะอาด ไม่เป็นการเพิ่มก๊าซเรือนกระจกให้กับโลก แตกต่างกับพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน หินน้ำมัน ทรายน้ำมัน และอื่น ๆ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่มีอยู่จำกัดและสร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมจากก๊าซมีเทนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมาระหว่างเผาไหม้และก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศ ปัจจุบันพลังงานหมุนเวียนเป็นพลังงานทางเลือก สะอาด ไม่ก่อมลพิษ ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ที่นำมาใช้ทดแทนพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล หรือพลังงานที่ใช้แล้วหมดไป และยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน ลดการนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศได้
ประโยชน์จากพลังงานหมุนเวียน
พลังงานหมุนเวียนนำไปใช้ประโยชน์ได้ 2 แบบ ได้แก่
การนำไปใช้โดยตรง เช่น การใช้พลังงานลมเพื่อแล่นเรือในทะเลและขับเคลื่อนกังหันลมเพื่อบดเมล็ดพืช การใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อให้ความอบอุ่นในตอนกลางวันหรือถนอมอาหาร เป็นต้น
การนำพลังงานไปเปลี่ยนให้อยู่ในรูปของกระแสไฟฟ้ากระแสตรงหรือกระแสสลับด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น แผงโซลาร์เซลล์ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า กังหันลม เพื่อเปลี่ยนพลังงานศักย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า
ในระหว่างปี 2550 ถึง 2560 ปริมาณพลังงานหมุนเวียนที่ผลิตในประเทศสมาชิก 28 ประเทศของสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้น 64% พลังงานมาจากหลายแหล่งตั้งแต่การเผาไม้ชีวมวลไปจนถึงลมความร้อนใต้พิภพ และแสงอาทิตย์
ห้าอันดับแรกของประเทศสำหรับพลังงานหมุนเวียนเป็นพลังงานที่ใช้ร่วมกันคือสวีเดน (54.5%), ฟินแลนด์ (41.0%), ลัตเวีย (39.0%), เดนมาร์ก (35.8%) และออสเตรีย (32.6%)
1.โซลาร์ลอยน้ำ
โรงงานขนาด 17 เมกกะวัตต์ (MW) ตั้งอยู่ในสถานที่ที่เคยเป็นเหมืองหิน และถูกดัดแปลงเป็นทะเลสาบ สามารถผลิตไฟฟ้าได้เพียงพอสำหรับใช้ในบ้าน 4,733 หลัง
2.ฟาร์มลม
ในปี 2543 โครงการพลังงานทดแทนในเดนมาร์กสร้างฟาร์มลมนอกชายฝั่ง Middelgrunden จากการลงทุนของประชาชนชาวเดนมาร์กประมาณ 8,500 คนซื้อหุ้นเพิ่มขึ้นมากกว่า $25 ล้าน (754 ล้านบาท) และถือหุ้น 50% ในโรงงาน
3.กังหันขนาดใหญ่
กังหันขนาดใหญ่สามารถผลิตไฟฟ้าได้เพียงพอต่อการใช้ไฟฟ้าภายในบ้านทั้งวัน และมีการก่อสร้างกังหัน 11 ตัว เพื่อใช้ลมนอกชายฝั่งของยุโรปสำหรับผู้อยู่อาศัยในเมืองอเบอร์ดีนของสก๊อตแลนด์ สร้างขึ้นด้วยต้นทุนมากกว่า $ 380 ล้าน (ประมาณ 11,460 ล้านบาท) และจะตอบสนองมากกว่า 70% ของความต้องการไฟฟ้าในประเทศของอเบอร์ดีน
4.โซลาร์เซลล์
ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2529 เกิดเพลิงไหม้ และการระเบิดขึ้นที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลในยูเครน การปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสีที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อพื้นที่เกือบ 30,000 ตารางกิโลเมตรซึ่งมีคนประมาณ 5 ล้านคน ทำให้ต้องปิดตัวลงไป และในตอนนี้ได้มีการติดตั้งโซลาร์เซลล์ ขนาด 1 เมกะวัตต์ประมาณ 3,800 แผง ซึ่งมีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น $ 1.2 ล้านบาท (ประมาณ 36 ล้านบาท) โดยบริษัท Rodina และบริษัทพลังงานเยอรมัน Enerparc โรงงานจะผลิตพลังงานเพียงพอที่จะให้พลังงาน 2,000 ครัวเรือน