ติดโซล่าเซลล์แล้วอยากขายไฟให้การไฟฟ้าต้องทำอย่างไร ?
พลังงานที่กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในปัจจุบัน คือการติดตั้งโซล่าเซลล์นอกจากจะมีส่วนช่วยในการประหยัดค่าไฟแล้ว เมื่อเราผลิตไฟเหลือจากส่วนที่ใช้งาน สามารถทำการขายไฟให้การไฟฟ้าได้ แต่จะต้องเป็นการติดตั้งโซล่าเซลล์ในรูปแบบออนกริด (On gird) เท่านั้น และต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่รัฐกำหนดแล้วเงื่อนไขกับขั้นตอนจะมีอะไรบ้างไปดูกันเลย
คุณสมบัติผู้ยื่นขายไฟให้การไฟฟ้า
- ผู้เข้าร่วมโครงการต้องเป็น ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภท 1 บ้านพักอาศัยกับ PEA เท่านั้น
- เน้นให้ติดตั้งโซล่าเซลล์ ผลิตไฟฟ้าใช้เอง (Self Consumption) และไฟฟ้าที่เหลือสามารถขายไฟให้การไฟฟ้าได้
- กำลังผลิตติดตั้งแผงโซลาร์ (PV) ไม่เกิน 10 kWp ต่อรายสำหรับ เชื่อมต่อแบบ 3 เฟส (220/380 V) และ ไม่เกิน 5 kWp ต่อราย สำหรับเชื่อมต่อแบบ 1 เฟส (220 V)
- ผู้ยื่นขอขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้า ต้องเป็นผู้ลงทุนการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เองทั้งหมด
- PEA จะเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบการเชื่อมต่อระบบ ภายหลังได้รับการพิจารณา ในราคา 2,000 บาท (ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
- ราคาที่ PEA รับซื้อไฟฟ้าส่วนเกิน 2.2 บาท/หน่วย (kWh) ระยะเวลา 10 ปี
- ปริมาณรับซื้อรวมในพื้นที่ PEA และ MEA ปี 2564 – 2573 รวมกันปริมาณ 90 เมกะวัตต์ (MW)
- ตรวจสอบรายชื่อผู้ผ่านการพิจารณา และประกาศผล ภายใน 45 วันนับจากวันที่ยื่นคำขอฯ ได้ที่ https://ppim.pea.co.th/project/solar/list
- โปรดแนบบิลค่าไฟฟ้าหรือหลักฐานการเป็นผู้ใช้ไฟฟ้า ให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน (บิลค่าไฟฟ้าไม่ควรเกิน 3 เดือน) สอดคล้องกับข้อมูลผู้ที่จะเข้าร่วมโครงการและผู้ใช้ไฟฟ้า ได้แก่ ชื่อ-นามสกุล , เลขที่บ้านที่ติดตั้ง, ประเภทใช้ไฟฟ้าโดยหากข้อมูลดังกล่าวยังไม่ถูกต้องเป็นปัจจุบัน ให้ติดต่อ สำนักงานการไฟฟ้าในพื้นที่ใช้ไฟฟ้า (ตามบิลค่าไฟฟ้า) เพื่อขอแก้ไขข้อมูลให้แล้วเสร็จ ก่อนยื่นเข้าร่วมโครงการ
อ้างอิงข้อมูลจาก https://ppim.pea.co.th/project/solar/detail/62885d055bdc7f264c5edcdd
ขั้นตอนการยื่นขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้า
ขั้นตอนเริ่มจากการยื่นแบบคำขอขายไฟฟ้า Online ลงทะเบียนยื่นความจำนงได้ที่ https://myenergy.mea.or.th/ หรือ https://ppim.pea.co.th/
ผู้ยื่น หรือ ผู้ขายระบบโซล่าเซลล์ที่ได้รับมอบอำนาจ ทำการอัปโหลดเอกสาร หลังจากนั้นจะต้องรอการไฟฟ้า ทำการพิจารณาแบบคำขอขายไฟฟ้า ประมาณ 7-10 วัน พร้อมทั้งตรวจสอบ Capacity หรือขนาดพิกัดสูงสุดของหม้อแปลงว่าสามารถรับกำลังผลิตระบบโซล่าเซลล์ได้หรือไม่
หลังจากนั้นการไฟฟ้าจะแจ้งผล ซึ่งตั้งแต่เริ่มการยื่นแบบคำขอขายไฟฟ้า จนถึงประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก จะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน เมื่อเสร็จแล้วจะต้องดำเนินการชำระค่าเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้าซึ่งค่าใช้จ่ายขึ้นอยู่เขตพื้นที่การไฟฟ้าที่ให้การดูแล โดยเริ่มต้นที่ประมาณ 8,000 บาท (ราคานี้ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%) และ การลงนามเพื่อซื้อขาย
โดยหลังติดตั้งเสร็จเรียบร้อย ทางการไฟฟ้าจะทำการนัดหมายเพื่อตรวจสอบระบบผลิตไฟฟ้า และทดสอบการเชื่อมต่อโครงข่ายไฟฟ้าและกำหนดวันจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD)
*หากติดตั้งกับ KG SOLAR ทางบริษัทฯ จะช่วยดำเนินการให้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
ข้อจำกัดในการยื่นขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้า
- กรณีใช้ไฟฟ้า ระบบ 1 เฟส (220 V) ยื่นติดตั้งแผง Solar รวมได้ไม่เกิน 5 kWp / ราย
- กรณีใช้ไฟฟ้า ระบบ 3 เฟส (220/380V) ยื่นติดตั้งแผง Solar รวมได้ไม่เกิน 10 kWp / ราย
เปิดรับซื้อในโควต้าที่จำกัดในแต่ละพื้นที่
แนะนำระบบโซล่าร์เซลล์ที่สามารถขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้าได้
บ้าน 1 เฟส ขนาดการติดตั้งโซล่าร์เซลล์ เริ่มต้นที่ 2.2 kW – 4.95 kW
บ้าน 3 เฟส ขนาดการติดตั้งโซล่าร์เซลล์ เริ่มต้นที่ 5.5 kW – 9.9 kW
ศึกษาข้อมูลแต่ละแพ็กเกจ >> โซล่าเซลล์เพื่อที่อยู่อาศัย
Net Metering คืออะไร ทำไมไม่มีในประเทศไทย ⁉
Net Metering คือ ระบบหักลบกลบหน่วยอัตโนมัติจากไฟฟ้าที่ผลิตใช้เองจากโซลาร์เซลล์บนหลังคากับไฟฟ้าที่เราใช้จากการไฟฟ้า ซึ่งผู้ใช้ไฟฟ้าจะจ่ายค่าไฟฟ้าตามจำนวนหน่วยไฟฟ้าที่หักลบแล้ว
ปัจจุบันประเทศไทยเป็นระบบ Net Billing (โครงการโซลาร์เซลล์ภาคประชาชน) และยังไม่มีมาตรการการส่งเสริมระบบ Net Metering ที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้เราทั้งลดค่าไฟและเพิ่มรายได้
ให้แก่ครัวเรือน
ติดตั้งโซล่าเซลล์กับ KG SOLAR ดำเนินขายไฟให้การไฟฟ้าฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย
(เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด)
ติดตั้งโซลาร์ แบบอุ่นใจไปกับ KG SOLAR
- ดำเนินเอกสารกับหน่วยงานราชการให้ฟรี!
- ประสบการณ์ด้านวิศวกรรม 35 ปี และโซลาร์ 10 กว่าปี
- บริการด้วยมาตรฐานสากล ISO 9001 และ 50001
- การันตีผลงานกว่า 1,500 โครงการ 70 Mwp ทั่วประเทศ
- มีทีมช่างคอยดูแลผลการผลิตไฟตลอด 7 วัน
หากมีข้อสงสัยและคำถามเพิ่มเติมสามารถติดต่อเข้ามาได้ที่ 095 947 9000