ข้อสำคัญที่ต้องรู้ ก่อนติดโซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน
ในปัจจุบันการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ถือเป็นเทรนด์การใช้ยานพาหนะที่มาแรงและมีแนวโน้มได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะอัตราค่าน้ำมันเชื้อเพลิงที่ราคาสูงขึ้นเรื่อย มีความผันผวนของราคาอยู่เสมอ แถมรถยนต์ไฟฟ้ายังมีอัตราการปล่อยมลพิษที่ต่ำกว่ารถยนต์สันดาปมาก ๆ จึงทำให้ผู้คนทั่วโลกต่างให้การต้อนรับรถยนต์ไฟฟ้าเป็นอย่างดี แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ยังไม่พ้นเรื่องของค่าไฟฟ้าด้วยเช่นกัน เพราะในประเทศไทยเองยังคงใช้ก๊าซธรรมชาติและถ่านหินในการผลิตไฟฟ้า จึงทำให้มีราคาต่อหน่วยที่อาจจะสูงไปบ้าง วันนี้ KG SOLAR ขอพาทุกคนมาดูอีกทางเลือกที่ช่วยให้คุณประหยัดค่าไฟฟ้าแบบขั้นสุด ด้วยการติดตั้งโซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้า ถ้าอยากติดต้องเตรียมตัวอย่างไร คำนวณประมาณการใช้ไฟอย่างไรบ้าง ติดตามได้ในบทความนี้
รถยนต์ไฟฟ้าประเภทไหนบ้างที่ต้องชาร์จ
แม้ว่าในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าจะมีหลายตัวเลือก ไม่ว่าจะเป็นรถ EV, HEV, PHEV และ FCEV แต่ถ้าให้เจาะลึกว่ารถยนต์ไฟฟ้าประเภทไหนบ้างที่ต้องชาร์จไฟฟ้า คำตอบ คือ มีแค่ 2 ประเภทในปัจจุบัน โดยทั้งคู่มีรายละเอียดดังนี้
รถยนต์ไฟฟ้าล้วน 100% (PEVs : Plug-in Electric Vehicles)
รถยนต์ไฟฟ้าล้วนหรือ PEV คือ รถยนต์ที่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าในการขับเคลื่อน โดยมีแบตเตอรี่ลิเธียมขนาดใหญ่ในการเก็บประจุไฟฟ้าซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลัก เพราะต้องรองรับระยะการใช้งานในระดับ 300-400 กิโลเมตรต่อการชาร์จ 1 ครั้ง และต้องชาร์จไฟฟ้าด้วยอุปกรณ์เฉพาะเท่านั้น โดยระยะเวลาการชาร์จขึ้นอยู่กับประเภทของอุปกรณ์ชาร์จที่ใช้งาน
รถยนต์ปลั๊กอิน-ไฮบริด (PHEV : Plug-in Hybrid Electric Vehicle)
รถยนต์ปลั๊กอิน-ไฮบริด หรือ PHEV คือ รถยนต์ที่เป็นลูกผสมระหว่างเครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้า ต่างจากรถยนต์ไฮบริดทั่วไปตรงที่ PHEV มีขนาดแบตเตอรี่เก็บประจุไฟฟ้าลูกใหญ่กว่า สามารถชาร์จไฟฟ้าได้ และเลือกใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นตัวขับเคลื่อนหลักแทนเครื่องยนต์ได้
ก่อนติดโซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้าต้องเตรียมตัวอย่างไร
ก่อนทำการติดตั้งโซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้านั้น จะต้องทำการสำรวจความพร้อมของระบบไฟฟ้าภายในบ้าน ซึ่งมีปัจจัยต่าง ๆ ที่ต้องทำการประเมินหรือปรับเปลี่ยนให้เข้ากับระบบโซลาร์เซลล์ และเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าดังนี้
ขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าต้องมีขนาด 30 แอมป์
โดยทั่วไปแล้ว บ้านเรือนทั่วไปจะใช้มิเตอร์ไฟฟ้าขนาด 15 แอมป์ (A) แต่ถ้าต้องการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์เข้าไปด้วย แนะนำว่าควรเพิ่มขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าเป็น 30 แอมป์ (A) เพื่อป้องกันไม่ให้ไฟเกิน
สำรวจขนาดสาย Main และ Circuit Breaker
ถัดมาให้ดูที่สาย Main จะต้องเปลี่ยนให้มีขนาด 25 ตารางเมตร และตัว Circuit Breaker ที่ใช้ควบคุมการเปิดปิดวงจรไฟฟ้า ควรเพิ่มขนาดเป็น 100 แอมป์ (A)
เช็กที่ตู้ MDB เพิ่ม Circuit ได้ไหม
ส่วนของตู้ MDB หรือตู้ไฟฟ้าในบ้าน ตัวนี้ก็ต้องสำรวจก่อนว่าสามารถเพิ่ม Circuit ได้อีก 1 ช่องหรือไม่ หากเพิ่มไม่ให้ได้แยกตู้ MDB ต่างหากสำหรับตู้ชาร์จรถไฟฟ้า EV เพื่อให้ใช้ไฟฟ้าได้เต็มประสิทธิภาพ
ควรมีเครื่องตัดไฟรั่ว RCD เพื่อความปลอดภัย
เพื่อความปลอดภัยในการชาร์จรถไฟฟ้า ควรติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่ว หรือ RCD (Residual Current Device)
ติดโซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้าต้องใช้ขนาดเท่าไหร่
ขนาดของระบบโซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้านั้นขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้ไฟฟ้าเป็นหลัก เพราะรถยนต์ไฟฟ้าแต่ละแบรนด์ หรือแต่ละรุ่นมีขนาดจุแบตเตอรี่ที่แตกต่างกัน ไล่ตั้งแต่ 30-100 kWh อีกทั้งยังมีระบบการชาร์จไฟฟ้าที่แตกต่างกัน ดังนี้
- การชาร์จแบบธรรมดา (Normal Charge) เป็นการชาร์จไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ใช้ระยะเวลาชาร์จประมาณ 12-16 ชม. ใช้สำหรับชาร์จที่บ้าน
- การชาร์จแบบเร็ว (Double Speed Charge) เป็นการชาร์จไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) เช่นกัน ใช้ระยะเวลาชาร์จประมาณ 6-8 ชม. ใช้สำหรับที่บ้าน
- การชาร์จแบบด่วน (Quick Charge) เป็นการชาร์จไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ใช้ระยะเวลาชาร์จ 0-80% ภายในเวลา 40-60 นาที แต่ส่วนมากจะติดตั้งตามสถานีบริการนอกบ้าน เพราะการชาร์จประเภทนี้จะทำให้แบตเตอรี่เสื่อมเร็ว และยังมีราคาที่สูง จึงเหมาะกับการชาร์จเฉพาะช่วงที่จำเป็นเท่านั้น
เมื่อนำปัจจัยเหล่านี้มารวมกัน ก็จะทำให้คุณสามารถนำมาคำนวณต่อได้ว่าควรใช้ระบบโซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้าขนาดเท่าไหร่ โดยคิดตามสูตรดังนี้
ตัวอย่าง หากเป็นรถ Tesla model S ความจุของแบตเตอรี่ 75 kWh วิ่งได้ไกล 400 กิโลเมตร
1 kWh จะสามารถวิ่งได้ = 400/75 = 5.3 กิโลเมตร
หากวิ่งเฉลี่ยวันละ 20 กิโลเมตร = 20/5.3 = 3.773 kWh (หรือ 3,773 Wh/วัน )
ทำให้จะต้องใช้ไฟจากแผงโซลาร์ 3,770/5 = 754.6 Wh หรือ 0.7546 kWp
นี่เป็นเพียงการใช้ไฟฟ้าจากการชาร์จรถเท่านั้น หากท่านใดมีการใช้ไฟบ้านในช่วงกลางวันก็สามารถนำมารวมในการคำนวนไฟฟ้าที่จำเป็นต้องใช้ได้ มาประเมินดูว่าควรใช้แผงโซลาร์จำนวนกี่แผง ถ้าให้ดีควรปรึกษาผู้ให้บริการติดตั้งโซลาร์เซลล์ในบ้านด้วยจึงจะได้ผลลัพธ์การติดตั้งที่เหมาะสมต่อการใช้งานและปลอดภัยมากที่สุด
ตำแหน่งที่เหมาะกับการติดโซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้า
ตำแหน่งการติดตั้งโซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้า จะต้องเป็นพื้นที่โล่งที่สามารถรับแสงอาทิตย์ได้มากที่สุด ซึ่งจะต้องไม่มีเงาจากอาคาร บ้าน หรือต้นไม้มาบดบังในระหว่างวัน ถ้าให้ควรหันแผงโซลาร์เซลล์ไปทางทิศใต้ เพราะสามารถรับแสงอาทิตย์นานตลอดทั้งวัน แต่ทั้งนี้ก็ไม่ควรติดตั้งในพื้นที่ที่ร้อนจนเกินไป ต้องมีระบบไหลเวียนของอากาศที่ดีเพื่อช่วยให้ระบบโซลาร์เซลลืผลิตไฟฟ้าได้เต็มประสิทธิภาพ
ติดโซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้านคุ้มกว่าอย่างไร
การติดตั้งโซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน เป็นวิธีที่ช่วยลดค่าไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี เพราะเป็นการดึงพลังงานจากแสงอาทิตย์มาใช้งาน ซึ่งตามปกติการชาร์จรถไฟฟ้าต่อ 1 ครั้งใช้เวลานานกว่า 6-12 ชั่วโมง เพื่อให้ไฟเต็มแบตเตอรี่ที่มีขนาดจุ 30-100 kWh ถึงเป็นการลงทุนในระยะยาวที่สามารถใช้งานได้นานกว่า 10 ปี อีกทั้งยังช่วยลดมลพิษได้แบบ 2 ต่อ ทั้งตัวรถไฟฟ้าที่มีการเผาไหม้และระบบโซลาร์เซลล์ที่เป็นพลังงานสะอาด เป็นมิตรทั้งตัวคุณและสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง
ติดโซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้าลดค่าไฟฟ้าได้เท่าไหร่
สำหรับการติดโซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้า หากติดที่บ้านจะสามารถลดค่าไฟฟ้าได้ตั้งแต่ 5.73 – 6.02 บาท/หน่วย ขึ้นอยู่กับประเภทของมิเตอร์ไฟ และการเชื่อมต่อระบบโซลาร์เซลล์ดังนี้
ใช้มิเตอร์อัตราปกติ (ค่าไฟ) | ใช้มิเตอร์อัตราตามช่วงเวลาที่ใช้ (TOU) | คำแนะนำ | ช่วงค่าไฟฟ้าเฉลี่ยที่โซลาร์ลดได้ | หมายเหตุ |
บ้าน และ EV Charger | – | ติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ | 5.73 บาท/หน่วย | เกิน 400 หน่วยขึ้นไป |
บ้าน | EV Charger | ติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ที่ตัวบ้าน* | 5.73 บาท/หน่วย | เกิน 400 หน่วยขึ้นไป |
– | บ้าน และ EV Charger | ติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ | 6.02 บาท/หน่วย | ช่วง On-Peak ประมาณ 65% |
*หากบ้านและเครื่องชาร์จรถไฟฟ้าใช้มิเตอร์ไฟฟ้าแตกต่างกัน ควรติดที่บ้านจะคุ้มกว่า เพราะส่วนใหญ่การชาร์จรถไฟฟ้า จะอยู่ในช่วง Off-Peak ซึ่งมีอัตราค่าไฟฟ้าเพียง 2.6369 บาท/หน่วย ถือว่าค่าไฟฟ้าถูกอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องติดโซลาร์เซลล์
หมายเหตุ อัตราปกติและ TOU อ้างอิงจากอัตราค่าไฟฟ้าจาก กฟฟ + ค่า FT+ VAT ณ วันที่ 6 มกราคม 2566 โดยค่าไฟอัตราปกติ อ้างอิงจากอัตราการใช้พลังงานไฟฟ้าเกิน 400 หน่วยขึ้นไป และ TOU คำนวณโดยคิดช่วงเวลา On-Peak ประมาณ 65% อ้างอิงจากเวลาที่โซลาร์ผลิตได้
สรุปเกี่ยวกับการติดโซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้า
ระบบโซลาร์เซลล์สำหรับชาร์จรถไฟฟ้า ถือเป็นแนวทางที่ช่วยลดค่าไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ แถมยังช่วยลดมลพิษได้เป็นอย่างดีจากตัวรถที่ไม่มีการเผาไหม้เชื้อเพลิงจากน้ำมัน และยังเป็นการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด สำหรับใครที่ต้องการติดตั้งโซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน KG SOLAR ผู้นำด้านการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ชั้นนำของไทย มีประสบการณ์ด้านวิศวกรรมระบบไฟฟ้ามากกว่า 36 ปี ผ่านมาตรฐาน ISO9001:2015 และ ISO 50001:2018 พร้อมให้บริการแบบครบวงจร ชมผลงานการติดตั้งหรือสอบถามค่าใช้จ่ายเพิ่ม โทร. 095-947-9000