ขั้นตอนการขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์ ดัดแปลงตามแบบ อ.1
ในปัจจุบัน การติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นทั้งในฝั่งของธุรกิจ โรงงานอุตสาหกรรม และบ้านพักอาศัย ซึ่งไม่ใช่เรื่องยากหากต้องการติดตั้งเพื่อช่วยลดค่าไฟฟ้าที่แพงขึ้นเรื่อย ๆ แต่ไม่ได้หมายความว่า ติดตั้งแล้วจะจบขั้นตอนเลย เพราะก่อนเริ่มโครงการจะต้องทำการขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสียก่อน เพื่อให้มั่นใจว่า การติดตั้งจะได้มาตรฐานและมีความปลอดภัยต่อตัวผู้ใช้งาน วันนี้ KG SOLAR จะพาทุกคนไปเจาะลึกกับการขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์ต้องทำอย่างไรบ้าง ติดตามสาระสำคัญได้ในบทความนี้
การขออนุญาตดัดแปลงอาคาร หรือขอ (อ.1) คืออะไร
ก่อนที่จะมีการขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์ ในกรณีอาคารอยู่ในพื้นที่เขตควบคุมตามกฎหมาย จะต้องขออนุญาตดัดแปลงอาคาร สามารถสอบถามได้ที่หน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่น เช่น สำนักงานเทศบาล/ อบต. ในท้องที่ที่อาคารตั้งอยู่ เอกสารที่ใช้ประกอบการยื่นขออนุญาต จำนวน 3 ชุด ได้แก่ แบบคำขอ ข.1 แบบแปลนแสดงแผนผังและโครงสร้างหลังคา โครงสร้างรองรับแผงโซลาร์ รายละเอียดการติดตั้ง รายการคำนวณโครงสร้าง แบบฟอร์มการสำรวจอาคาร เอกสารรองรับของวิศวกรผู้ออกแบบและควบคุมงาน (โยธา) อาคารที่ทำการก่อสร้างเป็นอาคารประเภทใดประเภทหนึ่งดังนี้
- อาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 23 เมตรขึ้นไป โดยวัดจากระดับพื้นที่ก่อสร้าง ถึงพื้นด้านฟ้า สำหรับอาคารทรงจั่วหรือปั้นหยาให้วัดจากระดับพื้นดินที่ก่อสร้างถึงยอดผนังของชั้นสูงสุด
- อาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคารที่อยู่อาศัยหรือประกอบกิจการ โดยมีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในหลังเดียวกันตั้งแต่ ขนาด 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป
- อายุใบอนุญาตสูงสุดไม่เกิน 3 ปี นับจากวันที่ได้รับการอนุมัติ อายุใบอนุญาตขึ้นกับขนาดของพื้นที่อาคาร
- พื้นที่น้อยกว่า 10,000 ตารางเมตร อายุ 1 ปี
- พื้นที่ตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตร แต่ไม่ถึง 100,000 ตารางเมตร อายุ 2 ปี
- พื้นที่ตั้งแต่ 100,000 ตารางเมตรขึ้นไป อายุ 3 ปี
รายการเอกสารหลักฐานประกอบการยื่นคำขอ อ.1
- สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล 2 ฉบับ หมายเหตุ ออกไว้ไม่เกิน 6 เดือน
- สำเนาทะเบียนบ้าน 2 ฉบับ หมายเหตุ ทะเบียนบ้านของผู้แทนนิติบุคคล
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 2 ฉบับ
- สำเนาทะเบียนบ้าน 2 ฉบับ ทะเบียนบ้านของผู้อนุญาต
- บัตรประจำตัวประชาชน 2 ฉบับ บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ
- สำเนาทะเบียนบ้าน ผู้มอบอำนาจ 2 ฉบับ
- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ 2 ฉบับ
- สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของที่ดิน 2 ฉบับ กรณี ผู้ขออนุญาตไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดิน
- สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของที่ดิน 2 ฉบับ กรณีผู้ขออนุญาตไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดิน
- หนังสือรับรองนิติบุคคล 2 ฉบับ (หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลของเจ้าของที่ดินออกไว้ไม่เกิน 6 เดือน) กรณีผู้ขออนุญาตไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดิน
- สำเนาบัตรประชาชนของผู้แทนนิติบุคคลของเจ้าของที่ดิน 2 ฉบับ กรณีผู้ขออนุญาตไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดิน
- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้แทนนิติบุคคลของเจ้าของที่ดิน 2 ฉบับ กรณีผู้ขออนุญาตไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดิน
เอกสารอื่น ๆ สำหรับยื่นเพิ่มเติมเพื่อขอ อ.1
- แบบฟอร์มคำขออนุญาตก่อสร้างอาคารหรือดัดแปลงอาคาร แบบ ข.1 2 ฉบับ
- หนังสือมอบอำนาจพร้อมติดอากรแสตมป์ 1 ฉบับ สำเนา 1 ฉบับ
- สำเนาเอกสารแสดงสิทธิ์ในที่ดิน 1 ฉบับ
- หนังสือยินยอมของเจ้าของที่ดิน 1 ฉบับ สำเนา 2 ฉบับ
- แผนผังบริเวณแบบแปลน 1 ฉบับ สำเนา 4 ฉบับ
- สำเนาเอกสารรายการคำนวณโครงสร้าง 2 ฉบับ กรณี อาคารสาธารณะ อาคารพิเศษ หรืออาคารที่ก่อสร้างด้วยวัตถุถาวรและวัตถุทนไฟเป็นส่วนใหญ่
- หนังสือรับรองสถาปนิกผู้ออกแบบ 1 ฉบับ สำเนา 1 ฉบับ กรณี อาคารที่มีพื้นที่เกิน 150 ตรม.
- สำเนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปนิกควบคุมของสถาปนิกผู้ออกแบบ 2 ฉบับ กรณี อาคารที่มีพื้นที่เกิน 150 ตรม.
- หนังสือยินยอมเป็นผู้ควบคุมงานของสถาปนิกผู้ควบคุมงาน 1 ฉบับ สำเนา 1 ฉบับ
- สำเนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปนิกควบคุมของสถาปนิกผู้ออกแบบ 2 ฉบับ
- หนังสือรับรองวิศวกรผู้ออกแบบ 1 ฉบับ สำเนา 1 ฉบับ
- สำเนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมของวิศวกรผู้ออกแบบ 2 ฉบับ
- หนังสือยินยอมเป็นผู้ควบคุมงานของวิศวกรผู้ควบคุมงาน 1 ฉบับ สำเนา 1 ฉบับ กรณี อาคารที่สูงตั้งแต่ 3 ชั้นขึ้นไป
- สำเนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมของวิศวกรผู้ควบคุมงาน
ค่าธรรมเนียมเพื่อขอ อ.1
- ค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร 20 บาท
- ค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตดัดแปลงอาคาร 10 บาท
- ค่าธรรมเนียมการตรวจแบบแปลนก่อสร้างอาคารหรือดัดแปลงอาคารสูงไม่เกิน 2 ชั้น หรือ 12 เมตร 0.50 บาท / ต่อตารางเมตร
- ค่าธรรมเนียมการตรวจแบบแปลนก่อสร้างอาคารหรือดัดแปลงอาคารอาคารสูง 2 ชั้น แต่ไม่เกิน 3 ชั้น หรือ สูงเกิน 15 เมตร บาท/ตารางเมตร
ตัวอย่างใบอนุญาตอาคาร หรือขอ (อ.1)
ขั้นตอนการขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์
หลังจากที่ทราบกันไปแล้วว่า ก่อนขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์ต้องเดินเรื่องแบบ อ.1 ก่อน และต้องมีใบขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่ถูกต้องตามประเภทของสิ่งปลูกสร้าง KG SOLAR ก็จะมาอธิบายในส่วนต่อไป นั่นก็คือขั้นตอนการขออนุญาตติดตั้ง ซึ่งมีกระบวนการที่ค่อนข้างซับซ้อน แต่ก็สามารถดำเนินการเองได้ไม่ยาก โดยพวกเราจะมาสรุปให้เป็น 4 ขั้นตอนสำคัญ ดังนี้
1. ยื่นใบอนุญาตก่อสร้างกับหน่วยงานท้องถิ่น
ก่อนอื่นเลย เราต้องไปยื่นขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร (แบบ อ.1) กับหน่วยงานท้องถิ่นในพื้นที่ของเรา เช่น สำนักงานเขต สำนักงานเทศบาล หรือ อบต. เพื่อแจ้งการดัดแปลงโครงสร้างหลังคาให้รองรับแผงโซลาร์เซลล์ โดยต้องเตรียมเอกสารดังนี้
- แบบคำขอ ข.1 พร้อมแบบแปลนแสดงแผนผังและโครงสร้างหลังคา
- รายการคำนวณโครงสร้าง และเอกสารรับรองจากวิศวกรผู้ออกแบบ
เมื่อได้รับอนุญาตจากสำนักงานท้องถิ่นแล้วก็เริ่มติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ได้เลย
2. ลงทะเบียนกันทางสำนักงาน กกพ.
หลังติดตั้งเสร็จ ให้เราไปลงทะเบียนแจ้งประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขออนุญาต ผ่านเว็บไซต์ของสำนักงาน กกพ. โดยต้องแนบเอกสาร ดังนี้
- สำเนาหลักฐานการยื่นแจ้งจากหน่วยงานท้องถิ่น
- ภาพถ่ายการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ที่เห็นครบชุด
- แบบ Single Line Diagram ที่มีวิศวกรไฟฟ้ารับรอง
- แบบแปลนโครงสร้างที่มีวิศวกรโยธารับรอง
- สำเนาบัตรประชาชน
- ใบแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้า
- รายละเอียดของแผงโซลาร์เซลล์และอินเวอร์เตอร์ที่ติดตั้ง (ชื่อแบรนด์ ชื่อรุ่น และชนิดของอุปกรณ์)
จากนั้นให้ติดต่อการไฟฟ้าฯ เพื่อให้ทำการตรวจสอบและทดสอบระบบของโซลาร์เซลล์ในลำดับถัดไป
3. แจ้งเรื่องการติดตั้งกับทางการไฟฟ้า (PEA และ MEA)
เมื่อได้รับอนุญาตจาก กกพ. แล้ว ต่อมาให้เราไปลงทะเบียนกับการไฟฟ้าในพื้นที่ (กฟน. หรือ กฟภ.) ผ่านเว็บไซต์ MEA และ PEA เพื่อแจ้งความประสงค์ในการขายไฟหรือขอขนานไฟ และให้ทาง กกพ. ออกใบยกเว้นการประกอบกิจการพลังงาน โดยต้องเตรียมเอกสาร ดังนี้
- แบบคำขอ ข.1
- แผนผังและโครงสร้างหลังคา
- บัตรประชาชน
- หมายเลขผู้ใช้ไฟฟ้าตามใบแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้า
- เอกสารมอบอำนาจ (ถ้ามี)
- รายละเอียดของแผงโซลาร์เซลล์และอินเวอร์เตอร์ที่ติดตั้ง (ชื่อแบรนด์ ชื่อรุ่น และชนิดของอุปกรณ์)
- แผนภูมิระบบไฟฟ้ารับรองโดยวิศวกร พร้อมสำเนาใบประกอบวิชาชีพ
- แผนที่ตั้ง รูปถ่ายหน้าบ้าน และรูปถ่ายที่เห็นแผงโซลาร์เซลล์
4. ยื่นสำเนาหนังสือรับ
หลังจากแจ้ง กกพ. และการไฟฟ้า (กฟน. และ กฟพ.) เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนสุดท้ายคือไปชำระค่าบริการต่าง ๆ ค่าขนานไฟ และทำสัญญาซื้อขายไฟ (ในกรณีเข้าร่วมโครงการโซลาร์ภาคประชาชน) จากนั้นการไฟฟ้าฯ จะเข้ามาตรวจสอบระบบสายไฟและระบบการผลิตไฟฟ้า เมื่อผ่านมาตรฐานแล้วก็จะเปลี่ยนมิเตอร์ใหม่สำหรับใช้กับโซลาร์เซลล์โดยเฉพาะ และเชื่อมต่อ COD กับระบบไฟฟ้าหลัก
สรุปเกี่ยวกับขั้นตอนการขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์
มาถึงตรงนี้คงเข้าใจกันแล้วว่า การขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์นั้นมีกระบวนการอย่างไร ต้องเริ่มต้นจากอะไรบ้าง หากมองภาพรวมทั้งหมดแล้ว หลายคนอาจมองว่าค่อนข้างยุ่งยาก แต่สำหรับใครที่เลือกใช้บริการติดตั้งโซลาร์เซลล์กับ KG SOLAR ก็ไม่ต้องกังวลไป เพราะพวกเราดำเนินการในส่วนนี้ให้ฟรี เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า สอบถามรายละเอียดแพ็กเกจ หรือต้องการปรึกษาเรื่องการใช้งานระบบโซลาร์เซลล์ โทร. 095-947-9000 หรือแอด Line @kg-solar ได้เลยครับ